องค์ประกอบที่ 1

การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน

ด้านที่ 3 พัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ข้าพเจ้าริเริ่มพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

    1. พัฒนาตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้า อบรม พัฒนาทั้งรูปแบบ on line และ on site เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning พัฒนาสื่อการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ ที่เน้นกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ร่วมกันจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

การพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ.pdf

2. มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย การนิเทศการจัดการเรียนรู้ เพื่อนำมาพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือแก้ปัญหานักเรียนที่มีผลการเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีการประชุม PLC 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้จัดกิจกรรม PLC เพื่อสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอน ร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไข เรื่อง ปัญหาอ่านและการเขียนของนักเรียนโรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์ พี่พบจากดำเนินการคัดกรองความสามารถในการอ่านและการเขียนของนักเรียนทุกระดับ ตามนโยบาย “เด็กไทยวิถีใหม่ อ่านออกเขียนได้ทุกคน” โดยร่วมกันเสนอแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งได้แนวทางการแก้ไขและพัฒนาการพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้เทคนิคการอ่านขั้นสูง เทคนิคบันได 6 ขั้นสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและเทคนิคบันได 8 ขั้น สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

โดยมีข้อตกลงในการพัฒนาสมรรถนะอ่านการขั้นสูง และเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ ก่อนและหลังเรียน ร่วมกับแบบฝึกทักษะการอ่านขั้นสูงตามแนวทางการประเมินผล Programmed for International Student Assessment :PISA ทุกระดับชั้น

อบรมพัฒนาการอ่านขั้นสูง

อบรมพัฒนาการอ่านขั้นสูง

ประชุม PLC ม.ต้น

ประชุม PLC ม.ปลาย

ประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ระชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ประชุมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

คัดกรองการอ่านการเขียน

คัดกรองการอ่านการเขียน

คัดกรองการอ่านการเขียน

คัดกรองการอ่านการเขียน

นิเทศการสอน

นิเทศการสอน

นิเทศการสอน

นิเทศการสอน

     นอกจากการประชุม PLC แล้ว ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพผ่านการประชุมการปฏิบัติงานทางด้านวิชาการ และงานอื่นๆที่รับผิดชอบ  เช่น การประชุมคณะกรรมการบริหารงานวิชาการ ประชุมคณะกรรมการบริหารแผนงานและงบประมาณ การประชุมงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาวมถึงการเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะภาษาไทย งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนทั้งในระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับชาติ เป็นต้น 

     3. ข้าพเจ้านำความรู้และทักษะที่ได้รับจากการอบรมพัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบ มาออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ Active Learning และกิจกรรมการฝึกทักษะกระบวนการคิด  ออกแบบและการสร้างสื่อต่างๆ ทั้งรูปแบบ on line และ on site แนะนำครูในกลุ่มสาระและต่างกลุ่มสาระฯ ในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สร้างสื่อการจัดการเรียนรู้ พัฒนาผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัยในชั้นเรียน ซึ่งสามารถทำให้นักเรียนมีความเข้าใจเนื้อหาเป็อย่างดีและมีความสุขสนุกสนานกับการเรียน มีพัฒนาการและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยที่สูงขึ้น ส่งผลได้รับรางวัลในระดับต่างๆ ดังนี้

รางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS ระดับชาติ ครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2564

ครูผู้สอนยอดเยี่ยม ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านวิชาการ 

รางวัล "ครูดีในดวงใจ" ครั้งที่ 21 ปีพุทธศักราช 2567 ระดับดีเยี่ยม 

เป็นตัวแทนของสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย เข้าร่วมนำเสนอผลงานในระดับสำนักงานเขต และระดับเขตตรวจราชการที่ 16

รางวัลครูผู้สอนยอดเยี่ยม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านวิชาการ 

ตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันระดับชาติ

รางวัลครูผู้สอนยอดเยี่ยม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ด้านบริหารจัดการ

 เนื่องในวันครูแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2566

การประกวด OBEC 2564.pdf

ตัวแทนเข้าร่วมการประกวดหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นประสพความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ เพื่อรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับชาติ 

ตัวแทนเข้าร่วมการประกวดหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นประสพความสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ เพื่อรับรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับชาติ 

ครูผู้ใช้กระบวนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 

ระดับ ดีเด่น

ครูผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น