การจัดการความรู้ด้านวิชาการ
“การประเมินผลการเรียนรู้แบบ Formative Assessment ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning แบบออนไลน์สําหรับห้องเรียนขนาดใหญ่”

สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้มีคณะกรรมการดำเนินโครงการจัดการความรู้ด้านวิชาการ ติดตามการบันทึกแนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรูปแบบออนไลน์ สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่ และผลการบันทึกองค์ความรู้ จากกิจกรรมการจัดการความรู้ด้านวิชาการ “การประเมินผลการเรียนรู้ แบบ Formative Assessment ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรูปแบบออนไลน์ สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่” ในภาคการศึกษาที่ 1/2564 และ 2/2654 ดังนี้

  1. กระบวนการ ประกอบด้วย
    1.1 ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน

1.2 ขั้นตอนการอธิบายแนวทางการประเมิน

1.3 ขั้นตอนการตรวจสอบความพร้อมในการประเมิน

1.4 ขั้นตอนการการดำเนินกิจกรรมการประเมินผล

1.5 ขั้นตอนการพัฒนาการเรียนรู้

1.6 ขั้นตอนการสรุปประเด็นการเรียนรู้จากการประเมินผล

  1. เทคนิค มีดังต่อไปนี้
    2.1 การตั้งคำถาม

2.2 การสอบถาม

2.3 การระดมสมอง

2.4 การทดสอบ

2.5 การสังเกต

2.6 การให้ข้อมูลป้อนกลับ

2.7 การประเมินตนเอง

2.8 การประเมินโดยเพื่อน

2.9 การสะท้อนคิดการเรียนรู็

2.10 การนำเสนอร่วมกับการถาม-ตอบ

  1. ข้อสังเกต ประกอบด้วย
    3
    .1 คุณค่าจากการจากการประเมินผลการเรียนรู้

3.2 ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค

3.3 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม



กระบวนการประเมินผลการเรียนรู้แบบ Formative Assessment ในการจัดการเรียนรู้แบบ Online Active Learning ที่อาจารย์ผู้สอนได้ดำเนินการกับผู้เรียน ประกอบด้วย


ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน

ด้วยการประกาศแจ้งเตือนผู้เรียนล่วงหน้าเกี่ยวกับกิจกรรมการประเมินผลที่จะเกิดขึ้นในคาบเรียนผ่านไลน์กลุ่ม (LINE Group) ด้วยแอปพลิเคชัน LINE (LINE App) หรือประกาศของห้องเรียน (Teams) ด้วยโปรแกรม Microsoft Teams เพื่อให้ผู้เรียนวางแผนเรื่องเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประเมิน และศึกษารายละเอียดต่างๆ เช่น เกณฑ์ประเมิน ขั้นตอนการประเมิน เป็นต้น


ขั้นตอนการชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประเมิน

ขอบเขตการประเมิน ขั้นตอนการประเมิน และเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้อย่างละเอียด สังเกตและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมด้วยการให้ผู้เรียนตั้งข้อสังเกต ซักถาม สรุปสิ่งที่ต้องปฏิบัติ สร้างข้อตกลงร่วมกัน รวมถึงปรับเปลี่ยนคำชี้แจงในเกณฑ์ประเมินให้เป็นภาษาของตนเอง หรือเพิ่มตัวอย่างประกอบคำอธิบายในเกณฑ์แต่ละข้อ



ขั้นตอนการตรวจสอบความพร้อมในการประเมินผล

โดยการสังเกต สอบถาม หรือให้ผู้เรียนทวนความ หากพบว่า ผู้เรียนยังเข้าใจคลาดเคลื่อน หรือไม่ชัดเจน ผู้สอนจำเป็นต้องให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หรือให้ผู้เรียนศึกษาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือให้ผู้เรียนได้ฝึกซ้อม/ทดลองดำเนินการตามขั้นตอนการประเมินผล

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมการประเมินผล ในการจัดการเรียนรู้แบบ Online Active Learning

