กรณีจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้
กรณีจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้
กรณีที่ได้รับการอนุญาตจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ในจังหวัด ในการจัดการเรียนการสอน แบบปกติเรียนที่โรงเรียนโดยให้ปฏิบัติตามมาตรการและแนวทางการดำเนินงานเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ดังนั้น หากมีจำนวนนักเรียนน้อยและมีพื้นที่เพียงพอ ก็จัดการเรียนการสอนตามปกติได้
หากจำนวนนักเรียนมาก พื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับการเรียนแบบ Social distancing / New Normal ก็ต้องจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่าง การเรียนที่โรงเรียน (ON-SITE) การเรียนผ่านทีวี (ON-AIR) และการเรียนผ่านออนไลน์ (ONLINE) ให้นักเรียนสลับกันมาเรียน สลับกันมาสอบที่โรงเรียนได้ โดยครูต้องคำนึงถึงการจัดทำข้อสอบคู่ขนาน (Parallel examination) เพื่อความเป็นธรรมของผู้เข้าสอบ
กรณีสำหรับนักเรียนที่สามารถเรียนที่บ้านได้ (Learn from home)
แนวทางปฏิบัติสำหรับครู
1) ทบทวนข้อมูลจากระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center)
2) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล
3) ดาวน์โหลด ศึกษาแผนการสอน เตรียมเอกสารการเรียนรู้ ใบงานต่าง ๆ สำหรับนักเรียน และศึกษาการเรียนการสอนล่วงหน้าในเว็บไซต์ของ DLTV (www.dltv.ac.th)
4) ศึกษาช่องทางในการเรียนที่บ้าน
(Learn from home) และวิธีการใช้งาน
5) สำรวจข้อมูลนักเรียนเพื่อเตรียม ความพร้อม วางแผนการจัดการเรียน การสอนทางไกล ผ่านช่องทางเรียนที่บ้าน และแบ่งกลุ่มสลับนักเรียนมาเรียนที่โรงเรียน
6) ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อพูดคุย ให้คำปรึกษาผู้ปกครอง และรับ-ส่งเอกสารการจัดการเรียนรู้ ใบงาน อื่น ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
7) สำหรับผู้ปกครองที่สามารถช่วยจัด การเรียนการสอนได้ ให้ครูวางแผนร่วมกับผู้ปกครอง ในการจัดการเรียน การสอน การส่งงาน และการบ้าน
8) วิเคราะห์ผลการจัดการเรียนการสอนทางไกล ผลจากการเยี่ยมบ้านและปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำมาทบทวน ปรับปรุงแก้ไขตามบริบทของนักเรียนรายบุคคล
9) ออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนและร่วมกับผู้ปกครองประเมินผล การเรียนตามบริบทนักเรียนรายบุคคล
10) ร่วมมือกับผู้ปกครอง หาแนวทางแก้ไข การจัดการเรียนรู้ของนักเรียน
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง
1) รับการตรวจเยี่ยมบ้านจากครู
2) สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ที่บ้านตามศักยภาพและบริบทของครอบครัว
3) กระตุ้นนักเรียนเตรียมช่องทางในการเรียนที่บ้าน (Learn from home) เอกสารการเรียนรู้ ใบงานต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ของนักเรียน และรายงานตัวก่อนเรียนกับครู ผ่านช่องทาง การสื่อสารตามนัดหมาย
4) เข้าร่วมช่องทางการสื่อสารกับครู เช่น โทรศัพท์ ไลน์ (Line) เฟซบุ๊ค (Facebook) หรือช่องทางอื่น ๆ ตามนัดหมาย
5) ตรวจสอบ ติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน และรับ-ส่งแฟ้มงานนักเรียน ตามการนัดหมาย
6) ร่วมกับครูประเมินผลการเรียนของนักเรียน
7) ร่วมมือกับครูหาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน
นักเรียนที่ไม่สามารถเรียนที่บ้านได้ ทั้ง 7 ช่องทาง
แนวทางปฏิบัติสำหรับครู
1) ทบทวนข้อมูลจากระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนและระบบจัดเก็บข้อมูลนักเรียนรายบุคคล (Data Management Center)
2) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนการสอนทางไกล
3) ดาวน์โหลด ศึกษาแผนการสอน เตรียมเอกสารการเรียนรู้ ใบงานต่าง ๆ สำหรับนักเรียน และศึกษาการเรียนการสอนล่วงหน้าในเว็บไซต์ของ DLTV (www.dltv.ac.th) เพื่อวางแผนการเรียนรู้ ที่เหมาะสม สำหรับนักเรียนที่เรียนที่บ้าน
4) จัดให้นักเรียน มาเรียนที่โรงเรียน โดยต้องปฏิบัติตาม แบบ Social distancing กรณีที่นักเรียนสลับกันมาเรียนที่โรงเรียน ครูต้องวางแผนการจัดการเรียนการสอนของนักเรียนเป็นรายบุคคล
5) ออกเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อพูดคุย ให้คำปรึกษาผู้ปกครอง และรับ-ส่งเอกสารการจัดการเรียนรู้ ใบงาน อื่น ๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
6) สำหรับผู้ปกครองที่สามารถช่วยจัด การเรียนการสอนได้ ให้ครูวางแผนร่วมกับผู้ปกครอง ในการจัดการเรียนการสอน การส่งงาน และการบ้าน
8) วิเคราะห์ผลการจัดการเรียนการสอนทางไกล ผลจากการเยี่ยมบ้านและปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำมาทบทวน ปรับปรุงแก้ไขตามบริบทของนักเรียนรายบุคคล
9) ออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนและร่วมกับผู้ปกครองประเมินผล การเรียนตามบริบทนักเรียนรายบุคคล
10) ร่วมมือกับผู้ปกครอง หาแนวทางแก้ไข การจัดการเรียนรู้ของนักเรียน
แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ปกครอง
1) รับการตรวจเยี่ยมบ้านจากครู
2) สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ ที่บ้านตามศักยภาพและบริบทของครอบครัว
3) เข้าร่วมช่องทางการสื่อสาร กับครู ตามนัดหมาย
4) กระตุ้นนักเรียนในการเรียน ทำการบ้านหรือใบงานตามที่ครูนัดหมาย
5) รับ–ส่งแฟ้มงานนักเรียน และสื่อสารกับครูตามการนัดหมาย
6) ร่วมกับครูประเมินผลการเรียนของนักเรียน
7) ร่วมมือกับครูหาแนวทางแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของนักเรียน