เรื่องที่ 2 ลักษณะของสินเชื่อประเภทต่าง ๆ และการคำนวณดอกเบี้ย

หากไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าจำเป็นต้องขอกู้ยืม ในลำดับต่อมา สิ่งที่ต้องทำ คือ หาข้อมูล คิด และตัดสินใจว่าจะเลือกกู้ยืมจากแหล่งใด ทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง คือ เลือกกู้ยืมจากผู้ให้บริการในระบบเพราะมีหน่วยงานของรัฐกำกับดูแล เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้บริการสินเชื่อในระบบหลายประเภท ทั้งที่เป็นสถาบัน การเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ และผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบัน การเงิน (non-bank) เช่น บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

ประเภทสินเชื่อ

สินเชื่อสามารถจำแนกออกได้หลายประเภท โดยอาจแบ่งตามวัตถุประสงค์ ในการขอกู้ เช่น สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค สินเชื่อเพื่อธุรกิจ และในแต่ละประเภทก็ยังมี ผลิตภัณฑ์สินเชื่อปลีกย่อยลงไปอีก ในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะสินเชื่อที่เกี่ยวข้องในการ ดำรงชีวิตของประชาชน เช่น

1. สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

เป็นสินเชื่อที่สถาบันการเงินให้บุคคลธรรมดากู้ยืม เพื่อนำเงินไปใช้ในการจัดหาที่อยู่อาศัย เช่น ซื้อที่ดินและสร้างที่อยู่อาศัย ซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ซื้อห้องชุด หรือเพื่อปรับปรุง ต่อเติม ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย

ลักษณะของสินเชื่อที่อยู่อาศัย

  1. วงเงิน สถาบันการเงินจะอนุมัติวงเงินสินเชื่อตามอัตราส่วนเงินให้สินเชื่อ ประมาณร้อยละ 70-100 ของมูลค่าหลักประกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทสินเชื่อที่อยู่อาศัยและ ลักษณะสัญญา

  2. อัตราดอกเบี้ย สถาบันการเงินแต่ละแห่งจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน แต่ส่วนใหญ่มักจะใช้อัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว

อัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขคงที่ในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปีเป็นระยะเวลา 3 ปี ดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปีตลอดอายุสัญญา

อัตราดอกเบี้ยลอยตัว (floating rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนของสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่เห็นได้บ่อย คือ อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ของธนาคารพาณิชย์ เช่น

  • MLR (minimum loan rate) สำหรับลูกค้าสินเชื่อรายใหญ่ชั้นดี ใช้กับ เงินกู้ระยะยาว ที่มีกำหนดระยะเวลาไว้แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ

  • MOR (minimum overdraft rate) สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ใช้กับ วงเงินเบิกเกินบัญชี

  • MRR (minimum retail rate) สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย สถาบันการเงินอาจคิดดอกเบี้ยแก่ผู้ขอสินเชื่อแต่ละรายโดยใช้อัตรา ดอกเบี้ยที่แตกต่างกันได้ และอาจสูงหรือต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของ ผู้ขอสินเชื่อแต่ละราย

การกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยอาจผสมกัน ระหว่างอัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวก็ได้ เช่น

- ปีที่ 1 - 3 คิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 2.5% ต่อปี

- ปีที่ 4 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว MRR – 1% ต่อปี

ทั้งนี้ ผู้ขอสินเชื่อสามารถดูประกาศอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงได้ ซึ่งจะติด ประกาศไว้ ณ ที่ทำการ หรือในเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน

📖ตัวอย่าง ธนาคาร A ประกาศอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง โดย MLR เท่ากับ 4% MOR เท่ากับ 5% และ MRR เท่ากับ 6%

เมื่อต้องการขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคาร A

- หากธนาคาร A แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ย MRR + 1% หมายความว่า ธนาคาร A จะคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 7% ต่อปี (6% + 1%)

- หากธนาคาร A แจ้งว่า คิดอัตราดอกเบี้ย MRR - 1% หมายความว่า ธนาคาร A จะคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับ 5% ต่อปี (6% - 1%)

3. วิธีการคิดดอกเบี้ย คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (effective rate) ซึ่ง เป็นการคิดดอกเบี้ยจากฐานเงินต้นที่ลดลง กล่าวคือ เมื่อเงินต้นลดดอกเบี้ยก็จะลดลงด้วย

