ระหว่างวันที่ 18 - 31 พฤษภาคม 2563

ช่วงเวลาปรับพื้นฐานเพื่อประเมินการเข้าถึงระบบการจัดการเรียนการสอนทางไกล ระหว่างวันที่ 18 - 31 พฤษภาคม 2563

กรณีสำหรับนักเรียนที่สามารถเรียนที่บ้านได้ (Learn from home)

แนวทางปฏิบัติสำหรับครู

1) ทบทวนข้อมูลจากระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center)

2) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล

3) ศึกษาช่องทางในการเรียนที่บ้าน (Learn from home) และวิธีการใช้งาน

4) สำรวจข้อมูลนักเรียนเพื่อเตรียม ความพร้อม และช่วยเหลือในการจัด การเรียนการสอนทางไกล

5) วางแผนจัดการเรียนการสอนรายวิชาพื้นฐานและรายวิชาเพิ่มเติมตามหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีเอกสารประกอบ เช่น ใบความรู้ ใบงาน สื่อ-อุปกรณ์ แบบฝึกให้สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมตามบริบท

6) วางแผนออกแบบการจัดการเรียน การสอนออนไลน์ เช่น DEEP (Digital Education Excellence Platform) ผ่านเว็บไซต์ www.deep.go.th ประกอบด้วย แพลตฟอร์ม Google Suite for MOE และ Microsoft Teams

7) ระหว่างการเรียนการสอนทางไกล ให้ตรวจสอบการเข้าเรียนของนักเรียน รับชมการจัดการเรียนการสอนทางไกลพร้อมกับนักเรียน ให้คำปรึกษากรณีนักเรียนไม่เข้าใจในเนื้อหา สรุปผลการเรียนรู้ร่วมกัน และชี้แจงการเตรียม สื่อ-อุปกรณ์ที่ใช้ในครั้งต่อไป ในช่องทางที่นัดหมาย

7) เยี่ยมบ้านนักเรียน ให้ครบทุกคน สร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง ถึงแนวทาง การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนทางไกล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และรับ-ส่งเอกสารการเรียนสำหรับนักเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

8) สำหรับผู้ปกครองที่สามารถช่วย จัดการเรียนการสอนได้ ให้วางแผนร่วมกับผู้ปกครองจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง

1) รับการตรวจเยี่ยมบ้านจากครู

2) สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ที่บ้านตามศักยภาพและบริบทของครอบครัว

3) เตือนนักเรียนเตรียมช่องทางในการเรียนที่บ้าน (Learn from home) และรายงานตัวก่อนเรียนกับครู ผ่านช่องทาง การสื่อสารตามนัดหมาย

4) เข้าร่วมช่องทางการสื่อสารกับครู เช่น โทรศัพท์ ไลน์ (Line) เฟซบุ๊ค (Facebook) หรือช่องทางอื่น ๆ ตามนัดหมาย

6) รับ–ส่งแฟ้มงานนักเรียน ตามที่ครูนัดหมาย

7) ร่วมมือกับครูหาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

กรณีสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเรียนที่บ้านได้ ทั้ง 8 ช่องทาง

แนวทางปฏิบัติสำหรับครู

1) ทบทวนข้อมูลจากระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center)

2) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล

3) สำรวจข้อมูลนักเรียนรายบุคล ตามระดับความสามารถในการเรียนที่บ้าน และผู้ปกครองที่มีศักยภาพสามารถช่วยจัดการเรียนการสอนได้

4) เตรียมแผนการสอน เอกสารการเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และใบงานต่าง ๆ เพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอน นักเรียนเป็นรายบุคคล

5) เยี่ยมบ้านนักเรียน ให้ครบทุกคน สร้างความเข้าใจกับผู้ปกครอง ถึงแนวทาง การปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนทางไกล ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และรับ-ส่งเอกสารการเรียนสำหรับนักเรียน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

6) สำหรับผู้ปกครองที่สามารถช่วย จัดการเรียนการสอนได้ ให้วางแผนร่วมกับผู้ปกครองจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง

1) รับการตรวจเยี่ยมบ้านจากครู

2) สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ที่บ้านตามศักยภาพและบริบทของครอบครัว

3) เตือนนักเรียนในการเรียน ทำการบ้านหรือใบงานตามที่ ครูนัดหมาย

4) เข้าร่วมช่องทางการสื่อสารกับครู เช่น โทรศัพท์ ไลน์ (Line) เฟซบุ๊ค (Facebook) หรือช่องทางอื่น ๆ ตามนัดหมาย

5) รับ–ส่งแฟ้มงานนักเรียน ตามที่ ครูนัดหมาย

6) ร่วมมือกับครูหาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

7) ร่วมกับครูแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงการจัดการเรียนการสอน

หมายเหตุ : การทวนสอบข้อมูลนักเรียนและครอบครัว จะช่วยให้ครูสามารถวางแผนการจัดการเรียนการสอนในช่วงเวลาต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดมาตรการอื่นที่จะช่วยครูในการทวนสอบข้อมูลดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย

อนึ่ง ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษามีความพร้อมในการใช้เทคโนโลยีสูง ครูผู้สอนควรออกแบบข้อสอบที่ป้องกันการลอกเลียนจากอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนได้ เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง