หัตถกรรมล้านนา

จากภูมิปัญญาสู่การถ่ายทอด

นางสุพรรณี ปัญญาโสภา

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี

ป้าพรรณ หรือ นางสุพรรณี ปัญญาโสภา ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมพื้นเมือง การประดิษฐ์ โคมล้านนา ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 211 หมู่ 3 ตำบลดอนศรีชุม อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย อดีตนักศึกษา กศน. อำเภอดอกคำใต้

จุดเริ่มต้นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมพื้นเมือง การประดิษฐ์โคมล้านนา มาจากการเป็นผู้ช่วยของพ่ออุ้ย (ตา) ในอดีต ก่อให้เกิดการเริ่มต้นสนใจใคร่รู้อย่างจริงจัง ย้อนถึงความทรงจำในวัยเด็กที่มีความคุ้นเคยกับโคมล้านนามานาน เพราะได้เห็นตาทำมาก่อน ตั้งแต่ขั้นตอนการเหลาไม้ หักไม้ ตัดกระดาษ จึงได้ขันอาสาหยิบจับช่วยเหลือ จึงเกิดการซึมซับ ครูพักลักจำ เรียนรู้จากการสังเกต ซึมซับทุกขั้นตอนจากตาผู้ซึ่งมีทักษะในการทำโคมล้านนาซึ่งชาวล้านนานิยมนำมาใช้ในงานพิธีกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะในงานประเพณียี่เป็ง หรือ ประเพณีลอยกระทง โดยในอดีตการทำโคมล้านนา จะทำไว้ใช้ในครัวเรือน แจกจ่ายให้แก่ญาติ พี่น้อง บ้านใกล้เรือนเคียง เพื่อไว้ใช้ในประเพณีลอยกระทง เป็นการให้แสงสว่างในยามค่ำคืน และยังถวายเป็นพุทธบูชาในประเพณีวันสำคัญ

จากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่สืบทอดต่อกันมาจาก รุ่นสู่รุ่น นางสุพรรณี ปัญญาโสภา ผู้ที่มีทักษะด้านงานหัตถกรรมพื้นเมือง การประดิษฐ์โคมล้านนา เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงได้เข้าร่วมอบรมหลักสูตรการประดิษฐ์ต่างๆ ที่ภาครัฐให้การสนับสนุน เพื่อเป็นการอนุรักษ์ไว้ซึ่งงานหัตถกรรมพื้นเมือง ไม่ว่าจะเป็น โครงการอบรมการประดิษฐ์โคมล้านนา เมื่อสิ้นสุดก็ได้นำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนาให้เกิดความเชี่ยวชาญ และประกอบกับเป็นผู้ที่มีความชอบในด้านนี้อยู่เป็นทุนเดิม จึงได้พัฒนา ฝึกฝน ต่อยอดความรู้ จนสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับมาแก่บุคคลที่สนใจ เป็นวิทยากรให้แก่หลายหน่วยงาน

โคมล้านนา ถูกนำมาใช้ ประดับ ตกแต่ง เพื่อความสวยงาม อีกทั้งยังเป็นการเสริมสิริมงคลให้แก่เจ้าของบ้าน โดยชาวล้านนาเชื่อว่า การจุดโคมไฟ จะนำมาซึ่งความเจริญและความสุข แก่คนภายในครอบครัว และมีความเชื่อว่า เมื่อเกิดมาชาติหน้าจะเป็นบุคคลที่มีความฉลาดเฉลียว เปรียบดั่งความสว่าง ไสวของแสงโคม มีการประดิษฐ์รูปทรงที่หลากหลาย แตกต่างกัน มีลวดลายเฉพาะที่ถูกออกแบบขึ้นมาเอง เป็นลวดลายพื้นบ้านเฉพาะพื้นที่เท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนใคร มีความแตกต่างเฉพาะตัว

จากการฝึกฝน ปรับปรุง พัฒนา ของตัวภูมิปัญญาได้จึงคิดค้น สร้างสรรค์การประดิษฐ์โคมล้านนาจะมีการประดิษฐ์รูปทรงที่หลากหลาย แตกต่างกัน มีลวดลายเฉพาะที่ถูกออกแบบขึ้นมาเอง เป็นลวดลายพื้นบ้านเฉพาะพื้นที่เท่านั้น ซึ่งไม่เหมือนใคร มีความแตกต่างเฉพาะตัว และในการประดิษฐ์กระเป๋าผ้าด้นมือได้มีการคิดค้นรูปแบบใหม่ๆให้มีความทันสมัย ใช้งานได้หลากหลาย ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน

มีการเผยแพร่ โดยการอบรม จัดกิจกรรม กลุ่มสนใจ กลุ่มชั้นเรียน ให้กับบุคลในชุมชน หรือแก่บุคคลที่มีความสนใจในด้านหัตถกรรมการประดิษฐ์โคมล้านนา กศน.อำเภอดอกคำใต้ เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงดำเนินการจัดทำหลักสูตรวิชาชีพ การทำโคมล้านนา จำนวน 35 ชั่วโมง ซึ่งมีขอบข่ายเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการทำโคมล้านนา การบริหารจัดการและการตลาด และคุณธรรม จริยธรรมในการประกอบอาชีพ เพื่อนำไปใช้ในการจัดการศึกษาวิชาชีพให้กับผู้เรียน โดยศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และชุมชน พร้อมทั้งเพื่อเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งพัฒนาคนให้ได้รับการศึกษา เพื่อพัฒนาอาชีพและการมีงานทำ สามารถสร้างรายได้อาชีพให้มีความมั่นคง สอดคล้องกับศักยภาพ พัฒนาตนเอง สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อมและมีความพร้อมที่จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นได้พัฒนาภูมิปัญญาให้เป็นนวัตกรรม เพิ่มคุณค่า (มูลค่า) และ ความภาคภูมิใจ โดยเริ่มแรกจากการเป็นผู้ที่มีความสนใจ ใคร่รู้ในเรื่องการประดิษฐ์โคมล้านนา จึงเข้าร่วมฝึกอบรมจากหน่วยงานราชการต่างๆ และเมื่อสำเร็จ เสร็จสิ้นจากการฝึกอบรม ตัวภูมิปัญญาไม่ได้หยุดนิ่งเพียงเท่านั้นจึงได้คิดค้น พัฒนาต่อยอด ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมก่อให้เกิดโคมล้านนา ในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย สะท้อนถึง เอกลักษณ์เฉพาะตัว แล้วนำความรู้ที่สั่งสมมาส่งต่อให้ความรู้แก่บุคคลอื่น ที่สนใจต่อไป

ชื่อภูมิปัญญา นางสุพรรณี ปัญญาโสภา

ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี

ที่อยู่ปัจจุบัน 211 ม. 3 ต.ดอนศรีชุม อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา 56120

โทรศัพท์ 086-1828533

พิกัดทางภูมิศาสตร์ ค่า X: 605008.381E ค่า Y: 2119373.262N

ข้อมูล เนื้อหา เรียบเรียง โดย นางวันทนา โยวัง

ภาพถ่าย/ ภาพประกอบ โดย นางวันทนา โยวัง

***ขอบคุณ Clip VDO จาก YouTube : ไทยศิลป