ด้านอาจารย์ผู้สอน : ใช้หลักการและทักษะ Coaching, Power Question, Feed-up, Feed-forward และ Growth Mindset โดยเน้นการตั้งคำถามเพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจและการคิดแก้ไขปัญหาให้แก้ผู้เรียน และให้ข้อมูลป้อนกลับ ทั้งในส่วนที่ผู้เรียนทำได้ดี ส่วนที่ผู้เรียนต้องปรับปรุง และการให้กำลังใจในความพยายามและการใช้ศักยภาพของผู้เรียนในการเรียนรู้ รวมถึงให้ผู้เรียนได้สรุปสิ่งที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง ภายหลังจากพิจารณาผลงานของตนเองร่วมกับเกณฑ์การประเมินและข้อมูลป้อนกลับจากอาจารย์ผู้สอน นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนยังใช้เวลาในคาบเรียนและนอกคาบเรียน ติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง โดยอาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนจะร่วมกันกำหนดช่องทาง (ช่องทางได้แก่ Chat ของ LINE App และ/หรือ Meeting Chat ของโปรแกรม Microsoft Teams) และเวลาที่สะดวกตรงกัน

ด้านผู้เรียน : เน้นรายงานความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเอง เช่น ได้ทำสิ่งใดหรือขั้นตอนใดไปแล้วบ้าง ผลของการดำเนินการเป็นอย่างไร พบปัญหาอุปสรรคใดหรือไม่ อย่างไร ดำเนินการแก้ไขได้หรือไม่ อย่างไร ต้องการความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากอาจารย์ผู้สอนหรือไม่ อย่างไร มีแผนสำหรับดำเนินการต่อไปอย่างไร เป็นต้น นอกจากนี้ผู้เรียนยังต้องตรวจสอบผลงานของตนเองเทียบกับเกณฑ์การประเมินอย่างต่อเนื่อง หรือในบางกิจกรรมการเรียนรู้ อาจให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบผลงานของเพื่อนเทียบกับเกณฑ์การประเมิน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เปรียบเทียบผลงานของตนกับผู้อื่น เพื่อวางแผนต่อยอดหรือพัฒนางานของตนต่อไปได้


ขั้นตอนการพัฒนาการเรียนรู้

ด้านอาจารย์ผู้สอน : ในระหว่างการประเมิน อาจารย์ผู้สอนจะได้เห็นความสำเร็จของเทคนิควิธีการที่เลือกว่าเหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ ลักษณะผู้เรียน เวลา และช่องทางการเรียนรู้ออนไลน์ หรือไม่ อย่างไร ได้เห็นปัญหา/อุปสรรคที่เกิดขึ้นกับอาจารย์และผู้เรียน เช่น ศักยภาพของผู้เรียน ความพร้อมของอาจารย์ผู้สอน ฟังก์ชั่นการใช้งานของเครื่องมือและสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ดังนั้นภายหลังจากได้ข้อมูลดังกล่าว อาจารย์ผู้สอนจึงมีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ที่ได้พบ โดยไม่กระทบกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของกิจกรรมการเรียนรู้และรายวิชา

ด้านผู้เรียน : ในระหว่างการประเมิน ผู้เรียนจะทราบเป้าหมายและคุณค่าของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ ผ่านรายละเอียดของเกณฑ์การประเมินและการชี้แจงของอาจารย์ผู้สอนอย่างต่อเนื่อง มีแนวทางการพัฒนาผลงานและพัฒนาคุณลักษณะสำคัญของผู้เรียน


ขั้นตอนการสรุปประเด็นการเรียนรู้จากการประเมินผล

ภายหลังกิจกรรมการเรียนรู้และการประเมินผลเสร็จสิ้นลง อาจารย์ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสะท้อนคิดการเรียนรู้ หรือถอดบทเรียนร่วมกัน เช่น องค์ความรู้ กระบวนการทางการคิด ทักษะ และคุณลักษณะที่ได้รับจากกิจกรรมประเมินผลการเรียนรู้แบบ Formative Assessment แนวทางการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการเรียน การทำงาน หรืออยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม เป็นต้น




เทคนิคการประเมินผลการเรียนรู้แบบ Formative Assessment ในการจัดการเรียนรู้แบบ Online Active Learning มีดังต่อไปนี้


