ภูมิปัญญาด้านการจักสานต้นคลุ้ม

ภูมิปัญญาด้านการจักสานต้นคลุ้ม

ธรรมชาติเป็นสิ่งที่มีมาก่อนมนุษย์ เมื่อมนุษย์เข้ามาอยู่อาศัยอยู่ร่วมกับธรรมชาติ จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตการปรับตัวของมนุษย์ เพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมธรรมชาติ จึงก่อให้เกิดภูมิปัญญาต่างๆ เช่นการนำสมุนไพรมาใช้ในการป้องกันและรักษาโรคการสร้างที่อยู่อาศัย ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง หลักความรู้อันเกิดจากความสามารถประสบการณ์ และความเฉลียวฉลาดในการประดิษฐ์คิดค้นของคนในท้องถิ่นโดยเป็นผลมาจากการสั่งสมประสบการณ์ที่ผ่านกระบานการเรียนรู้เลือกสรรพัฒนาและถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษจนถึงคนรุ่นปัจจุบันเพื่อใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

นางสาวสมจิตร นาคราช เกิดวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2512 ปัจจุบันอายุ 52 ปี อยู่บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 3 ตำบล คลองใหญ่อำเภอ แหลมงอบ จังหวัดตราด รหัสไปรษณีย์ 23120จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปัจจุบันอาชีพ ทำสวน มีประการณ์ในการจักสานต้นคลุ้ม 20 ปีกล่าวว่าต้นคลุ้มหรือ ต้นตะคลุ้มเป็นพืชยืนต้น จำพวกเดียวกับต้นคล้า แต่ต่างที่ต้นคล้าขึ้นอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เป็นพืชไม้เนื้ออ่อน มักนำต้นคล้ามาสานเป็นเสื่อ ส่วนต้นคลุ้มขึ้นตามเนินเขาเป็นพืชไม้เนื้อแข็งจึงนิยมนำมาสานต้นคลุ้มมีผิวเรียบ ไม่มีข้อหรือปล้อง จะแตกออกเป็นกิ่งตรงปลายต้น ลักษณะของใบคล้ายใบกล้วย แต่มีขนาดเล็กกว่าผลของต้นคลุ้มมีขนาดเล็ก เป็นพวง ดอกมีขนาดเล็กสีขาวและวิธีการสังเกตต้นคลุ้มให้ดูจากบริเวณเปลือกที่โคนต้นหากเปลือกนั้นลอกได้ สามารถนำมาใช้ในการสานได้

ต้นคลุ้ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Donax canniformis (G. Forest) K.Schum เป็นพืชยืนต้นไม้เนื้ออ่อนเจริญเติบโตขึ้นเป็นพุ่มหรือเป็นกอ และมีอายุยืนหลายปีมีถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติในที่เป็นน้ำหรือเป็นโคลนตามริมคลองริมสระหรือตามลำธารตามหุบเขาในพื้นที่ภูเขาหินปูนภูมิประเทศแบบคลาสต์ที่มีความชุ่มชื้นที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 800 เมตร ลำต้นมีทั้งแบบตั้งตรงและเป็นแบบเลื้อย มีเหง้าหรือหัวอยู่ใต้ดินสามารถแตกหน่อได้ ลำต้นกลมเป็นสีเขียวเข้มออกเป็นข้อ ๆ และมีข้อปล้องยาวหากรวมทั้งก้านและใบจะมีความสูงประมาณ 1-2 เมตรบ้างว่าสูงประมาณ 2-4 เมตรขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ โดยคนสมัยก่อนมักนำมาใช้จักสานเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น เสื่อ กระบุงกระด้ง หรือทำเชือกมัดสิ่งของในชีวิตประจำวัน ต้นคลุ้มมีลักษณะและขนาดคล้ายกับต้นไผ่ ไม่มีปล้องหรือแขนง ตามลำต้น มีผิวเรียบ มีความเหนียวดัดง่ายรูปทรงสวยงามและคงทนมากกว่าพืชที่ใช้จักสานชนิดอื่น(ที่มาข้อมูล : ธรรมชาติไม่มีพืชไดที่ไม่เป็นยา # หมอชีวกโกมารภัจจ์ )

