ผลสำเร็จของการดำเนินงานตามประเด็นท้าทาย

รายงานประเด็นท้าทาย.pdf

ประเด็นท้าทาย

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

                ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ คือ การริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังในวิทยฐานะที่สูงกว่าได้)

        ประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการอ่าน SQ3R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

                1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

                จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผ่านมา พบว่านักเรียนขาดทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากในการศึกษาเรียนรู้ของนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง การอ่านผู้อ่านควรมีความรู้ความเข้าใจและเกิดการเรียนรู้จากการอ่านได้อย่างลึกซึ้ง และมีประสิทธิภาพในระดับสูงขึ้น คือ รู้จักคำว่าวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของข้อความที่อ่าน  ซึ่งผู้เรียนมักจะไม่สามารถวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของข้อความที่อ่านได้  หรือยังขาดทักษะการอ่าน อ่านแล้วจับสาระสำคัญของเรื่องไม่ได้ ไม่ชอบอ่าน ไม่มีนิสัยรักการอ่าน

ครูผู้สอนตระหนักในความสำคัญของทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ซึ่งทักษะการอ่านเป็นเครื่องมือที่สำคัญ

อย่างยิ่ง  การอ่านเป็นทักษะที่จะต้องสอนและต้องฝึกฝนต่อเมื่อรู้วิธีอ่าน คือ อ่านเป็นแล้ว การเห็นคุณค่าของการอ่านแลความอยากอ่านก็จะเกิดตามมานั่นเอง การที่นักเรียนไม่สนใจอ่านหนังสือเท่าที่ควรนั้น สาเหตุประการหนึ่งน่าจะมาจากความไม่เข้าใจวิธีการอ่านและขาดการฝึกฝน หรือการอ่านที่ยังไม่เข้าถึงจุดที่จะเข้าใจ 

จากสภาพปัญหาและความสำคัญของทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้น ทำให้ครูผู้สอนพยายาม

ศึกษา หาวิธีการ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ช่วยแก้ปัญหาและส่งเสริมความรู้ความสามารถในการอ่าน และเทคนิคการอ่านเพื่อการเรียนรู้ให้ดียิ่งขึ้น  ซึ่งครูผู้สอนได้เลือกการจัดการเรียนรู้ด้วย วิธี  SQ3R ซึ่งเป็นระบบการอ่านด้วยเทคนิควิธีในการฝึกอ่านข้อความที่สั้น ๆ ก่อน แล้วค่อยอ่านข้อความที่ยาวและซับซ้อนขึ้น เห็นกระบวนการอ่านทำความเข้าใจเพื่อจับสาระสำคัญของเรื่องที่อ่าน ซึ่งจะต้องดำเนินไปเป็นขั้นเป็นตอน ดังนั้นครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย โดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการอ่าน SQ3R ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

                  2.1 วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนแกลง“วิทยสถาวร”  ในเรื่อง ของมาตรฐานและตัวชี้วัด

   2.2 ศึกษาความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ และศึกษางานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคนิคการอ่าน

SQ3R

   2.3 ปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรม เรื่อง การอ่านเพื่อการเรียนรู้ โดยออกแบบฝึกเสริม

ทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเทคนิคการอ่าน SQ3R

                  2.4 ให้หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และครูผู้มีความเชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง ในเนื้อหา ความเหมาะสมของคำถามในแบบฝึก พร้อมทั้งเสนอแนะ เพื่อปรับปรุง แก้ไข

                  2.5 ปรับปรุงนวัตกรรม แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการอ่าน SQ3R ตามคำแนะนำ

   2.6 นำแผนการจัดการเรียนรู้และนวัตกรรม เรื่อง การอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการอ่าน SQ3R

ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5 ซึ่งอาจปรับรูปแบบการสอนในรูปแบบ On-Line หรือ On-Site ให้เหมาะสมตามสถานการณ์

   2.7 บันทึกผลการเรียนรู้ของนักเรียน วัดและประเมินผล วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน

และหลังเรียน

                  2.8 ทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของนักเรียนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป

                3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

                3.1 เชิงปริมาณ 

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้อง ทั้งหมด 160 คน

ได้รับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการอ่าน SQ3R มีผลคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ขึ้นไป

                3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 4 ห้อง ทั้งหมด 160 คน

มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้  เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการอ่าน SQ3R  และสามารถนำทักษะที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


บันทึกข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement :PA)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564 ถึงวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565

PA1.pdf