เทคนิคการตั้งคำถาม

ทั้งรูปแบบคำถามปลายเปิดและปลายปิด โดยเป้าหมายของการตั้งคำถามมีหลายลักษณะ เช่น คำถามเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนตื่นตัวที่จะเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ คำถามเพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีคำตอบที่ถูกเพียงคำตอบเดียว คำถามเพื่อตรวจสอบภูมิหลังหรือประสบการณ์ของผู้เรียน คำถามเพื่อตรวจสอบความรู้ความจำหรือการดำเนินงานของผู้เรียน คำถามเพื่อวิเคราะห์และประเมินค่าสำหรับการแก้ไขปัญหา เป็นต้น โดยการตั้งคำถามของอาจารย์ผู้สอนเกิดขึ้นทั้งแบบ Synchronous และแบบ Asynchronous ทั้งนี้คำตอบที่ได้จากผู้เรียนช่วยให้อาจารย์ผู้สอนมีแนวทางปรับกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของผู้เรียน

เทคนิคการสอบถาม

รูปแบบการสอบถามเพื่อติดตามความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ การสอบถามทางวาจาหรือการพูดคุย การใช้แบบฟอร์มออนไลน์ต่างๆ การใช้ Chat ของ LINE App/ Meeting Chat ของโปรแกรม Microsoft Teams ทั้งเวลาในคาบเรียนและนอกคาบเรียน และทั้งในลักษณะกลุ่มและรายบุคคล ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จากผู้เรียนช่วยให้อาจารย์ผู้สอนมีแนวทางปรับกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบันของผู้เรียน

เทคนิคการระดมสมอง

โดยการมอบหมายให้ผู้เรียนร่วมกันอภิปรายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนรู้หรือการดำเนินงานของกลุ่ม ซึ่งเป็นการมอบหมายทั้งเวลาในคาบเรียนและนอกคาบเรียน และเป็นการระดมสมองทั้งที่มีอาจารย์ผู้สอนอยู่ร่วมด้วยและผู้เรียนดำเนินการเองทั้งหมด เมื่อครบเวลาที่กำหนด อาจารย์ผู้สอนให้ผู้เรียนนำเสนอข้อมูล และให้ผู้เรียนร่วมกันสรุปองค์ความรู้ ในขณะที่อาจารย์ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการระดมสมองและเพิ่มเติมประเด็นสำคัญต่างๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจ หรือมีแนวทางต่อยอดการเรียนรู้ของตนมากยิ่งขึ้น

เทคนิคการทดสอบ

ในเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนได้เรียนรู้ในรายวิชา โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินผล (Rubrics) ในการทดสอบ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการทดสอบอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการทดสอบจัดขึ้น ทั้งแบบ Synchronous และ แบบ Asynchronous ด้วยการใช้แอปพลิเคชันการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น

รวมถึงการใช้ Microsoft Teams ส่วนแชท ในการประชุม Teams (Meeting chat) และ กลุ่มย่อย (Channel)

เทคนิคการสังเกต

ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถามและเทคนิคการระดมสมอง เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกของผู้เรียน กระบวนการทำงานของผู้เรียน พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งข้อมูลที่ได้รับนี้ อาจารย์ผู้สอนนำมาสะท้อนให้ผู้เรียนได้ตระหนักรู้ และร่วมกันวางแผนสำหรับการต่อยอดหรือพัฒนาคุณลักษณะสำคัญของผู้เรียนต่อไป

เทคนิคการให้ข้อมูลป้อนกลับ

จัดขึ้นในแบบ Synchronous และแบบ Asynchronous ทั้งในคาบเรียนและนอกคาบเรียน โดยการให้ข้อมูลป้อนกลับของอาจารย์ผู้สอน ประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เรียนทำได้ดี สิ่งที่ผู้เรียนจำเป็นต้องปรับปรุง/พัฒนา ข้อแสนอแนะที่เป็นรูปธรรมในการปรับปรุง/พัฒนา ตัวอย่างผลงาน (กรณีที่ผู้เรียนต้องการ) ข้อความสนับสนุนหรือให้กำลังใจ ทั้งนี้การปรับปรุง/พัฒนาตามข้อมูลป้อนกลับหรือไม่ เป็นการตัดสินใจของผู้เรียน โดยผู้เรียนสามารถพิจารณาตามข้อจำกัดและศักยภาพที่มีด้วยตนเอง โดยแจ้งให้อาจารย์ผู้สอนทราบและยอมรับในผลการตัดสินใจนั้น

