ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านทุ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอนศรีชุม

แหล่งท่องเที่ยวชุมชน

ประเภท แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านทุ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอนศรีชุม

“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” พระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9

ชุมชนบ้านทุ่ง หมู่ที่ 4 ตำบลดอนศรีชุม อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ได้น้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 มาสู่การปฏิบัติ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ

จากความสำคัญดังกล่าว ได้สร้างจุดเปลี่ยนให้คนในชุมชน สนใจการทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้างและหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์ ลด ละ เลิกสารเคมี ทำการเกษตรด้วยกรรมวิธีทางธรรมชาติ โดยที่พื้นที่ที่ทำเกษตรนั้น ต้องไม่มีสารพิษ หรือสารเคมีตกค้าง หลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของสารเคมีทั้งทางดิน ทางน้ำ และทางอากาศ เพื่อความสมบูรณ์ทางชีวภาพในระบบนิเวศน์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามสมดุลของธรรมชาติให้มากที่สุด โดยไม่ใช้สารเคมีสังเคราะห์

อีกทั้งยังมีการส่งเสริมอาชีพ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบมีส่วนร่วม ภายใต้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เกิดจากความร่วมแรง ร่วมใจและจิตสำนึกของคนใน ร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันแก้ไขปัญหา

คนในชุมชน ได้ดำเนินชีวิตตามแบบวิถีพอเพียง ปลูกพืชผัก อินทรีย์ ไว้อุปโภค บริโภค ภายในครัวเรือน เหลือ แจกจ่าย แปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายต่อไปดำเนินชีวิตวิถีพอเพียง ทำการเกษตรแบบผสมผสานเป็นระบบการเกษตรที่มีการเพาะปลูกพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกันภายใต้การเกื้อกูล เอื้อประโยชน์ต่อกันและกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม

มีการปลูกพืชโดยไม่ใช้สารเคมี เน้นการทำเกษตรแบบพอเพียง แปรรูปผลผลิตในสวนให้ก่อเกิดรายได้ เช่น การทำชาจากผักเชียงดา โดยผักเชียงดา มีสรรพคุณเด่นในการลดน้ำตาลในเลือด เพราะถูกใช้เป็นยารักษาเบาหวานในแถบประเทศเอเชียมานานหลายร้อยปีแล้ว อีกทั้งผักเชียงดายังมีรสชาติอร่อย สามารถนำไปทำเมนูอาหารได้หลายอย่าง รวมทั้งยังมีการนำมาแปรรูปเป็นชาเชียงดา เป็นแคปซูลเชียงดา จัดจำหน่ายในรูปผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพอีกด้วย

ทำให้ในปีงบประมาณ 2565 ชุมชนบ้านทุ่ง ได้รับรางวัล ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เป็นแหล่งศึกษาดูงาน แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวิถีพอเพียง

ข้อมูล เนื้อหา เรียบเรียง โดย นางวันทนา โยวัง

ภาพถ่าย/ ภาพประกอบ โดย นางวันทนา โยวัง