ถ้าผู้ให้สินเชื่อกำหนดให้ต้องผ่อนงวดละเท่า ๆ กัน การคำนวณจะเป็นไป ตามขั้นตอนที่ 1 - 3 ดังนี้

ขั้นที่ 1 คำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น โดยมีสูตรคำนวณ ดังนี้

ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้น = เงินต้นคงเหลือ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในงวด จำนวนวันใน 1 ปี*

*จำนวนวันใน 1 ปี สถาบันการเงินอาจใช้ 360 วัน หรือ 365 วัน หรือ 366 วันก็ได้ แต่ไม่ว่าจะกำหนดจำนวนวันเป็นเท่าใดก็ตาม สถาบันการเงินจะต้องใช้จำนวนวันเดียวกันสำหรับการคำนวณทั้งดอกเบี้ยจ่าย เช่น เงินฝาก และดอกเบี้ยรับ เช่น สินเชื่อ

ขั้นที่ 2 คำนวณเงินต้นที่ลดลงในงวดนั้น ขั้นตอนนี้ให้นำเงินค่างวดที่ต้องจ่ายในงวดนั้น หักออกด้วยดอกเบี้ยจ่ายที่คำนวณได้จากในขั้นที่ 1 ยอดที่ได้ก็คือ เงินต้นที่ได้จ่าย ไปในงวดนั้น

เงินต้นลดลง = จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในงวดนั้น – ดอกเบี้ยจ่ายในงวดนั้น

ขั้นที่ 3 คำนวณเงินต้นคงเหลือ ขั้นตอนนี้เพื่อหาเงินต้นคงเหลือเพื่อใช้ในการคำนวณดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดถัดไป

เงินต้นคงเหลือ = เงินต้นคงเหลือจากงวดก่อน – เงินต้นลดลง

ทั้งนี้ หากเป็นการผ่อนชำระด้วยจำนวนเงินต้นเท่ากันทุกเดือน หรือมีการกำหนดจำนวนเงินต้นที่ต้องจ่ายไว้แน่นอน ก็สามารถใช้สูตรในขั้นที่ 1 คำนวณหาดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายได้เช่นกัน

📖ตัวอย่าง ยอดชายกู้เงินจากธนาคารจำนวน 40,000 บาท ธนาคารกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระ 12 เดือน อัตราดอกเบี้ย 7.5% ต่อปี และคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก โดยธนาคารให้ผ่อนชำระงวดละ 3,400 บาท ยกเว้นเดือนสุดท้ายให้ผ่อนชำระ 4,267 บาท ยอดชายจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเป็นเงิน เท่าไร

ขั้นที่ 1 คำนวนดอกเบี้ยงวดที่ 1 (สมมติว่าเป็นเดือน ม.ค. ซึ่งมี 31 วัน)


ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดที่ 1 = 40,000 บาท x 7.5x 31

100 365

= 255 บาท

ขั้นที่ 2 คำนวนเงินต้นที่ลดลง

เงินต้นที่ลดลง = 3,400 บาท - 255 บาท = 3,145 บาท

ขั้นที่ 3 คำนวนเงินต้นคงเหลือ (เพื่อใช้คิดดอกเบี้ยสำหรับงวดถัดไป)

เงินต้นคงเหลือ = 40,000 บาท - 3,145 บาท = 36,855 บาท

ข้างต้นเป็นการคำนวณสำหรับงวดที่ 1 ซึ่งจะต้องคำนวณสำหรับงวดต่อ ๆ ไปตามขั้นตอน ข้างต้น (ขั้นที่ 1 - 3) จนครบทุกงวด ก็จะได้ผลลัพธ์ตามตารางด้านล่าง

จากการคำนวณข้างต้น จะเห็นว่าดอกเบี้ยจะทยอยลดลงตามเงินต้นที่ลดลง โดย นายยอดชายจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้งหมด 1,667 บาท

4. การผ่อนชำระ ให้ระยะเวลาผ่อนนาน แต่ไม่เกิน 30 ปี

ข้อควรรู้

  1. เงินผ่อนชำระที่จ่ายไปนั้น จะนำไปหักค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยก่อน ที่เหลือจึงจะนำไปหักเงินต้น