เทคนิคการประเมินตนเอง

จัดขึ้นในแบบ Synchronous และแบบ Asynchronous โดยให้ผู้เรียนพิจารณาผลงานของตนเอง หรือระดับความรู้ความเข้าใจ กระบวนการทางการคิด ทักษะ หรือคุณลักษณะของตนเองเทียบกับแผนการดำเนินกิจกรรมที่วางไว้ หรือเทียบกับเกณฑ์การประเมินที่ได้ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน จากนั้นให้ผู้เรียนสรุปประเด็นความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค และแนวทางปรับปรุง/พัฒนาต่อไป ทั้งนี้การประเมินตนเองมักเกิดควบคู่กับการใช้เทคนิคการทดสอบ การสอบถาม หรือการสังเกต และมักมีการใช้เทคนิคการให้ข้อมูลป้อนกลับต่อท้ายการประเมินตนเอง

เทคนิคการประเมินโดยเพื่อน

จัดขึ้นในแบบ Synchronous และแบบ Asynchronous โดยมอบหมายให้ผู้เรียนได้พิจารณาผลงานของเพื่อนร่วมชั้นเรียนเทียบกับเกณฑ์การประเมินได้ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน ซึ่งผู้เรียนต้องตัดสินให้คะแนนเชิงตัวเลข และให้ข้อเสนอแนะเชิงบรรยายความ แก่ผลงานของเพื่อนที่ได้ประเมิน ทั้งนี้การประเมินโดยเพื่อนมีทั้งการประเมินผลงานกลุ่มและผลงานรายบุคคล ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของรายวิชาที่กำหนดไว้ นอกจากนี้การประเมินโดยเพื่อนมักเกิดขึ้นก่อนการส่งผลงานฉบับสมบูรณ์ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปรับปรุง/พัฒนาผลงานให้เต็มความสามารถของแต่ละกลุ่ม/แต่ละบุคคลก่อน

เทคนิคการสะท้อนคิดการเรียนรู้

จัดขึ้นในแบบ Synchronous และแบบ Asynchronous และจัดขึ้นทั้งแบบกลุ่มและแบบรายบุคคล ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสลับสับเปลี่ยนไปตามลักษณะกิจกรรมการเรียนรู้และความพร้อมของผู้เรียน เพื่อลดความซ้ำหรือภาระงานของผู้เรียน โดยประเด็นการสะท้อนคิดการเรียน ประกอบด้วย การสะท้อนคิดอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับกระบวนการ (Process) เนื้อหา (Content) และแนวคิดรวบยอดที่เกิดขึ้น (Premise)

เทคนิคการนำเสนอร่วมกับการถามตอบ

เมื่อให้ผู้เรียนรายงานความก้าวหน้า หรือนำเสนอผลงาน ผู้สอนหรือผู้เรียนจะตั้งคำถาม เพื่อให้ผู้นำเสนออธิบายขยายความข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอเพิ่มเติม หรือแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ทบทวนตรวจสอบตนเอง และได้ข้อมูลป้อนกลับหรือข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์



ข้อสังเกตจากการประเมินผลการเรียนรู้แบบ Formative Assessment ในการจัดการเรียนรู้แบบ Online Active Learning ประกอบด้วย

คุณค่าจากการประเมินผลการเรียนรู้แบบ Formative Assessment ในการจัดการเรียนรู้แบบ Online Active Learning

ต่ออาจารย์ผู้สอน : มีแนวทางปรับปรุงการจัดการเรียนสอน แยกแยะความสามารถของผู้เรียนได้ ผลการจัดการเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ กิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม/เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน/ผู้เรียน และผู้เรียน/อาจารย์ผู้สอน บรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปอย่างผ่อนคลาย ผู้เรียนและผู้สอนรู้จักกันมากขึ้น ลดภาระการชี้แจง/ตอบคำถามของผู้เรียนรายบุคคล/ส่วนตัว

