การเงินเพื่อชีวิต 2

ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

(สค22013)

แนะนำการเรียน

  1. ศึกษาโครงสร้างรายวิชา

  2. ทำแบบทดสอบตนเองก่อนเรียน 20 ข้อ

  3. ศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ให้ครบถ้วน

  4. ศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ให้ครบถ้วน

  5. ศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ให้ครบถ้วน

  6. ศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ให้ครบถ้วน

  7. ศึกษาเนื้อหาและกิจกรรมในหน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ให้ครบถ้วน

  8. ทำแบบทดสอบตนเองหลังเรียน 20 ข้อ

โครงสร้างรายวิชา

สาระสำคัญ

เงินเป็นปัจจัยสาคัญในการดำรงชีวิตของประชาชนทุกคน เนื่องจากเป็นสื่อกลางที่ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจาวัน นอกจากนั้น “เงิน” ยังเป็นปัจจัยสาคัญสำหรับการลงทุนเพื่อเพิ่มพูนรายได้ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้สภาพสังคม เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีวิธีทางการเงินใหม่ ๆ ถูกพัฒนาขึ้นอย่างหลากหลาย เช่น บัตรเครดิต บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม การทำธุรกรรมทางโทรศัพท์ ทางอินเทอร์เน็ต การลงทุนทางการเงินประเภทต่าง ๆ เป็นต้น และเมื่อมีการพัฒนาทางการเงินเพิ่มขึ้น ภัยทางการเงินก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เช่น เงินกู้นอกระบบ แชร์ลูกโซ่ ภัยการเงินออนไลน์ เป็นต้น จึงต้องพัฒนาทักษะความสามารถด้านการเงินให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถออกแบบวางแผน และตัดสินใจทางการเงิน ตลอดจนหลีกเลี่ยง ความเสี่ยงภัยทางการเงิน อันเป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องการเงินได้อย่างถูกต้อง

  2. วิเคราะห์ เปรียบเทียบ การชาระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ ตลอดจนบัญชีเงินฝากประเภทต่าง ๆ และเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม

  3. นวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และดอกเบี้ยบัญชีเงินฝากได้

  4. ประยุกต์ใช้และเลือกใช้ความรู้ทางการเงินมากาหนดเป้าหมายมาออกแบบวางแผนการเงินของตนเองได้อย่างเหมาะสม

  5. มีความรับผิดชอบต่อการใช้จ่าย จัดการการเงินได้อย่างเหมาะสม คุ้มค่า ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ทางการเงิน

ขอบข่ายเนื้อหา

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ว่าด้วยเรื่องของเงิน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การวางแผนการเงิน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 สินเชื่อ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ภัยทางการเงิน

ระยะเวลาเรียน/จำนวนหน่วยกิต

3 หน่วยกิต (120 ชั่วโมง)