  2. เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบลอยตัว หากช่วงใดอัตราดอกเบี้ย ปรับตัวสูงขึ้น จำนวนเงินที่จ่ายในงวดนั้น ๆ อาจถูกนำไปหักเป็นดอกเบี้ยมากขึ้นและเหลือไป ตัดเงินต้นน้อยลง

  3. หากค้างชำระหรือชำระค่างวดล่าช้า อาจถูกคิดดอกเบี้ยในอัตรา ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยปกติ โดยธนาคารจะคิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นของงวดที่ผิดนัด

การตัดสินใจที่จะมีบ้านสักหลัง เป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญและเป็นเรื่องใหญ่ใน ชีวิต จึงจำเป็นที่จะต้องคิดอย่างรอบคอบ ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงก่อนตัดสินใจซื้อบ้านมีมากมาย เช่น ทำเลที่ตั้ง จำนวนสมาชิกในครอบครัว ความสะดวกในการเดินทาง ราคา และความน่าเชื่อถือ ของโครงการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดในกรณีซื้อบ้านด้วยการขอสินเชื่อก็คือ ความสามารถในการ ผ่อนชำระหนี้ เพราะหากซื้อบ้านที่ถูกใจแต่เกินกำลังที่จะผ่อนชำระ สุดท้ายก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น บ้านถูกยึดและขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้ดังนั้น ก่อนตัดสินใจซื้อบ้านควรต้องสำรวจความพร้อมของตัวเอง ดังนี้

  • ต้องซื้อตอนนี้เลย หรือรอได้หรือยังมีทางเลือกอื่นหรือไม่ เช่น เช่าอยู่ก่อน หรืออยู่กับพ่อแม่ไปก่อน โดยระหว่างนี้ก็ “ซ้อมผ่อน” ไปพลาง ๆ อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อ ทดลองดูว่าจะผ่อนไหวหรือไม่ตอนที่จะซื้อจริง (วิธีซ้อมผ่อน เริ่มจากเปิดบัญชีเงินฝาก 1 บัญชี เพื่อเก็บเงินซื้อบ้านโดยเฉพาะ แล้วนำเงินไปฝากทุกเดือน เดือนละเท่า ๆ กัน โดยเท่ากับจำนวน เงินผ่อนบ้าน ซึ่งสามารถขอข้อมูลได้จากฝ่ายขายของโครงการหมู่บ้านหรือคอนโดมิเนียมที่เรา อยากจะซื้อ หรือลองใช้โปรแกรมคำนวณของเว็บไซต์ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) เพื่อหาจำนวนเงินผ่อนคร่าว ๆ ที่สำคัญ อย่าลืมลงมือซ้อมผ่อนจริง ๆ ด้วย)

  • เลือกบ้านที่ไม่เกินกับความสามารถในการผ่อนชำระหนี้และมั่นใจว่าจะสามารถผ่อนได้ตลอดรอดฝั่ง (รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับบ้าน เช่น ค่าตกแต่ง ค่าส่วนกลางหมู่บ้าน/คอนโดมิเนียม ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายส่วนตัวด้วย)

  • ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเลือกธนาคารที่ให้เงื่อนไขที่รับได้

  • ควรมีเงินอย่างน้อย 20% ของราคาที่อยู่อาศัยเพื่อเป็นเงินดาวน์ (เงินดาวน์ คือ เงินส่วนหนึ่งที่ผู้จะซื้อบ้านจ่ายให้โครงการที่อยู่อาศัย ก่อนที่จะจ่ายเงินก้อนใหญ่เพื่อชำระ ค่าบ้านทั้งหมด ซึ่งโครงการที่อยู่อาศัยอาจให้ชำระเป็นก้อนเดียว หรือทยอยผ่อนชำระเป็น รายงวด โดยมักกำหนดไว้ประมาณ 15 - 20% ของราคาที่อยู่อาศัย)

  • เตรียมเอกสารเพื่อทำเรื่องขอกู้ให้พร้อม เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนา ทะเบียนบ้าน เอกสารเกี่ยวกับรายได้ เช่น ใบรับรองเงินเดือน หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง สมุดเงินฝากธนาคาร

  • ตั้งเป้าหมายเก็บเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต (นอกจาก เงินดาวน์และค่าผ่อนบ้าน) เช่น

1) ค่าประเมินหลักประกัน เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการประเมินว่าบ้านหรือ หลักประกันมีมูลค่าเท่าไร

2) ค่าจดจำนองและค่าอากรแสตมป์ ซึ่งต้องจ่ายให้แก่ส่วนราชการ เช่น สำนักงานที่ดิน

3) ค่าประกันภัย เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงให้กับผู้ขอสินเชื่อ เช่น การทำประกันอัคคีภัย ซึ่งหากเกิดความเสียหายกับที่อยู่อาศัยก็ยังมีเงินก้อนหนึ่งจากการ ประกันภัยมาจ่ายค่าบ้าน ช่วยลดภาระแก่ผู้ขอสินเชื่อ อย่างไรก็ดี ธนาคารไม่สามารถบังคับให้ ผู้ขอสินเชื่อทำประกันภัยกับบริษัทใดบริษัทหนึ่งโดยเฉพาะ เพราะผู้ขอสินเชื่อมีสิทธิที่จะเลือก ทำประกันภัยได้อย่างอิสระ

4) ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน เช่น ค่าตกแต่ง ค่าปั๊มน้ำ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าส่วนกลาง (ถ้าอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม)

อย่าลืม...มีแผนสำรองหากผ่อนไม่ไหวกะทันหัน เช่น ออมเงินเผื่อฉุกเฉินทุกเดือน ถ้าเงินไม่พอผ่อนเดือนไหนก็ถอนมาจ่ายก่อนหรือขายทองที่เก็บไว้

แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

2.การเช่าซื้อ (Hire Purchase)

เช่าซื้อ (hire purchase) มีลักษณะคล้ายการให้สินเชื่อ โดยผู้เช่าซื้อทำสัญญา กับผู้ให้เช่าซื้อว่าจะชำระค่าสินค้าเป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งระหว่างนั้น ผู้เช่าซื้อสามารถนำทรัพย์สินที่เช่าซื้อมาใช้งานได้ก่อน โดยที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของ ผู้ให้เช่าซื้อจนกว่าจะจ่ายเงินครบตามสัญญาจึงจะโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นมาเป็นของ ผู้เช่าซื้อ เช่น การเช่าซื้อรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์

ลีสซิ่ง (leasing) มีลักษณะคล้ายกับสัญญาเช่าซื้อ คือ จะต้องชำระเงินค่าเช่า เป็นงวด ๆ ตามจำนวนเงินและเวลาที่กำหนดในสัญญาเช่า ต่างกันตรงที่เมื่อสิ้นสุดสัญญาเช่า สามารถเลือกได้ว่าจะซื้อ ต่อสัญญาเช่า หรือส่งคืนทรัพย์ให้แก่ผู้ให้เช่า ส่วนมากผู้ที่ทำสัญญาลักษณะนี้ มักเป็นบริษัทหรือนิติบุคลที่ต้องการเช่าทรัพย์สินที่มีราคาแพงหรือเช่าทรัพย์สินในปริมาณมาก เช่น เครื่องจักร

ตัวอย่างการเช่าซื้อและลีสซิ่ง

เช่าซื้อ

นายรักชาติ (ผู้เช่าซื้อ) ตัดสินใจจะเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ABC (ผู้ให้เช่าซื้อ) โดย ผู้เช่าซื้อตกลงชำระเป็นรายงวดตามจำนวนเงินและระยะเวลาที่กำหนด รักชาติ สามารถนำรถยนต์มาใช้งานได้ก่อน โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของรักชาติต่อเมื่อได้ ชำระค่ารถยนต์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งบริษัท ABC จะต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนรถ ให้เป็นชื่อของรักชาติภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับเอกสารประกอบการจด ทะเบียนครบถ้วน

ลีสซิ่ง

บริษัทไทยทอผ้าทำสัญญาลีสซิ่งกับบริษัทสำราญลีสซิ่ง เพื่อเช่าเครื่องจักรสำหรับ ทอผ้าจำนวน 10 เครื่อง โดยทำสัญญา 5 ปี ซึ่งบริษัทสำราญลีสซิ่งยินดีเปลี่ยน เครื่องให้หากเครื่องขัดข้อง เมื่อครบกำหนดสัญญา บริษัทไทยทอผ้าเห็นว่า มีเทคโนโลยีการทอผ้าแบบใหม่จากญี่ปุ่นซึ่งต้นทุนต่ำกว่า จึงไม่จำเป็นต้องใช้ เครื่องทอผ้ารุ่นเดิมอีกต่อไป จึงตัดสินใจคืนเครื่องทอผ้าให้แก่บริษัทสำราญลีสซิ่ง

