กรณีจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้

กรณีจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้

กรณีที่ได้รับการอนุญาตจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ในจังหวัด ในการจัดการเรียนการสอน แบบปกติเรียนที่โรงเรียนโดยให้ปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางการดำเนินงานเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ดังนั้น หากมีจำนวนนักเรียนน้อยและมีพื้นที่เพียงพอ ก็จัดการเรียนการสอนตามปกติได้

หากจำนวนนักเรียนมาก พื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนแบบ Social distancing / New Normal ก็ต้องจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง การเรียนที่โรงเรียน (ON-SITE) การเรียนผ่านทีวี (ON-AIR) และการเรียนผ่านออนไลน์ (ONLINE) ให้นักเรียนสลับกันมาเรียน สลับกันมาสอบที่โรงเรียนได้ โดยครูต้องคำนึงถึงการจัดทำข้อสอบคู่ขนาน (Parallel examination) เพื่อความเป็นธรรมของผู้เข้าสอบ

กรณีสำหรับนักเรียนที่สามารถเรียนที่บ้านได้ (Learn from home)

แนวทางปฏิบัติสำหรับครู

1) ทบทวนข้อมูลจากระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center)

2) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล

3) ศึกษาช่องทางในการเรียนที่บ้าน (Learn from home) และวิธีการใช้งาน

4) สำรวจข้อมูลนักเรียนเพื่อเตรียม ความพร้อม วางแผนการจัดการเรียน การสอนทางไกล ผ่านช่องทางเรียนที่บ้าน และแบ่งกลุ่มสลับนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียน

5) ศึกษารายวิชาการเรียนการสอนทางไกล ในวิชาพื้นฐานและวิชาเพิ่มเติมให้สอดคล้อง กับหลักสูตรสถานศึกษา ตามตารางออกอากาศ รายวิชาที่ไม่มีในตารางออกอากาศ ให้ครูออกแบบการเรียน ที่เหมาะสมกับบริบทของนักเรียน

6) จัดทำเอกสารใบงาน ประกอบการจัด การเรียนการสอนสำหรับนักเรียน เป็นรายบุคคล

7) ออกแบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เช่น DEEP (Digital Education Excellence Platform) ผ่านเว็บไซต์ www.deep.go.th ด้วย 2 แพลตฟอร์ม G Suite for MOE และ Microsoft Teams เป็นต้น

8) ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อพูดคุย ให้คำปรึกษาผู้ปกครอง และรับ-ส่งเอกสารการจัดการเรียนรู้ ใบงาน อื่น ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

9) สำหรับผู้ปกครองที่สามารถช่วยจัด การเรียนการสอนได้ ให้ครูวางแผนร่วมกับผู้ปกครอง ในการจัดการเรียน การสอน การส่งงาน และการบ้าน

10) วิเคราะห์ผลการจัดการเรียนการสอนทางไกล ผลจากการเยี่ยมบ้าน และปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำมาทบทวน ปรับปรุงแก้ไขตามบริบทของนักเรียนรายบุคคล

11) ออกแบบการวัดและประเมินผล การเรียน และร่วมกับผู้ปกครองประเมินผลการเรียนตามบริบทนักเรียนรายบุคคล

12) ร่วมมือกับผู้ปกครอง หาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง

1) รับการตรวจเยี่ยมบ้านจากครู

2) สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ที่บ้านตามศักยภาพและบริบทของครอบครัว

3) เตือนนักเรียนเตรียมช่องทางในการเรียนที่บ้าน (Learn from home) และรายงานตัวก่อนเรียนกับครู ผ่านช่องทาง การสื่อสารตามนัดหมาย

4) เข้าร่วมช่องทางการสื่อสารกับครู เช่น โทรศัพท์ ไลน์ (Line) เฟซบุ๊ค (Facebook) หรือช่องทางอื่น ๆ ตามนัดหมาย

5) ตรวจสอบ ติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน และรับ-ส่งแฟ้มงานนักเรียน ตามการนัดหมาย

6) ร่วมกับครูประเมินผลการเรียนของนักเรียน

7) ร่วมมือกับครูหาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

กรณีสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถเรียนที่บ้านได้ ทั้ง 8 ช่องทาง

แนวทางปฏิบัติสำหรับครู

1) ทบทวนข้อมูลจากระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center)

2) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล

3) สำรวจข้อมูลนักเรียนเพื่อเตรียม ความพร้อม วางแผนการจัดการเรียนรู้ ที่บ้าน และแบ่งกลุ่มสลับนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียน

4) จัดให้นักเรียน มาเรียนที่โรงเรียน โดยต้องปฏิบัติตาม แบบ Social distancing กรณีที่นักเรียนสลับกันมาเรียนที่โรงเรียน ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนเป็นรายบุคคล

5) ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อพูดคุย ให้คำปรึกษาผู้ปกครอง และรับ-ส่งเอกสารการจัดการเรียนรู้ ใบงาน อื่น ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง

6) สำหรับผู้ปกครองที่สามารถช่วยจัด การเรียนการสอนได้ ให้ครูวางแผนร่วมกับผู้ปกครอง ในการจัดการเรียนการสอน การส่งงาน และการบ้าน

7) วิเคราะห์ผลการจัดการเรียนการสอนทางไกล ผลจากการเยี่ยมบ้านและปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำมาทบทวน ปรับปรุงแก้ไขตามบริบทของนักเรียนรายบุคคล

8) ออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนและร่วมกับผู้ปกครองประเมินผล การเรียนตามบริบทนักเรียนรายบุคคล

9) ร่วมมือกับผู้ปกครอง หาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน

แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง

1) รับการตรวจเยี่ยมบ้านจากครู

2) สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ที่บ้านตามศักยภาพและบริบทของครอบครัว

3) เข้าร่วมช่องทางการสื่อสาร กับครู ตามนัดหมาย

4) เตือนนักเรียนในการเรียน ทำการบ้านหรือใบงานตามที่ ครูนัดหมาย

5) รับ–ส่งแฟ้มงานนักเรียน และสื่อสารกับครูตามการนัดหมาย

6) ร่วมกับครูประเมินผลการเรียนของนักเรียน

7) ร่วมมือกับครูหาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน