โอซะล้านนา

แกงแค

แกงแค เป็นแกงที่ประกอบด้วยผักหลายชนิด และมีเนื้อสัตว์เป็นส่วนผสมด้วยหนึ่งอย่าง เรียกชื่อแกงแคตามชนิดของเนื้อสัตว์ที่นำมาเป็นส่วนผสมนั้น เช่น แกงแคไก่ แกงแคกบ แกงแคจิ๊นงัว แกงแคปลาแห้ง ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ผักตำลึง ผักชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง เห็ดลมอ่อน ผักเผ็ด และดอกแค (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 475; สิรวิชญ์ จำรัส, สัมภาษณ์, 15 มิถุนายน 2550) 

ลาบหลู้

เป็นวิธีการปรุงอาหารโดยการสับให้ละเอียด เช่น เนื้อสัตว์ ทั้งนี้เพื่อนำไปปรุงกับเครื่องปรุงน้ำพริก ที่เรียกว่า พริกลาบ หรือเครื่องปรุงอื่นๆ เรียกชื่อลาบตามชนิดของเนื้อสัตว์ เช่น ลาบไก่ ลาบหมู ลาบงัว ลาบควาย ลาบฟาน (เก้ง) ลาบปลา นอกจากนี้ ยังเรียกตามการปรุงอีกด้วย ได้แก่ ลาบดิบ ซึ่งเป็นการปรุงลาบเสร็จแล้ว แต่ยังไม่ทำให้สุก โดยการคั่ว คำว่าลาบ โดยทั่วไป หมายถึง ลาบดิบ อีกประเภทหนึ่งคือ ลาบคั่ว เป็นลาบดิบที่ปรุงเสร็จแล้ว และนำไปคั่วให้สุก 

น้ำพริกอ่อง นับเป็นน้ำพริกพื้นบ้านล้านนาที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายพอๆ กับน้ำพริกหนุ่ม ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือมีสีส้มของสีมะเขือเทศและพริกแห้ง ที่เคี่ยวจนเป็นน้ำขลุกขลิก มีน้ำมันลอยหน้าเล็กน้อย มีสามรส คือ เปรี้ยว เค็ม เผ็ด เล็กน้อย และรสหวานตาม นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้ (รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 3258; อัมพร โมฬีพันธ์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2550) บางสูตร ผัดหมูก่อนแล้ว จึงตามด้วยเครื่องปรุงและมะเขือเทศภายหลัง บางสูตร โขลกเนื้อหมู เครื่องปรุงและมะเขือเทศให้เข้ากันก่อน จึงนำไปผัดกับน้ำมันพืช บางสูตร ใส่ถั่วเน่าแข็บหรือใส่เต้าเจี้ยว ในการปรุงรส (อัมพร โมฬีพันธ์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2550) 

ขนมเกลือ หรือเข้าหนมเกลือ (อ่านว่า เข้าหนมเกื๋อ) บ้างเรียกว่า ขนมขาว เป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวเจ้า ส่วนผสมหลักมีแป้งและเกลือ ถ้าชอบหวาน ให้ใส่น้ำตาล ถ้าชอบกะทิ ก็ใส่ไปด้วยก็ได้ หรืออาจโรยงาดำลงไปด้วย มีคำพูดว่า เข้าหนมเกลือ เบื่อบ่าว เป็นคำพูดเชิงสัพยอกว่า หากไม่ชอบหนุ่มคนใด ถ้าเขามาพูดเกี้ยว ก็ให้สาวนั้นเอาเข้าหนมเกลือให้บ่าวหรือชายหนุ่มผู้นั้นกิน เพราะขนมเกลือมีแต่แป้ง กินมากจะแน่นท้อง จนอาจจะพูดอะไรไม่ออก และอาจกลับบ้านไปเลย (ทักษนันท์ อนรรฆพฤฒ, สัมภาษณ์, 5 กรกฎาคม 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, หน้า 821) 

ขนมเทียน หรือ เข้าหนมเตียน มีวิธีการทำคล้ายขนมเกลือ แต่ขนมสุกแล้วจะมีสีน้ำตาลจากสีของน้ำอ้อย รับประทานกับมะพร้าวขูดฝอย สำหรับวิธีการห่อขนม อาจใช้วิธีห่อแบบเดียวกับขนมเกลือ (ทักษนันท์ อนรรฆพฤฒ,สัมภาษณ์, 5 กรกฎาคม 2550; รัตนา พรหมพิชัย, 2542, 822) 

วัฒนธรรมการรับประทานอาหารของขชาวล้านนา

ห่อหนึ้ง

ห่อหนึ้ง เป็นวิธีประกอบอาหารชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ปลา หรือใช้หัวปลี หน่อไม้ มาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง ห่อด้วยใบตองแล้วนำไปนึ่ง ห่อนึ่งจะเรียกตามชนิดของอาหารที่นำไปนึ่ง ห่อนึ่งจะเรียกตามชนิดของอาหารที่นำมาปรุงเช่น ห่อนึ่งไก่ ห่อนึ่งปลา หน่อนึ่งปลี ห่อนึ่งหน่อ เป็นต้น (สมลักษมิ์ นิ่มสกุล และคณะ, 2546, 14; วิมลพรรณ ลิขิตเอกราช และนิภาภรณ์ ปิ่นมาศ, 2546, 21; อัมพร โมฬีพันธ์, สัมภาษณ์, 6 กรกฎาคม 2550)