การเช่าซื้อรถ

ลักษณะของการเช่าซื้อรถ

  1. วงเงิน กรณีให้เช่าซื้อรถใหม่ประมาณ 75 - 80% กรณีรถใช้แล้ว จะขึ้นอยู่กับสภาพรถและราคาประเมินรถ

  2. ระยะเวลาการผ่อนชำระ ประมาณ 12 - 72 เดือน

  3. อัตราดอกเบี้ย ส่วนใหญ่จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed rate) ตลอดอายุสัญญา

4) วิธีการคิดดอกเบี้ย ส่วนใหญ่คิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ (flat rate) คือ คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งจำนวนและระยะเวลาในการผ่อนชำระทั้งหมด จากนั้น ผู้ให้เช่าซื้อจะนำดอกเบี้ยที่คำนวณได้มารวมกับเงินต้น แล้วหารด้วยจำนวนงวดที่จะผ่อนชำระ ดังนั้น เงินที่ผ่อนชำระจะเท่ากันทุกงวด ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ได้กำหนดให้ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์จัดทำตารางแสดงภาระหนี้สินตามสัญญา สำหรับผู้เช่าซื้อแต่ละราย โดยให้ระบุอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี (effective interest rate) เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบภาระดอกเบี้ยที่แท้จริงต่อปี

วิธีคำนวนค่างวด

ขั้นที่ 1 คำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด

คำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด = เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลา (ปี)

ขั้นที่ 2 คำนวนจำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน

จำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน = เงินต้น + ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด

จำนวนงวด

📖ตัวอย่าง นายยอดชายต้องการเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ราคา 60,000 บาท ผู้ให้เช่าซื้อ คิดอัตราดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ 4% ต่อปี โดยให้ระยะเวลาผ่อน 60 งวด (5 ปี) จะต้องจ่ายค่างวด เป็นเงินเท่าไร

ขั้นที่ 1 คำนวนดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด

ดอกเบี้ยที่ต้องชำระทั้งหมด = 60,000 บาท x 4 x 5 ปี = 12,000 บาท

100

ขั้นที่ 2 คำนวนจำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน

จำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน = 60,000 บาท + 12,000 บาท = 12,000 บาท

60 งวด

❕ ข้อควรรู้

  1. หากผู้เช่าซื้อเคยค้างชำระ และงวดต่อมาชำระหนี้ไม่ครอบคลุมยอดหนี้คงค้างของงวดก่อน หรือไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เรียกเก็บ อาจส่งผลให้เงินที่ชำระ ค่างวดนั้นไม่พอตัดเงินต้น และยังคงเป็นหนี้ค้างชำระซึ่งจะถูกคิดเบี้ยปรับและค่าใช้จ่ายในการ ติดตามทวงถามหนี้ในงวดถัดไปได้อีก (ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 ระบุว่า หากเงินที่ลูกหนี้จ่ายเพื่อชำระหนี้ไม่เพียงพอ ให้นำเงินที่ลูกหนี้ชำระนั้นไปหักค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ก่อน แล้วจึงหักดอกเบี้ย ที่เหลือจึงนำไปหักเงินต้น)

  2. หากผู้เช่าซื้อต้องการชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดเพื่อปิดบัญชีก่อนครบกำหนด ผู้ให้เช่าซื้อต้องให้ส่วนลดแก่ผู้เช่าซื้อในอัตราไม่น้อยกว่า 50% ของดอกเบี้ยเช่าซื้อที่ ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โดยให้คิดคำนวณตามมาตรฐานการบัญชีว่าด้วยเรื่องสัญญาเช่า

  3. ผู้ให้เช่าซื้อสามารถบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อได้ หากผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวดติดกัน อย่างไรก็ดี ผู้ให้เช่าซื้อต้องมีหนังสือบอกกล่าวผู้เช่าซื้อให้ชำระหนี้ ที่ค้างชำระภายใน 30 วันนับจากวันที่ผู้เช่าซื้อได้รับหนังสือ หากเลยกำหนดและผู้เช่าซื้อยังไม่มา ชำระ ผู้ให้เช่าซื้อจึงจะมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและดำเนินการนำรถกลับคืนได้แต่หากผู้เช่าซื้อได้ นำเงินไปชำระครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ผู้ให้เช่าซื้อกำหนดไว้ ผู้ให้เช่าซื้อไม่มีสิทธิ์ที่จะยึดรถ คืนจากผู้เช่าซื้อ

