ปีการศึกษา 2560

องค์ความรู้ด้านการจัดการเรียนการสอน

แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning สำหรับห้องเรียนขนาดใหญ่

.......

การจัดการเรียนรู้ด้วย Gallery Walk:

(อาจารย์ผู้สอน ผศ.จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา อ.เมทินี ทนงกิจ และ อ.สุนทรี สกุลพราหมณ์)

“เป็นการจัดการเรียนการสอนที่สืบเสาะหาความรู้ด้วยตนเอง ในลักษณะการเดินชมผลงานและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม วิพากษ์วิจารณ์ความถูกต้อง ความสร้างสรรค์ของผลงานตนเองและผลงานของเพื่อนกลุ่มอื่นๆ ก่อนที่จะตกผลึกเป็นความรู้ความเข้าใจที่สร้างขึ้นด้วยตนเองซึ่งเป็นการฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การสื่อสาร และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ตามหลักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” ...Read more

การจัดการเรียนรู้ด้วย Think-Pair-Share Think-Pair-Square:

(อาจารย์ผู้สอน ผศ.จิตต์ภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา อ.เมทินี ทนงกิจ และ อ.สุนทรี สกุลพราหมณ์)

“เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการอภิปรายร่วมกันของผู้เรียน โดยเริ่มจากการที่ผู้สอน ตั้งคำถามหรือกำหนดประเด็นในการอภิปราย แล้วให้ผู้เรียนคิดหาคำตอบด้วยตนเองก่อน จากนั้นจับคู่กับเพื่อน เพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคู่ของตน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในระหว่างการฟังบรรยาย หรือมีส่วนร่วมในการทบทวนเนื้อหาหลังจากการฟังบรรยาย” ...Read more

การจัดการเรียนรู้โดยการใช้ภาระงาน Task Based Learning:

(อาจารย์ผู้สอน อ.กาญจนา ต้นโพธิ์ อ.นันทพร ศรจิตติ อ.สิริรัตน์ จรรยารัตน์ และ อ.สุเมษย์ หนกหลัง)

“เป็นการจัดการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้ และคำตอบจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จนได้ชิ้นงานที่เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือได้ชิ้นงานที่ออกมาตรงกับวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวางแผนงาน การสร้างสรรค์ผลงาน จนถึงการประเมินผลงานของตนเองและผู้อื่น” ...Read more

การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน Project Based Learning:

(อาจารย์ผู้สอน อ.กมลวรรณ คารมปราชญ์ คล้ายแก้ว อ.ภานุวัฒน์ บุตรเรียง และ อ.มาลินี ลีโทชวลิต)

“เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการลงมือกระทำ มีพื้นฐานความคิดสอดคล้องกับแนวคิดของ John Dewey ซึ่งเชื่อว่าผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการทำโครงงาน โดยอาศัยเทคนิคหลากหลายรูปแบบผสมผสานกัน ไม่ว่าจะเป็นการฝึกคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม และการอภิปราย ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้ การออกแบบการเรียนรู้ การสร้างสรรค์ผลงาน การประยุกต์ใช้ผลงาน และการประเมินผลงาน” ...Read more

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีม Team Based Learning:

(อาจารย์ผู้สอน อ.เมทินี ทนงกิจ )

“เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ผ่านการทำงานเป็นทีม บนพื้นฐานการยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และปฏิสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานระหว่างสมาชิกในทีม โดยเฉพาะในขั้นตอนของการศึกษาค้นคว้า การทดสอบความรู้ทั้งแบบรายบุคคลและแบบทีม และการประยุกต์ใช้ความรู้กับสาขาวิชาที่เรียนหรือชีวิตประจำวัน” ...Read more

การจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง Simulation Based Learning:

(อาจารย์ผู้สอน อ.จิตสุภา กิติผดุง)

“เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นรูปแบบสถานการณ์เสมือนจริง ที่จำเป็นต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ เพื่อก่อให้เกิดองค์ความรู้และความเข้าใจ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้โดยสร้างสถานการณ์จำลองที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการสอน” ...Read more

การจัดการเรียนรู้แบบการประเมินผลงานโดยเพื่อน Peer Assessment:

(อาจารย์ผู้สอน ผศ.ชนัตถ์ พูนเดช อ.สุนทรี สกุลพราหมณ์ และ อ.สิริรัตน์ จรรยารัตน์)

“เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการประเมินผลงานของผู้เรียนคนอื่น โดยผู้เรียนจะมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานของผู้เรียนคนอื่นตามเกณฑ์การประเมิน (Rubrics) ที่ผู้สอนเป็นผู้กำหนด ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ผู้เรียนเกิดการสะท้อนคิดมายังผลงานของตนเอง พร้อมทั้งเกิดการเรียนรู้และกลับมาพัฒนาผลงานของตนให้ดีขึ้น” ...Read more

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ Collaborative Learning:

(อาจารย์ผู้สอน อ.ณัชวดี จันทร์ฟอง)

“เป็นการจัดการความรู้ที่เน้นการศึกษาค้นคว้าและใช้ประสบการณ์ ของผู้เรียนในการถ่ายทอดเนื้อหาและสร้างองค์ความรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม โดยมีการกำหนดโครงสร้างของงานแบบหลวมๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบและสร้างผลงานที่ยืดหยุ่นหลากหลาย ตลอดจนใช้ขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ซึ่งสอดคล้องกับการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ” ...Read more