ศิลปวัฒนธรรม

ศิลปวัฒนธรรม

ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณี

1. ขนบธรรมเนียมประเพณีมีส่วนในการสนับสนุนให้ชาติบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองในทรรศนะที่ดีและถูกต้อง

2. ชาติไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ การมีขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นของตนเองเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจอย่างยิ่ง

เพราะเป็นตัวเชื่อมความรู้สึกของชุมชนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่วนมากจะเป็นเรื่องที่แสดงอดีตและปัจจุบันของ

สังคมไทย

3. ขนบธรรมเนียมประเพณีเป็นศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ แสดงถึงความเป็นมาอันเกิดจากความเจริญของสังคมมาช้านาน

จึงควรภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของตนเอง

4. ขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นจะเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา การรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเป็น

การสืบทอดพระพุทธศาสนา

5. ความเชื่อ เป็นสิ่งที่ยอมรับนับถือมาในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นแนวทางการปฏิบัติตนของคนในท้องถิ่น ความเชื่อจะทำให้

คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

6. เป็นสิ่งควบคุมการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคม ทำให้คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้ เราประพฤติปฏิบัติตามกฎข้อตกลงหรือ

ระเบียบที่สังคมนั้นๆ ได้วางไว้

7. เป็นเครื่องมือผสมผสานความเชื่อต่างๆ เข้าด้วยกัน เช่น ประเพณีแต่งงานเป็นประเพณีที่รวมพิธีกรรมอันเนื่องมาจากความเชื่อ

หลายประการจึงผสมผสานกันได้อย่างเหมาะสมกลมกลืนกับวิถีชีวิต

ประเภทของศิลปวัฒนธรรม

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้รวบรวมจัดศิลปวัฒนธรรมเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาค้นคว้าและทำความเข้าใจ ดังนี้

1. หมวดขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อ

2. หมวดภาษาและวรรณกรรม

3. หมวดศิลปกรรมและโบราณคดี

4. หมวดการละเล่น ดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจ

5. หมวดชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการ

ขนบธรรมเนียมประเพณี

ขนบธรรมเนียมประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่คนกลุ่มหนึ่งกำหนดถือเป็นแบบแผนกันมาอย่างเดียว ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาช้านานจนเป็นลักษณะเฉพาะของคนกลุ่มนั้นและยอมรับในสังคมมาจนถึงปัจจุบัน จำแนกออกได้ดังนี้

1. จารีตประเพณี ได้แก่ ประเพณีที่เกี่ยวกับศีลธรรมซึ่งมีค่าแก่ส่วนรวม เช่น ลูกต้องเลี้ยงดูพ่อแม่เมื่อท่านแก่เฒ่า ถ้าไม่เลี้ยงดูถือ

ว่าเนรคุณหรืออกตัญญูต่อพ่อแม่

2. ขนบประเพณี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ระเบียบประเพณี ขนบ แปลว่าระเบียบแบบแผน เป็นประเพณีที่วางระเบียบพิธีการ

ไว้ชัดแจ้ง หรือรู้กันเองและไม่ได้วางระเบียบแบบแผนไว้ว่าควรประพฤติ ปฏิบัติอย่างไร ได้แก่ บวชนาคแต่งงาน การตาย

รวมทั้งเทศกาลต่างๆ เช่น ตรุษ สารท ทำบุญสวดมนต์เลี้ยงพระ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การไหว้ครู เป็นต้น

3. ธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญไม่มีผิดถูกเหมือนจารีตประเพณี หรือไม่มีระเบียบแบบแผน

อย่างขนบประเพณี ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็ไม่ผิดอย่างไร แต่อาจถูกตำหนิว่าเป็นคนขาดการศึกษาหรือไม่มีมารยาท เรื่องของขนบ

ธรรมเนียมประเพณี สรุปได้ว่า ขนบธรรมเนียม เป็นการปฏิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคลในสังคมเดียวกัน ขนบธรรมเนียมนี้

เปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามกาลเวลาหรือความนิยม ส่วนประเพณี เป็นสิ่งที่สังคมยึดถือเป็นเรื่องของส่วนรวมที่ได้กำหนดขึ้น

เป็นแบบแผน และปฏิบัติสืบทอดต่ออันมาไม่ขาดสายเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าขนบธรรมเนียม

ปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของทุกชีวิตอย่างมากด้วยระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ศิลปวัฒนธรรมทั้งด้านดี และด้านที่ยังไม่ได้พัฒนาให้เหมาะสมจากทั่วทุกมุมโลก ต่างหลั่งไหลเข้าสู่วงจรวิถีชีวิตของคนไทยอย่างขาดระบบและขาดขั้นตอน การรับที่มีแบบแผนเพียงพอ ยังผลให้เยาวชนของเราเกือบทั่วประเทศพากันนิยมชมชอบกับความแปลกใหม่ของวัฒนธรรมต่างชาติ และบางคนถึงกับดูหมิ่นหรือเกิดความอับอายในศิลปวัฒนธรรมของตนเอง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าห่วงใย เพราะการสูญเสียความเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรมของคนในชาติไปอย่างสิ้นเชิงนั้น นำไปสู่การล่มสลายของชาติ วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตที่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด การเปลี่ยนแปลงในอดีตนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า มีการปรับปรน จนผสมกลมกลืนเป็นวัฒนธรรมเดียว แทบจะหารอยต่อระหว่างวัฒนธรรมเก่ากับวัฒนธรรมใหม่ไม่ได้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงแต่เดิมนั้นไม่ได้มีความขัดแย้งกันดังที่เป็นอยู่ ในปัจจุบันการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดังกล่าว จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เห็นคุณค่าของเก่าและของใหม่ มีการสืบทอดคุณค่าดั้งเดิม ด้วยรูปแบบใหม่หลากหลายวิธี ซึ่งต้องไม่ทำลายคุณค่าเดิมแต่กลับทำให้เพิ่มคุณค่าขึ้น หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้ทำให้วัฒนธรรมเดิมนั้นลดคุณค่าลงไป ในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมาอิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติได้แผ่ขยายไปทั่วโลก แม้จะเป็นแผ่ขยายของเทคนิควิทยาการสมัยใหม่ และเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี อันจะนำไปสู่อนาคตที่เป็นสังคมแห่งข้อมูลข่าวสารก็ตาม มีส่วนทำให้วัฒนธรรมไทย ค่านิยมของคนไทยต้องปรับเปลี่ยนสภาพตามไป ทำให้ขาดความเข้าใจและความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมของไทยไปด้วย การหลงชื่นชมในวัฒนธรรมต่างชาติเช่นนี้เป็นต้นเหตุให้เกิดการเสื่อมสลายของศิลปวัฒนธรรมไทยไปในที่สุด (http://nongbua.kru.ac.th/index.php/th/2013-07-24-02-19-10 )