  4. การยึดรถจะใช้กำลังขู่เข็ญหรือทำร้ายร่างกายไม่ได้ หากมีการกระทำดังกล่าวให้แจ้งความดำเนินคดีที่สถานีตำรวจ และร้องเรียนตาม พ.ร.บ. การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ซึ่งมีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ได้แก่ กรมการปกครอง สถานีตำรวจ ท้องที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่ทำการปกครองจังหวัด และที่ว่าการอำเภอ

❕ ข้อควรระวัง

กรณีมีผู้อ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินหรือบริษัทที่เป็นผู้ให้เช่าซื้อรถมาติดต่อ ผู้เช่าซื้อควรขอตรวจสอบเอกสารแสดงตนว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจริงหรือไม่ เช่น ใบรับมอบอำนาจ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ และโทรศัพท์ติดต่อผู้ให้เช่าซื้อโดยตรงว่ามีการมอบอำนาจให้ บุคคลตามที่กล่าวอ้างมายึดรถจริงหรือไม่ด้วย รวมถึงตรวจสอบประวัติการค้างชำระของตนเอง ว่าได้เข้าสู่กระบวนการยึดรถแล้วหรือไม่ อย่างไร

5. หลังจากผู้ให้เช่าซื้อยึดรถไปแล้ว ก่อนที่จะนำรถออกขาย ต้องแจ้ง ผู้เช่าซื้อและผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่า 7 วัน เพื่อให้ผู้เช่าซื้อใช้สิทธิ์ซื้อรถคืน หากผู้เช่าซื้อไม่ใช้สิทธิ์ผู้ให้เช่าซื้อก็จะนำออกขายโดยวิธีประมูลหรือขายทอดตลาด

  • หากขายได้ราคามากกว่ายอดหนี้ที่ค้างชำระ ผู้ให้เช่าซื้อต้องคืนเงิน ส่วนเกินให้แก่ผู้เช่าซื้อ

  • หากขายได้ราคาน้อยกว่ายอดหนี้ที่ค้างชำระ ผู้เช่าซื้อยังต้องชำระหนี้ ส่วนต่างให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อจนครบจำนวน

6. แม้ว่ารถจะให้ความสะดวกสบายแต่ก็มีค่าใช้จ่ายมากมายตามมา นอกเหนือไปจากค่าผ่อนรถในแต่ละเดือน ถ้ายังไม่มั่นใจว่าจะรับมือกับค่าใช้จ่ายได้ก็ควรชะลอการซื้อรถออกไปก่อน และใช้เวลาช่วงที่ยังไม่พร้อมนี้เก็บเงินดาวน์เพิ่มขึ้นเพื่อจะได้ ลดภาระค่าผ่อนชำระในอนาคต

ตัวอย่างประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับรถ * (ไม่รวมค่าผ่อนรถ)

*เป็นเพียงข้อมูลค่าใช้จ่ายประมาณการเบื้องต้น ที่อาจจะมากหรือน้อยกว่านี้ซึ่งขึ้นอยู่กับยี่ห้อรถ ประเภท อายุการใช้งานของรถ รวมถึงลักษณะการใช้งานรถที่แตกต่างกัน

ก่อนตัดสินใจเช่าซื้อรถสักคัน ควรสำรวจความพร้อมของตนเอง ดังนี้

  • ความสามารถในการผ่อนชำระกับรายได้ตนเอง ภาระผ่อนหนี้เมื่อรวมกับหนี้อื่นที่มีทั้งหมดแล้วไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน และมีความสามารถในการจ่าย ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จะตามมาจากการเช่าซื้อรถ

  • มีเงินออมเพื่อจ่ายเงินดาวน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดภาระดอกเบี้ย ที่ต้องจ่ายลงไปได้อีกมาก

  • ศึกษาและเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาผ่อนชำระ เงื่อนไข อื่น ๆ ของผู้ให้เช่าซื้อหลาย ๆ แห่ง และต้องดูว่าอัตราดอกเบี้ยที่เสนอให้นั้นเป็นอัตราดอกเบี้ย ต่อเดือนหรือต่อปี

