เพลงกำเมือง 

เพลงพื้นบ้านล้านนา

พรพรรณ วรรณา (2542 : 4757-4758) ได้กล่าวถึงเพลงพื้นบ้านล้านนา ในหนังสือสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 9 ดังนี้

ชีวิตของชาวล้านนาแต่เดิมนั้น ผูกพันอยู่กับเสียงเพลงเกือบตลอดเวลา ตั้งแต่วัยทารก มีเพลงขับกล่อม ในวัยเด็ก มีเพลงประกอบการละเล่นต่างๆ ที่ทำให้การละเล่นนั้นสนุกสนาน เมื่อถึงวัยหนุ่มสาว ก็มีประเพณีการแอ่วสาว ซึ่งหนุ่มๆ จะนำเครื่องดนตรีประเภทสะล้อ ซึง เปี๊ย บรรเลงไปตามทางขณะไปเยือนหญิงที่ตนหมายปอง มีการขับลำนำที่เรียกว่า จ๊อย ส่วนในงานพิธีและงานรื่นเริงตามเทศกาลต่างๆ เช่นในพิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีบวชนาค ฟ้อนผีมดผีเม็ง เซ่นผีบรรพบุรุษ จะประกอบไปด้วยการบรรเลงดนตรี การขับร้องเพลงและการแสดงเพลงปฏิพากย์ที่เรียกว่า “ซอ” แม้ในช่วงสุดท้ายที่ชีวิตดับสูญ เพลงก็มีบทบาทที่จะบรรเลงในพิธีชักปราสาทบรรจุศพเข้าสู่ป่าช้า

เพลงพื้นบ้านล้านนานั้น อาจจัดแบ่งได้หลายวิธี เช่น แบ่งตามเวลาและโอกาสการแสดงออก อาจจะแบ่งได้เป็นเพลงร้องเล่น เพลงพิธีกรรม เพลงกล่อมเด็ก ฯลฯ ในที่นี้จะจัดแบ่งเพลงตามลักษณะของการแสดงออก โดยคำนึงถึงองค์ประกอบ 2 อย่าง คือ ดนตรี และเนื้อร้อง ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้

รายการอ้างอิง

พรพรรณ วรรณา. 2542. “เพลงคำเมือง.” ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่ม 9. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.