องค์ความรู้คู่ชุมชนบ้านทุ่งคา

๑. การเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์

ชุมชนบ้านทุ่งคาได้มีการเลี้ยงไก่แบบอินทรีย์หรือการเลี้ยงไก่แบบธรรมชาติโดยมีการเลี้ยงปลวกไว้สำหรับให้ไก่กิน ซึ่งปลวกสายพันธ์นี้ชอบอาศัยอยู่กับต้นไม้ไม่มีอันตรายต่อบ้านเรือน หรือชาวบ้านเรียกว่า “ตัวเครง” และเศษผักเศษอาหารที่หาได้ในครัวเรือนและปล่อยให้หากินตามธรรมชาติลดความเครียดให้กับไก่ทำให้ไก่เจริญเติบโตได้ดี สามารถลดต้นทุนการเลี้ยง และมีคุณค่าทางโภชนาการปลอดสารพิษตกค้าง


๒. การเลี้ยงปลาดุก

เป็นการเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ให้กินปลวกลดต้นทุน ใช้การนำน้ำจากการเลี้ยงปลามาทำการเกษตรแบบผสมผสานมารดน้ำพืชผักในแปลงเดียวกันเป็นการทำการเกษตรแบบเกื้อกูลกัน


๓. การปลูกพริกไทย

พริกไทย เป็นส่วนผสมที่จำเป็นในการประกอบอาหารในท้องถิ่นจึงเป็นที่นิยมในการรับประทานสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนสามารถเก็บขาย เป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน กับการปลูกพริกไทย ๘๐ พุ่ม มีรายได้ประมาณเดือนละ ๑๒,๐๐๐ บาท สามารถทำค้างพริกไทยจากวัสดุธรรมชาติเช่นต้นไม้ เสาไม้เก่า และการปลูกแบบคอนโดคือการใช้กระถางยางล้อรถยนต์ปลูกให้สูงเพื่อเป็นการหนีน้ำ และใช้เศษพืชต้นหญ้าต่างคลุมต้นพริกไทยและใช้น้ำหมักจากจาวปลวกเป็นตัวย่อยสลายและยังเป็นปุ๋ยบำรุงดิน


๔. เทคนิคในการทำน้ำหมักชีวภาพมาใช้ในการเกษตร

การปลูกพืชแต่ละชนิดย่อมต้องการปุ๋ยหรือสารอาหารที่แตกต่างกันเช่น พืชกินใบ พืชดอก พืชผล ชุมชนจึงเกิดการเรียนรู้การทำน้ำหมักหลายๆสูตรมาใช้ในการทำเกษตรทดลองใช้และสังเกตจดบันทึกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงถือเป็นการวิจัยชาวบ้าน มีการทำน้ำหมักสูตรต่างๆ ใช้ในการเกษตรที่คิดค้นขึ้นมาเองเช่นการทำน้ำหมักจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่นจาวปลวก หัวปลาซึ่งมีเฉพาะชุมชนที่มีการทำการประมงในหมู่ที่๕ ราคาถูกและมีประโยชน์ต่อพืชมหาศาล และยังศึกษาสูตรใหม่ที่ได้รับการเผยแพร่จากการไปศึกษาดูงานและค้นคว้าทางสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย


๕. การทำน้ำหมักชีวภาพ

น้ำหมักชีวภาพจากจาวปลวกเป็นสิ่งที่ค้นพบมาจากภูมิปัญญาชาวบ้านจากการสังเกตบริเวณที่มีจอมปลวกจะมีดินอุดมสมบูรณ์และมีพืชขึ้นอุดมสมบูรณ์เกิดความคิดนำมาทำเป็นน้ำหมักที่ทำได้ง่ายและไม่ยุ่งยากต้นทุนมีน้อยหรือแทบไม่มีเลยมีประโยชน์ทั้งเป็นปุ๋ยบำรุงดินและตัวย่อยสลายและยังเรียนรู้น้ำหมักสูตรต่างๆ มาใช้ในการทำเกษตร ที่หลากหลาย


๖. การเลี้ยงปลวก

ตั้งแต่การถอดองค์ความรู้จากชุมชน ย้อนไปตามวิถีชีวิตที่ดั้งเดิม ไก่จะหากินเองและชอบเขี่ยดินกินตัวปลวกเป็นอาหารและปลวกสามารถให้สารอาหารโปรตีนให้กับไก่ทางชุมชนจึงพัฒนามีการเลี้ยงปลวกเพื่อให้เพียงพอและเป็นอาหารเสริมให้กับไก่ลดต้นทุนในการเลี้ยงและทำให้ไก่มีรสชาติดีปลอดสารเคมีตกค้าง


