อาชีพท้องถิ่น

ตำบลคู้ลำพัน มีพื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตร (ทำนา) การปลูกข้าว เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม สันนิษฐานว่าเริ่มจากการที่มนุษย์รู้จักสังเกตการเจริญเติบโตของข้าวในธรรมชาติ ต่อมาจึงนำเมล็ดข้าวที่ได้มาเพาะปลูกใกล้บริเวณที่อยู่อาศัย ในประเทศไทยพบการปลูกข้าวด้วยวิธีการปักดำมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และพัฒนาวิธีการปลูกเรื่อยมาตามลำดับ จนปัจจุบันมีวิธีการปลูกข้าวที่หลากหลายแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ

วิถีการทำนาของคนไทยมีพัฒนาการมาตามลำดับ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปรากฎว่ามีการทำนาหลากหลายวิธี และบางวิธีก็ยังคงใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ การทำนาไร่เป็นวิธีการปลูกข้าวแบบดัง้เดิมบนเขา หรือตามป่าดงโดยอาศัยน้ำฝนมีขั้นตอนเหมือนการปลูกข้าวไร่ในปัจจุบันตั้งแต่การเลือกพื้นที่ตามที่ลาดเชิงเขา หรือป่าดงซึ้นพื้นดินมีอินทรียวัตถุที่เกิดจากการทับถมของใบไม้และซากพืช จึงทำหลุมและหยอดเมล็ดข้าวลงในดินก่อนที่ฤดูฝนมาถึง ใช้พันธุ์ข้าวที่มีอายุเก็บเกี่ยวได้พอดีกับสิ้นฤดูชาวไร่จะเก็บรักษาข้าวที่ได้ไว้บริโภคในครัวเรือน เมื่อปลูกต่อเนื่องจะทำให้ดินจืดชาวไร่ส่วนมากจึงใช้พื้นที่ปลูกข้าวเพียง 2–3 ปี และหาพื้นที่ปลูกใหม่ ซึ่งเป็นวิธีการทำไร่เลื่อนลอยในปัจจุบัน

การทำนาน้ำฝน เป็นวิธีการทำนาในที่ดอนและที่ราบโดยอาศัยน้ำฝนเช่นเดียวกับการทำนาไร่ เริ่มจากการตัดโค่นต้นไม้และขุดรากไม้ออกจากนั้นจึงทำคันนาโดยแบ่งพื้นที่เป็นแปลงๆ สำหรับกักเก็บน้ำฝนไว้หล่อเลี้ยงต้นข้าว เตรียมดินโดยการไถและคราดหากพื้นที่นั้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ลำห้วย หรือลำธารชาวนาจะทำลำรางเพื่อระบายน้ำเข้านาถ้าพื้นที่อยู่ใกล้ลำน้ำใหญ่มีน้ำไหลตลอดปี เมื่อเก็บเกี่ยวข้าวนาปีแล้วชาวนาจะปลูกข้าวอีกครั้งหนึ่งโดยทดน้ำเข้านา การทำนาครั้งที่สองเรียกว่า การทำนาปรัง

การทำนาเมือง เป็นการทำนาอาศัยน้ำฝนในที่ราบลุ่มที่อาจจะประสบสภาพน้ำท่วมได้ การปลูกจะใช้การหว่านข้าวและมีขั้นตอนคล้ายคลึงกลับกับวิธีการปลูกข้าวนาน้ำลึกและข้าวขึ้นน้ำในปัจจุบันโดยเตรียมดินเมื่อเข้าฤดูฝนเมื่อนาได้รับน้ำฝนเพียงพอดินอ่อนตัว จึงไถและหว่านเมล็ดข้าวแห้งลงในนาพันธุ์ข้าวที่ใช้ทำนาเมืองเป็นพันธุ์ข้าวที่เจริญเติบโตเร็ว