ต่อผู้เรียน : มีส่วนร่วมในการเรียนรู้ สนใจ กระตือรือร้น และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ ได้ตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของตนเอง ฝึก/มีทักษะการคิด (การวิเคราะห์ การประเมินค่า) ฝึก/มีทักษะการสื่อสาร (ฟัง พูด อ่าน เขียน) ทราบที่มาของคะแนน มีแนวทางสำหรับการพัฒนาผลงาน/ผลการเรียนรู้ ของตนเอง/กลุ่ม ผลงาน/ผลการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นไปตามเกณฑ์ เกิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เกิดความภาคภูมิใจเมื่อผ่านขั้นตอนการเรียนรู้ต่างๆ ได้ด้วยตนเอง เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง และกล้าแสดงความคิดเห็น


ปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขปัญหาอุปสรรค

ส่วนอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ผู้สอน
ไม่สามารถติดตามหรือให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้เรียนในคาบเรียนได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องเวลาในคาบเรียน (รายละเอียดตามหัวข้อการเรียนรู้ในประมวลรายวิชา (Course Syllabus) และ มคอ. 3 (TQF 3) อยู่ระหว่าง 2-3 ชั่วโมง/คาบเรียน) และระยะเวลาในการให้คำแนะนำปรึกษาผู้เรียนแต่ละกรณี ซึ่งที่ผ่านมา อาจารย์ผู้สอนใช้วิธีให้คำปรึกษาแก่นิสิตท้ายคาบเรียน (30 นาที ก่อนหมดคาบเรียน) และนอกคาบเรียน (ตามช่วงเวลาที่อาจจารย์ผู้สอนและผู้เรียนสะดวกตรงกัน) อย่างไรก็ตามจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมได้เสนอให้ฝ่ายวิชาการมีนโยบายลดปริมาณกิจกรรมในรายวิชา เช่น 1 คาบเรียน ควรมีกิจกรรมการบรรยายแบบมีส่วนร่วม และกิจกรรม Active Learning เพียง 1 กิจกรรม โดยกำหนดเป้าหมายของกิจกรรมให้สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในคาบเรียน รวมถึงพิจารณานโยบายการให้คำแนะนำปรึกษานอกเวลาเรียนของอาจารย์ผู้สอนที่มีขอบเขตของเวลาที่ชัดเจนเป็นแนวปฏิบัติเดียวกันของทั้งสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้

ส่วนผู้เรียน
ผู้เรียนท้อแท้ เหนื่อยหน่ายที่ต้องแก้ไขงานบ่อยครั้ง โดยเฉพาะในกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ต้องใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรมหลายสัปดาห์ ซึ่งที่ผ่านมา อาจารย์ผู้สอนใช้วิธีการชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ของการประเมินและปรับปรุง/พัฒนาผลงาน คุณค่าที่ผู้เรียนได้รับ รวมถึงได้ชี้ให้ผู้เรียนเห็นถึงปัญหาอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้เรียนวางแผนให้เหมาะสมกับตนเองได้ นอกจากนนี้อาจารย์ผู้สอนยังใช้การทำ Roadmap ประกอบเกณฑ์การประเมิน (Rubrics) ให้ผู้เรียนเห็นภาพรวมและเห็นรายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียนวางแผนให้เหมาะสมกับตนเองได้ ทั้งนี้ในสภาวะที่ผู้เรียนให้ข้อมูลป้อนกลับถึงคามรู้สึกท้อแท้ เหนื่อยหน่าย ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ให้ข้อสังเกตว่า การติดตามการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้น ไม่ควรจี้ถามหรือตามบ่อยครั้งจนเกินไป รวมถึงให้กำลังใจและให้ข้อมูลป้อนกลับที่ชัดเจนแก่ผู้เรียน