  • เลือกระยะเวลาผ่อนที่สั้นลง จะช่วยให้ประหยัดดอกเบี้ยลงไปได้

3. สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

เป็นสินเชื่อที่ให้กู้ยืมแก่บุคคลธรรมดาและไม่ต้องมีทรัพย์หรือทรัพย์สินเป็น หลักประกัน ซึ่งผู้ให้กู้ที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณา คุณสมบัติของผู้กู้และวงเงินที่ให้แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของผู้กู้ โดยสามารถแบ่งเป็น

1) สินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการอุปโภคบริโภค หรือใช้ในการประกอบอาชีพ ปัจจุบันมีรูปแบบให้บริการหลากหลาย เช่น

1.1) เช่าซื้อสินค้ารายชิ้น (ไม่รวมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และ เครื่องจักร) ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลจะออกบัตรสมาชิก หรือที่มักเรียกกันว่า “บัตรผ่อน สินค้า” ผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปใช้ซื้อสินค้าและบริการจากร้านค้าที่ร่วมรายการได้เช่น ซื้อ เครื่องใช้ไฟฟ้า และต้องชำระเงินแก่ผู้ให้บริการตามงวดที่ตกลงกัน

1.2) วงเงินสำรองพร้อมใช้ผ่านบัตรกดเงินสด หลังจากที่ได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อแล้ว ผู้ถือบัตรสามารถนำบัตรไปเบิกถอนเงินออกมาใช้ได้ ตลอดเวลา ซึ่งผู้ถือบัตรต้องชำระคืนแก่ผู้ให้บริการทุกเดือน โดยสามารถ ชำระเต็มจำนวน มากกว่าขั้นต่ำ หรือขั้นต่ำตามที่ผู้ให้บริการกำหนดได้

1.3) รับเงินสดทั้งก้อน แล้วทยอยผ่อนชำระคืนเป็น งวดตามที่ได้ตกลงกับผู้ให้บริการ

2) จำนำทะเบียนรถแบบโอนลอย ผู้กู้ต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในรถ โดย นำสมุดทะเบียนรถ (blue book) มาวางไว้ที่ผู้ให้บริการสินเชื่อส่วนบุคคล เป็นการโอนลอย ทะเบียนรถไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ โดยผู้กู้ยังสามารถครอบครองรถและใช้รถได้ ตามปกติซึ่งผู้กู้จะได้รับเงินก้อนนำไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ และต้องชำระคืนเป็นรายงวด แก่ผู้ให้กู้ตามที่ตกลงไว้

ข้อควรรู้

  • คุณสมบัติผู้สมัคร เป็นบุคคลที่ผู้ให้สินเชื่อพิจารณาแล้วเห็นว่ามีฐานะ ทางการเงินเพียงพอสำหรับการชำระหนี้ได้

  • วงเงิน พิจารณาตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

วงเงินของสินเชื่อที่มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพและ สินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันขึ้นอยู่กับความสามารถในการชำระหนี้

3) อัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกันแล้ว ไม่เกิน 25% ต่อปี แบบลดต้นลดดอก (effective rate) สำหรับสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน และ ไม่เกิน 24% ต่อปีแบบลดต้นลดดอก (effective rate) สำหรับสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็น ประกัน นอกจากนี้ อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ให้บริการได้จ่ายให้แก่บุคคลภายนอก เช่น ค่าใช้จ่ายติดตามทวงถามหนี้ แต่จะเรียกเก็บได้ไม่เกินจากที่ได้ประกาศไว้

4) วิธีการคิดดอกเบี้ย คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (effective rate)

ก่อนตัดสินใจขอสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ ควรสำรวจความพร้อมของตนเองก่อน ดังนี้

  • เลือกใช้บริการจากสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาต เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น ได้รับเงินกู้เต็มจำนวน ดอกเบี้ยถูกกว่าเงินกู้นอกระบบ และ มีหน่วยงานทางการกำกับดูแล

  • ศึกษาและเปรียบเทียบข้อมูลเรื่องอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ก่อนการเลือกใช้บริการ

  • ระมัดระวังโฆษณาที่ระบุในทำนองว่า “ดอกเบี้ยน้อยนิด” โดยต้อง ดูว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวใช้หน่วยอะไร เช่น ถ้าเป็นอัตราดอกเบี้ยต่อเดือน ให้คูณ 12 จึงจะ ได้อัตราดอกเบี้ยต่อปี

