ผลสำเร็จของการดำเนินงานตามประเด็นท้าทาย

PA67.pdf

ประเด็นท้าทาย

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

               ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

                ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

        ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียน

                1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

             จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566  พบว่ามีนักเรียนบางส่วนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  ที่ไม่เข้าใจลักษณะการแต่งคำประพันธ์ประเภทร่ายยาว  และพัฒนาต่อไปสู่การแต่งคำประพันธ์ร่ายสุภาพ  ซึ่งในการแต่งร่ายสุภาพนั้นนักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจโคลงสี่สภาพ  การใช้คำเอกโทษ โทโทษ การใช้คำตาย  ทำให้ผลการเรียนในเรื่องนั้นอาจจะต้องใช้เวลานานในการแต่งคำประพันธ์  บางกลุ่มอาจจะแต่งไม่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์  ข้าพเจ้าเห็นว่าทักษะนี้ควรได้รับการพัฒนาต่อไปเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น  และสามารถแต่งคำประพันธ์ได้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์  ซึ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและมีเจตคติที่ดีในด้านการแต่งคำประพันธ์เพื่อพัฒนานักเรียนสู่กวีเยาวชนต่อไป ดังนั้นจึงต้องการพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ให้กับผู้เรียนให้มีทักษะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ  ตามศักยภาพของผู้เรียน

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                วิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล  เพื่อพัฒนาทักษะด้านการเขียน การแต่งคำประพันธ์ มีการสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งคำประพันธ์  ตามหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2561) นำมาพัฒนา พัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการแต่งคำประพันธ์  นำเอกสารประกอบการเรียน ไปให้คุณครูในสาขาภาษาไทยพิจารณาความเหมาะสม แล้วนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่รับผิดชอบ

                3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

                3.1 เชิงปริมาณ  ผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ ด้วยเอกสารประกอบการเรียนที่ครูพัฒนาขึ้น  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไม่น้อยกว่าร้อยละ 70  และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การแต่งคำประพันธ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแต่งคำประพันธ์  ที่ครูพัฒนาขึ้นในระดับ มาก

               3.2 เชิงคุณภาพ ผู้เรียนมีทักษะการอ่านและการเขียนเพิ่มขึ้นตามศักยภาพของผู้เรียน  และสามารถนำทักษะและความรู้การอ่านและการเขียนไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต  และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสู่กระบวนการเรียนรู้ในรายวิชาอื่น ๆ ได้อย่างเหมาะสม


บันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement :PA)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565

PA 66.pdf
5_10.pdf
5_4.pdf
5_9.pdf
5_3.pdf