ผู้เรียนไม่ให้ความร่วมมือในการประเมินหรือร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้น เช่น ทำงานอื่นในคาบเรียน หรือในระหว่างประชุมกลุ่มย่อยในรายวิชาศึกษาทั่วไป (รายวิชา GE หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ปรับปรุง พ.ศ. 2552 และ ปรับปรุง พ.ศ. 2560 ภายใต้การดูแลของสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้) ไม่ใช้ช่องทางของ Microsoft Teams ในการทำงานร่วมกัน ทำให้การจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแผน และอาจารย์ผู้สอนไม่สามารถติดตามหรือให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้เรียนภายในคาบเรียนได้ ในกรณีนี้ผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งเสนอให้อาจารย์ผู้สอนกำหนดระยะเวลาในการเข้ากลุ่มย่อยของผู้เรียนอย่างชัดเจน ไม่เผื่อเวลามากเกินไป และกำหนดผลลัพธ์ของกิจกรรมที่ต้องการอย่างเป็นรูปธรรม และให้รางวัลแก่ผู้เรียน เมื่อทำภารกิจได้สำเร็จตามเป้าหมาย เช่น คะแนนความตรงต่อเวลา การให้ออกจากห้องประชุมก่อนเวลาได้ เป็นต้น ที่สำคัญคือการชี้แจงและบอกความคาดหวังของอาจารย์ผู้สอนต่อผู้เรียนว่า อาจารย์ผู้สอนมีความเชื่อมั่นในตัวผู้เรียนที่จะรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของตนเองและตระหนักในกาลเทศะ (รู้ว่าที่นี่คือห้องเรียน คือเวลาเรียน คือช่วงที่ต้องฝึกฝนตนเองในรายวิชา GE)

ผู้เรียนขาดทักษะการประเมิน การให้ข้อมูลป้อนกลับ และการเขียนสะท้อนคิดการเรียนรู้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้เรียนชั้นปีที่ 1 หรือผู้เรียนที่ได้ทำกิจกรรมในลักษณะนี้เป็นครั้งแรก ซึ่งที่ผ่านมาอาจารย์ผู้สอนได้ทำความเข้าใจประสบการณ์และคุณลักษณะของผู้เรียนที่แตกต่างกัน และได้ให้ผู้เรียนฝึกฝนซ้ำพร้อมกับการชื่นชม แนะนำ ให้ดูตัวอย่างเกี่ยวกับวิธีการประเมิน การให้ข้อมูลป้อนกลับ และการเขียนสะท้อนคิดการเรียนรู้

ผู้เรียนต้องการให้ผู้สอนบอกวิธีแก้ไขโดยตรง อาจารย์ผู้สอนยังไม่ควรให้คำตอบเบ็ดเสร็จแก่ผู้เรียนในทันที แต่ควรให้เวลาผู้เรียนได้คิดหาคำตอบ ได้ค้นคว้าข้อมูลหรือพูดคุยกันภายในกลุ่มก่อน แต่หากยังไม่สามารถหาวิธีการที่ถูกต้องได้ ผู้สอนควรตั้งข้อสังเกต หรือถามคำถามให้ผู้เรียนได้ไตร่ตรอง คิดต่อยอด พร้อมอธิบายเหตุผลที่อาจารย์ผู้สอนต้องทำเช่นนี้ โดยเชื่อมกับวัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง รวมถึงยกตัวอย่างกระบวนการได้มาซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาของผู้เรียนกลุ่มอื่น และหากมีเวลาเพียงพอ หรือผู้เรียนมีความพร้อมที่จะลองผิดลองถูกด้วยตนเอง ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดลองด้วยตนเอง แต่หากมีเวลาไม่พอหรือผู้เรียนไม่พร้อม อาจารยผู้สอนควรชี้แนวทางให้แก่ผู้เรียนตามความเหมาะสม

ผู้เรียนไม่กล้าถามในส่วนที่สงสัย/ไม่แน่ใจ อาจารย์ผู้สอนควรสร้างสัมพันธภาพกับผู้เรียนผ่านการพูดคุยในเรื่องที่ผู้เรียนกำลังสนใจ เพื่อให้ผู้เรียนรู้สึกเป็นกันเอง จากนั้นอาจารย์ผู้สอนควรแบ่งเวลาเพื่อให้ผู้เรียนได้พูดคุยปรึกษาเป็นกลุ่มย่อย/แบบส่วนตัว ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ผู้เรียนสะดวก นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนควรเป็นผู้ตั้งคำถามที่ผู้เรียนอาจสงสัยหรือผู้เรียนในกลุ่มเรียนอื่นเคยถาม มาเป็นประเด็นพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจกับผู้เรียน หรือควรให้ผู้เรียนเตรียมคำถามในแต่ละครั้ง โดยมีคะแนนการมีส่วนร่วมหรือคำชื่นชม เป็นสิ่งเสริมแรงให้ผู้เรียนมีความกล้าถามคำถามในครั้งต่อไป หรือควรให้ผู้เรียนได้ประเมินผลงานของตนเองเทียบกับเกณฑ์ และพิจารณาสาเหตุที่ทำให้ผลงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ซึ่งเทคนิคนี้จะช่วยให้ผู้เรียนพบปัญหาและถามอาจารย์ผู้สอนในครั้งต่อไป