การคัดเลือกต้นคลุ้ม ในการเลือกต้นคลุ้มที่จะนำมาสานเป็นผลิตภัณฑ์นั้น จะต้องเลือกต้นคลุ้มที่มีความพอดี ไม่อ่อนและแก่เกินไป การเลือกต้นคลุ้ม ที่พอดี คือ ลำต้นจะมีความยาวประมาณ 120-150 เซนติเมตร และสังเกตที่ยอดของต้นคลุ้มที่แตกกิ่งไม่น้อยกว่า 2 กิ่ง ขึ้นไปจะมีความพอดี

ขนาดและการตกแต่ง นำวัตถุดิบที่เป็นส่วนในการทำเครื่องจักสาน ที่มีอายุพอสมควร นำมาเหลาหรือเกลาให้มีขนาดตามความต้องการของชิ้นงาน

วิธีการจักตอก การจักตอกปื้น แบ่งไม้ไผ่ออกเป็นชิ้นๆตามขนาดที่ต้องการ ใช้มีดจักตอกเอาส่วนในออก (คลี่ตอก) จักในส่วนที่เหลือออกเป็นเส้นบางๆ แล้วหลาวให้เรียบร้อยตากแดดให้แห้ง การจักตอกตะแคง ใช้วิธีเดียวกันกับการจักตอกปื้นเบื้องต้น แต่การจักให้เป็นเส้นตอกจะทำการจักทางผิวเป็นเส้นเล็กกว่าตอกปื้น ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด การจักไพล ใช้วิธีเดียวกับการจักตอกตะแคง แต่การหลาวจะหลาวให้เป็นเส้นกลมแบบเท่ากัน ทำการหลาวให้เรียบร้อย แล้วนำออกตากแดด



การขึ้นรูปทรงผลิตภัณฑ์ นำวัตถุดิบที่เกลาหรือตกแต่งเสร็จแล้วนำมาทำผลิตภัณฑ์ โดยขึ้นรูปทรงขนาดตามที่ต้องการ

การสาน ทำการจักสานตอกหรือวัตถุดิบ เป็นขั้นตอนที่ยาก และต้องใช้ความละเอียดมากที่สุด เริ่มจากการก่อฐานด้านล่างด้วยเส้นตอกสองชนิด คือ ตอกยืน (ตอก-ตั้ง) ซึ่งจะมีลักษณะคอดตรงกลางต่างจากตอกทั่ว ๆ ไป และตอกนอน (ตอกสาน) ที่มีขนาดกว้างเท่ากันเท่ากันทั้งเส้นตากปกติ เหตุที่ตอกยืนมีลักษณะพิเศษ เนื่องมาจากเมื่อสานเสร็จจะได้ตะกร้าที่มีฐานเล็ก และค่อย ๆ บานขึ้นบริเวณปาก เป็นรูปทรงผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการ

การถักและพัน เมื่อสานตัวเรียบร้อยก็ถึงการรมควันโดยจะทำในวันที่ไม่มีลม ใช้ฟางพรมน้ำหมาด ๆ เป็นเชื้อเพลิงเพื่อให้เกิดควันมาก รมจนเครื่องจักสานมีสีเหลืองเท่ากันทั้งใบ แล้วนำมาเข้าส่วนประกอบหวาย มีการผูกปาก พันขา ใส่ฐานและหูหิ้ว

การรมควัน เป็นของการสานเพื่อเพิ่มความแข็งแรง สวยงาม แก่เครื่องจักสานด้วยตอกคลุ้มและหวาย ในส่วนที่ต้องการเสริมเป็นพิเศษได้แก่ ปาก ขา หู การผูกและพันด้วยหวาย จะเสริมให้เครื่องจักสานเกิดความสวยงาม

การทาน้ำมันแลคเกอร์ นำผลิตภัณฑ์ที่ทำการจักสานเสร็จ ตกแต่งให้เรียบร้อยพร้อมทาน้ำมันสน ปัจจุบันทาน้ำมันแลคเกอร์ ทำให้เกิดความสวยงาม รักษาเนื้อวัตถุดิบ ให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น เสร็จแล้วนำไปตากแดดประมาณ 2-3 ชั่วโมงสามารถนำมาใช้งานได้

ผู้ให้ข้อมูล นางสาวสมจิตร นาคราช

ผู้เรียบเรียง นางสาวสุกัญญา แสงศรี

ภาพถ่าย/ภาพประกอบงสาวสุกัญญา แสงศรีและนางสาวเนตรนภา บางเพชร