ปุ๋ยหมักชีวภาพ

ภูมิปัญญา : การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ข้อมูลพื้นฐานผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา : ชื่อ นายอนันต์ เกื้อหนุน อายุ 63 ปี อยู่บ้านเลขที่ 200/1 หมู่ที่ 3 ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร : 066-0643553

สถานที่ถ่ายทอดภูมิปัญญา : กศน.ตำบลช้างแรก ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพานน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลช้างแรก อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ปุ๋ยหมัก คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากการนำซากพืชหรือเศษเหลือจากพืชมาหมักรวมกัน และผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมเป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย ไม่แข็งกระด้าง และมีสีน้ำตาลปนดำ

วัสดุในการทำปุ๋ยหมัก

- มูลวัว (แห้ง)

- จอก แหน

- กากน้ำตาล

- สารเร่งซุปเปอร์ พด.1 (จากกรมพัฒนาที่ดิน)

วิธีสังเกตลักษณะของปุ๋ยหมักที่หมักจนสมบูรณ์แล้ว คือ

1. สีของปุ๋ยหมัก จะมีสีเข้มขึ้น แตกต่างจากกองปุ๋ยใหม่ๆ เป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ

2. อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยหมัก เมื่อเริ่มกองปุ๋ยใหม่ๆ อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจะร้อนมาก แต่เมื่อเวลา ผ่านไประยะหนึ่ง อุณหภูมิภายในกองปุ๋ยจะเย็นลง แสดงว่ากระบวนการหมักสมบูรณ์แล้ว

3. ลักษณะความอ่อนนุ่มของเศษพืช วัสดุเศษพืชจะอ่อนนุ่ม ยุ่ย ขาดออกจากกันได้ง่าย ไม่แข็ง กระด้าง และไม่เป็นก้อน

4. กลิ่นของปุ๋ยหมัก ปุ๋ยหมักที่สมบูรณ์แล้วจะมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นดิน ถ้าหากมีกลิ่นฉุน หรือกลิ่น ฟาง แสดงว่ากระบวนการย่อยสลายของปุ๋ยหมักยังไม่สมบูรณ์

5. ต้นพืชสามารถเจริญบนกองปุ๋ยหมักได้แสดงว่าปุ๋ยหมักย่อยสลายสมบูรณ์แล้ว และไม่มีสิ่งเจือปน

ที่เป็นอันตรายต่อพืช

ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อกระบวนการย่อยสลายของปุ๋ยหมัก

1. ลักษณะของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยหมัก

· ขนาดและรูปร่างของเศษวัสดุหมัก ต้องมีขนาดเล็กและมีขนาดที่เหมาะสม เพื่อสามารถถูก

ย่อย สลายเป็นปุ๋ยหมักได้ดีและเร็วกว่าวัสดุที่มีขนาดใหญ่

หมายเหตุ : - วัสดุหมักที่มีขนาดเล็กเกินไป จะมีพื้นที่ผิวมาก ทำให้การระบายอากาศในกองปุ๋ยหมักไม่ดี อากาศผ่านเข้า - ออกได้ยาก

- วัสดุหมักที่มีขนาดใหญ่เกินไป มีพื้นที่ผิวลดลง กระบวนการย่อยสลายเกิดได้ช้า

· ความสดของเศษพืช ถ้าใช้เศษพืชสดต้องนำไปตากแดดก่อนเพื่อลดความชื้น เพื่อช่วยให้กอง

ปุ๋ย หมักไม่ชื้นมากจนเกินไปและสามารถระบายอากาศได้ดี

2. การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยหมัก สามารถเติมวัตถุดิบที่เป็นแหล่ง อาหารให้แก่จุลินทรีย์ได้ เพื่อช่วยให้เกิดการย่อยสลายของปุ๋ยหมักได้ดีขึ้น เช่น มูลสัตว์ต่างๆ ยูเรีย และกาก

น้ำตาล เป็นต้น

3. ความชื้นในกองปุ๋ยหมัก ควรเติมน้ำในกองปุ๋ยหมักให้มีความช้ำนอยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการย่อยประมาณ 50 – 60 เปอร์เซ็นต์ (โดยน้ำหนัก)

โดยจะต้องไม่แฉะจนเกินไป

4. การระบายอากาศในกองปุ๋ยหมัก โดยการกลับกองปุ๋ยหมักอย่างสม่ำเสมอ เพื่อช่วยระบายอากาศ เพิ่มออกซิเจนให้แก่กองปุ๋ย และคลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากัน เพื่อช่วยกิจกรรมของจุลินทรีย์ให้มีประสิทธิภาพ



ที่มาข้อมูล : https://osd101.ldd.go.th/q/manual/compost_guide.pdf

ผู้บันทึกข้อมูล : นางสาวเสาวภา หนูเจริญ

ภาพโดย : นางสาวเสาวภา หนูเจริญ