ผู้เรียนไม่เชื่อ/ไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ผู้สอนควรชี้แจงเกณฑ์ประเมินผลงานให้ผู้เรียนทราบอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับบอกประโยชน์/คุณค่าที่ผู้เรียนจะได้รับหากปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของผู้สอน (ข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้สอนต้องสอดคล้องกับเกณฑ์ประเมินผล) อีกทั้งอาจารย์ผู้สอนควรสอบถามสาเหตุที่ผู้เรียนไม่เชื่อ/ไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของอาจารย์ผู้สอน เพื่อเข้าใจมุมมองของผู้เรียน โดยหากมุมมองของผู้เรียนได้กระทบต่อผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา/กิจกรรมการเรียนรู้ อาจารย์ผู้สอนควรขยายขอบเขตการเรียนรู้/โจทย์เพิ่มเติม เพื่อเป็นทางเลือกในการเรียนรู้ของผู้เรียน


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

ส่วนอาจารย์ผู้สอน
อาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องให้เวลาผู้เรียนได้คิดหาคำตอบ ได้ค้นคว้าข้อมูลหรือพูดคุยกันภายในกลุ่ม หรือได้ใช้เวลาลองผิดลองถูกด้วยตนเอง เนื่องจากสไตล์การเรียนรู้ของผู้เรียนในปัจจุบัน ต้องการพิสูจน์ความคิดความเชื่อของตนเอง นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนยังจำเป็นต้องยืดหยุ่นในเรื่องเวลาและตัวอย่างประกอบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนแต่ละคณะ และวิชาเอก/สาขา มีความต้องการและความสนใจที่แตกต่างกัน

อาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องสังเกตผู้เรียน จากน้ำเสียง ข้อความ ภาพสัญลักษณ์ (ไอคอน) ที่ใช้แสดงความคิดเห็น เพื่อเข้าใจความต้องการของผู้เรียน และสามารถตอบสนองผู้เรียนได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งต้องมีไหวพริบในการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า โดยเฉพาะการตั้งคำถามหรือการตอบคำถามที่ผู้เรียนอาจใช้ความรู้สึกส่วนตัวหรือข้อมูลที่บิดเบือน เพื่อป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องใช้การสนทนาอย่างเป็นมิตร ผ่านถ้อยคำสุภาพ น้ำเสียงนุ่มนวล ข้อเท็จจริงที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ และการให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ในลักษณะทางเลือกไม่ใช่การบังคับให้ทำตาม ที่สำคัญการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและอาจารย์ผู้สอน ในกรณีเป็นเหตุการณ์ที่กระทบต่อตัวตนของผู้เรียน อาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องเลือกช่องทางการสื่อสารที่เหมาะสม เช่น การคุยนอกรอบ การคุยเป็นรายกลุ่ม/รายบุคคล เป็นต้น

อาจารย์ผู้สอนจำเป็นต้องตระหนักว่า การประเมินเป็นไปเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา จึงไม่ข่มขู่ด้วยคะแนน ไม่เบียดเบียนเวลาส่วนตัว และเวลาเรียนของรายวิชาอื่น ไม่สร้างภาระงานให้แก่ผู้เรียนมากจนเกินไป และไม่ทำการประเมินในรูปแบบเดิมซ้ำจนน่าเบื่อหน่าย


การบันทึกแนวปฏิบัติ - ผลการบันทึกองค์ความรู้

กำหนดการส่งแบบบันทึกแนวปฏิบัติ “การประเมินผลการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในรูปแบบออนไลน์ สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่”

  • กรณีอาจารย์ผู้สอนเข้าร่วมโครงการ ในภาคการศึกษาที่ 1/2564 บันทึกเสร็จสิ้น ภายในวันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2565

