วัฒนธรรมสืบสานชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด

สืบสานวัฒนธรรมกะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน 

โดย กศน.ตำบลทากาศ

ระวัติ หมู่บ้านแห่งนี้มีแม่น้ำขนาดหรือห้วยแม่คะนะไหลผ่าน จึงได้ชื่อว่า บ้านแม่ขนาดซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง(ปาเกอะญอ)  มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่จะยึดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงมีความเป็นอยู่ที่สงบเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้มีภาษาและการแต่งกายเป็นของตัวเอง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทอผ้าไว้ใช้เองเริ่มตั้งแต่การปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และประดับลูกเดือย มีการสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ภายในหมู่บ้านยังมีกลุ่มทอผ้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขาและสิ่งทอทุกชนิดให้ได้เลือกซื้อกันอีกด้วย

ที่ตั้ง : บ้านแม่ขนาด หมู่ 8 ตำบลทากาศ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน



ศูนย์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่ขนาด เลขที่ 99 หมู่ที่ 8 ตำบลทากาศ หมู่บ้านชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงปากะญอ มีชีวิตความเป็นอยู่เรียบง่าย ชาวบ้านยังคงแต่งกายด้วยชุดชาวเผ่า ผู้หญิงที่มีครอบครัวแล้วจะแต่งนุ่งผ้าถุงสีแดง คาดลายสีต่าง ๆ ที่ทอขึ้นเอง ปักด้วยลูกเดือยและตกแต่งด้วยผ้าสีแดง ส่วนผู้หญิงที่ยังไม่มีครอบครัวจะใส่ชุดยาวสีขาว แต่งลวดลายด้วยสีต่าง ๆ ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อโพล่งสีแดง กางเกงสะดอหรือโสร่ง ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทอผ้าใช้เองตั้งแต่ขั้นตอนการปลูกฝ้าย ปั่นด้าย ทอผ้า และประดับลูกเดือย มีการสืบทอดต่อกันมาจนถึงรุ่นลูกหลาน ภายในหมู่บ้านมีกลุ่มทอผ้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชาวเขาและสิ่งทอทุกชนิด

การเดินทาง

บนทางหลวงหมายเลข 1033 เข้าไปประมาณ 4 กิโลเมตร


 ภาษา

กะเหรี่ยงแต่ละเผ่ามีภาษาพูด และภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยการดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมอักษรโรมัน ภาษากะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาดโดยใช้ภาษากะเหี่ยงโปรและกะเหรี่ยงสะกอ


ลักษณะบ้านเรือน

นิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้นสูง มีชานบ้าน บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ชาวกะเหรี่ยงตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่ย้ายถิ่นบ่อยๆ


การแต่งกาย

กะเหรี่ยงทอผ้าจนเป็นวัฒนธรรมประจำเผ่า เสื้อเด็กและหญิงสาวจะเป็นชุดทรงกระสอบ ผ้าฝ้ายพื้นขาว ทอหรือปักประดับลวดลายให้งดงาม ส่วนหญิงที่มีครอบครัวแล้วจะสวมเสื้อสีดำ น้ำเงิน และผ้านุ่งสีแดงคนละท่อน ตกแต่งด้วยลูกเดือย หรือทอยกดอก ยกลาย สำหรับผู้ชายกะเหรี่ยงนั้นส่วนมากจะสวมเสื้อตัวยาวถึงสะโพก ตัวเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยแถบสีไม่มีการปักประดับเหมือนเสื้อผู้หญิง นุ่งกางเกงสะดอ นิยมใช้สร้อยลูกปัดเป็นเครื่องประดับ และสวมกำไลเงินหรือตุ้มหู


“ เตหน่า ” เป็นเครื่องดนตรีของชนเผ่ากะะเหรี่ยง ทำด้วยไม้อ่อนเหลา และกลึงให้เป็นรูปเหมือนกล่องรูปทรงรี มีก้านยาวโก่งและโค้งสูงขึ้นไป ที่ตัวจะเจาะรูเป็นโพรงปิดด้วยโลหะบาง ๆ สายทำด้วยเส้นลวดมีสายตั้งแต่ 6 – 9 สาย เตหน่า ใช้สำหรับดีดและร้องเพลงประกอบ ใช้ในโอกาสมีเวลาว่างและเพื่อความสนุกสนาน โดยเฉพาะหนุ่มชาวปกาเกอะญอจะใช้เตหน่าในการเกี้ยวพาราสีหญิงสาวในยามค่ำคืน


วัฒนธรรมประเพณี

ชาวกะเหรี่ยงมีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการ ทำพิธีกรรมเลี้ยงผี บวงสรวงดวงวิญญาณ ด้วยการต้มเหล้า   ฆ่าไก่ - แกง และมัดมือผู้ร่วมพิธีด้วยฝ้ายดิบ ซึ่งเกี่ยวโยงกัน

ประเพณีปีใหม่ โดยหัวหน้าหมู่บ้านจะเป็นผู้ระบุวันล่วงหน้า แต่ละหมู่บ้านจะมีปีใหม่ แต่ละปีไม่ตรงกัน เพราะเป็นพิธีที่หมายถึงการเริ่มต้นของฤดูกาลการเกษตร และอยู่เย็นเป็นสุข

ประเพณีแต่งงาน ผู้หญิงจะเป็นผู้เลือกคู่ครองเอง เจ้าสาวจะต้องทอเสื้อผ้า กางเกง ย่ามไว้ให้เจ้าบ่าว ทั้งเจ้าบ่าวเจ้าสาวต้องฆ่าหมูฆ่าไก่เพื่อทำพิธีกรรมบอกต่อผีบรรพบุรุษและเป็นอาหารเลี้ยงแขก แต่งงานแล้วฝ่ายชายต้องมาอยู่บ้านฝ่ายหญิง 1 ฤดูเก็บเกี่ยว ก่อนแยกไปปลูกบ้านใกล้กัน

  ศาสนา

ความเชื่อและพิธีกรรม เดิมชาวกะเหรี่ยงนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด ภายหลังหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญหรือการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่น เจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชน ให้อุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำเกษตรกรรมได้ผลผลิตดี ให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาต่อท่าน


ามารถศึกษาเรื่องราวกับการสืบสานวัฒนธรรมชาติพันธุ์กะเหรี่ยงบ้านแม่ขนาด

ได้ที่https://www.youtube.com/watch?v=NA6Vupkw4x8  หรือสแกนคิวอาร์โค้ด


อ้างอิง   มูลนิธิโครงการหลวง ปี2555

www.royalprojectthailand.com | 


เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา :  นายนเรศ หะกาศ ครูกศน.ตำบลทากาศ  

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ :  ทีมงาน U2T ตำบลทากาศ 

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 30 พฤศจิกายน  2666