๗. การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะ

ชุมชนสามารถบริหารจัดการขยะในชุมชนโดยนำความรู้ของอาจารย์นิโรจน์ ทิศทองแก้ว มาถ่ายทอดและปฏิบัติจริงการทำน้ำหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน การกำจัดเศษใบไม้จากวัชพืชแห้งโดยการราดน้ำจาวปลวกการขุดหลุมฝังรดน้ำหมักทำเป็นชั้นดินตามทฤษฎีแก้มลิง และปลูกพืชเพื่อดึงสารอาหารจากปุ๋ยมาใช้


๑. การปลูกผักสวนครัวชีวภาพ

การปลูกผักสวนครัวชีวภาพชุมชนมีมติของหมู่บ้านในการเลิกใช้สารเคมีมาใช้ในการทำการเกษตร มีการรวมตัวกันทำการเกษตรปลอดสารพิษโดยการทำน้ำหมักมาใช้ปลูกผักสวนครัวตามบริบทของบ้านตนเอง เช่น ปลูกในกระถางยางล้อรถยนต์ การปลูกผักในกระสอบ การปลูกแบบลงดิน และการปลูกจากโรงเรือน แบบกางมุ้ง แต่ทุกประเภทมุ่งเน้นการปลูกแบบปลอดสารเคมี เพราะส่วนใหญ่จะปลูกรับประทานเอง และที่เหลือขายสินค้าที่มีคุณภาพดีต่อลูกค้ารับประทานแล้วสุขภาพดี มีความสุขทางด้านจิตใจ


๙. การทำกระท้อนทรงเครื่อง

เป็นอาชีพตามฤดูกาล ซึ่งมีผลผลิตมากในท้องถิ่นสามารถสร้างรายได้ในชุมชน มีภูมิปัญญาดั้งเดิมที่มีการยอมรับในท้องถิ่นสร้างรายได้ประมาณปีละ ๑๐๐,๐๐๐ – ๑๕๐,๐๐๐ บาท

สูตรการทำสะท้อนทรงเครื่องจากบ้านทุ่งคาที่ได้รับการยอมรับจากชาวอำเภอสิชล

วัสดุ/อุปกรณ์ การทำกระท้อนทรงเครื่อง

ส่วนผสม

1. กระท้อน 3 ลูก /กิโลกรัม

2. น้ำตาลมะพร้าวแท้ 1 กิโลกรัม

3. น้ำตาลทายแดง 1 กิโลกรัม

4. น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ

5. น้ำเปล่า 1/2 ถ้วย

6. กะปิ 1/2 ช้อนชา

7. ถั่วลิสงบุบหยาบ 3 กรัม

8. พริกขี้หนูซอยหยาบ 3 กรัม

9. มะพร้าวคั่ว 5 กรัม

10. กะปิ 0.5 กรัม

11. หอมแดง ๒ กรัม

12. เกลือเมล็ดสำหรับแช่กระท้อน 1 ถุง

13. กุ้งแห้งแล้วแต่ชอบ

วิธีการทำ

  1. ปอกเปลือกกระท้อน และแช่น้ำเกลือไว้เพื่อไม่ให้ผิวดำ แช่ ๑ คืน

2. จากนั้นนำมาบั้งตามแนวตั้ง และแช่ในน้ำเปล่า ประมาณ ๓ คืน เปลี่ยนน้ำทุกวัน

3 . บีบน้ำลูกกะท้อนเอาน้ำออก บีบให้แบน

4.ผสมทำน้ำทรงเครื่อง น้ำตาลมะพร้าวแท้ น้ำตาลทรายแดง น้ำเปล่า น้ำปลา กะปิ พริกขี้หนู หอมแดงซอย ถั่วบดหยาบ มะพร้าวคั่ว ตั้งไฟปานกลาง ให้เข้ากันแล้วตั้งไฟอ่อนๆ เคี่ยวให้เหนียวค้น

5.นำกระท้อนที่แช่น้ำเกลือไว้มาพักให้สะเด็ดน้ำ แล้วใช้มือบีบหัวท้ายของลูกกระท้อนเบาๆ แล้วจับบิดเล็กน้อย จัดใส่จาน โรยมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งตำ ถั่วลิสงคั่วบุบ และพริกขี้หนูลงไป ตามด้วยน้ำตาลที่เคี่ยวไว้ผสมพริกป่นแล้วราดให้ทั่วกระท้อน