  • กรณีอาจารย์ผู้สอนเข้าร่วมโครงการ ในภาคการศึกษาที่ 2/2564 บันทึกเสร็จสิ้น ภายในวันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

    *
    แบบบันทึกเข้าสู่ชีตด้วย GAFE Mail ...@g.swu.ac.th

รองศาสตราจารย์ ดร.ชนัตถ์ พูนเดช

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Interactive - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 141 ชีวิตในโลกดิจิทัล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 353 การคิดอย่างมีเหตุผลและจริยธรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย แก้วพินิจ

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 244 วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี

อาจารย์ ดร.สุนทรี สกุลพราหมณ์

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Task - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 141 ชีวิตในโลกดิจิทัล

อาจารย์ ดร.สุพัตรา อารีกิจ

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Resources-based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 243 การจัดการทางการเงินส่วนบุคคล

รองศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา ต้นโพธิ์

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Task - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 111 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรี ปรีดาสุริยะชัย

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Collaborative-based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 244 วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 354 ความคิดสร้างสรรค์กับนวัตกรรม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชุดา สาธิตพร

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 261 พลเมืองวิวัฒน์

อาจารย์ ดร.ธรรมนูญ สะเทือนไพร

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 267 หลักการจัดการสมัยใหม่

อาจารย์ ดร.ณัชวดี จันทร์ฟอง

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: React to Video Clip Analysis
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 351 การพัฒนาบุคลิกภาพ

อาจารย์ ดร.ขวัญคนิฐ แซ่อึ้ง

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 244 วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี

อาจารย์ ดร.มาลินี ลีโทชวลิต

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 244 วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี

อาจารย์ ดร.เมทินี ทนงกิจ

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 356 จิตวิทยาสังคมในการดำเนินชีวิต

อาจารย์ ดร.กันต์กนิษฐ รัตนธนาวรรณ

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Resources-based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 243 การจัดการทางการเงินส่วนบุคคล

อาจารย์ ดร.จิตสุภา กิติผดุง

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 261 พลเมืองวิวัฒน์

อาจารย์ ดร.สิริรัตน์ จรรยารัตน์

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Collaborative - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 351 การพัฒนาบุคลิกภาพ

อาจารย์ ดร.ณภัทรรัตน์ ไชยอัครกัลป์

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 151 การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์

อาจารย์ ดร.พิชชาดา ประสิทธิโชค

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Self-directed Learning & Research-based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 268 การศึกษาทางสังคมด้วยกระบวนการวิจัย

อาจารย์ ดร.อรุโณทัย พยัคฆพงษ์

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 151 การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 342 ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

อาจารย์ ดร.อรรคพล วณิกสัมบัน

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 244 วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี

อาจารย์ ดร.ปิยะ บูชา

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 151 การศึกษาทั่วไปเพื่อพัฒนามนุษย์

อาจารย์ ดร.สุทธิพงศ์ วรอุไร

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Problem - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 161 มนุษย์ในสังคมแห่งการเรียนรู้

อาจารย์ ดร.สราวุฒิ ตรีศรี

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564 และ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Brainstorm Technique
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 353 การคิดอย่างมีเหตุผลและจริยธรรม

อาจารย์ ดร.ฐิญาณา สุภัทรชยาภูมิ

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 353 การคิดอย่างมีเหตุผลและจริยธรรม

อาจารย์ ดร.ชุติกร นพรัตน์

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 244 วิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่ดี

อาจารย์ภานุวัฒน์ บุตรเรียง

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 141 ชีวิตในโลกดิจิทัล

อาจารย์อาจารีย์ ช่างประดับ

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564 และ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Jigsaw Technique
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 242 คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564 และ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Team - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 253 สุนทรียสนทนา

อาจารย์นันทพร ศรจิตติ

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 1/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Task - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 111 ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

อาจารย์ ดร.รณยุทธ เอื้อไตรรัตน์

ช่วงเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม KM: ภาคการศึกษาที่ 2/2564

  • Active Learning ในรูปแบบออนไลน์: Project - based Learning
    วิชาที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรม KM: SWU 258 ศิลปะการพูดและการนำเสนอ