  • อย่าใช้บริการเพียงเพราะต้องการของแถม

4. บัตรเครดิต

เป็นบัตรอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์หรือผู้ประกอบธุรกิจ บัตรเครดิต (ผู้ออกบัตร) เพื่อให้ผู้บริโภค (ผู้ถือบัตร) นำไปใช้ชำระค่าสินค้าและบริการแทน เงินสด โดยไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก หรือทำรายการซื้อสินค้าและบริการแบบออนไลน์ผ่าน อินเทอร์เน็ตได้ ซึ่งผู้ออกบัตรจะจ่ายเงินให้แก่ร้านค้าไปก่อน และผู้ถือบัตรสามารถใช้ บัตรเครดิตเบิกถอนเงินสดออกมาใช้ในยามฉุกเฉินได้ด้วย โดยไม่เกินวงเงินที่ผู้ออกบัตร กำหนดไว้ และจะถูกเรียกเก็บเงินพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) จากผู้ออกบัตรตามระยะเวลาที่กำหนด

ลักษณะสำคัญของบัตรเครดิต

  1. คุณสมบัติผู้สมัคร มีรายได้ไม่น้อยกว่า 15,000 บาทต่อเดือน หรือมีเงินฝากหรือสินทรัพย์ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

  2. วงเงิน พิจารณาตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้

3. อัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกันแล้วไม่เกิน 16% ต่อปี

  • หากชำระหนี้บัตรเครดิตตรงเวลาและเต็มจำนวน (โดยไม่ได้เบิกถอน เงินสดเลย) จะได้รับระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย ประมาณ 45 – 56 วัน

  • กรณีเบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิตจะไม่มีช่วงเวลาปลอดดอกเบี้ยและ ถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการเบิกถอนได้อีกไม่เกิน 3% ของจำนวนเงินสดที่ถอน และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ของค่าธรรมเนียมการเบิกถอน

  • หากชำระหนี้บัตรเครดิตล่าช้า ชำระขั้นต่ำหรือชำระบางส่วน หรือมี การเบิกถอนเงินสด จะถูกคิดดอกเบี้ย โดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ (1) คิดเต็มจำนวนตั้งแต่ วันที่ใช้บัตรซื้อของ/จ่ายค่าบริการหรือถอนเงิน ถึงวันก่อนหน้าวันชำระเงิน และ (2) คิดตามยอดคงค้างตั้งแต่วันที่ชำระถึงวันสรุปยอดถัดไป (ดูตัวอย่างการคำนวณได้ที่เอกสารประกอบใบแจ้ง หนี้ หรือเว็บไซต์ของบัตรเครดิต)

4. วิธีการคิดดอกเบี้ย เป็นแบบลดต้นลดดอก (effective rate)

❕ ข้อควรรู้

  1. การนำบัตรเครดิตไปใช้ในต่างประเทศ ผู้ออกบัตรอาจคิดค่าความเสี่ยง จากอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 2 – 2.5% ของยอดใช้จ่าย จึงควรศึกษาเงื่อนไขจากผู้ออกบัตร ว่ามีการคิดหรือไม่ อย่างไร

  2. การชำระเงิน ควรชำระเต็มจำนวนและตรงเวลา แต่หากไม่สามารถ ชำระเต็มจำนวนได้ ก็ต้องชำระหนี้ขั้นต่ำเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออก มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 จากเดิมที่ กำหนดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำ 10% ลดลงเหลือ 5% จนถึงสิ้นปี 2565 แล้วปรับขึ้นเป็น 8% สำหรับปี 2566 และ 10% เท่าเดิม ตั้งแต่ปี 2567 (ข้อมูล ณ วันที่ 3 กันยายน 2564) แต่ใน สถานการณ์ปกติ ผู้ออกบัตรอาจกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำไว้ด้วย เช่น ชำระขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 10% ของยอดหนี้คงค้างแต่ต้องไม่น้อยกว่า 1,000 บาท

อย่างไรก็ดี หากมีรายการผ่อนชำระเงื่อนไข 0% อยู่ในใบแจ้งหนี้ ยอดผ่อนชำระขั้นต่ำอาจจะมากกว่าที่กำหนดตามหลักเกณฑ์ได้

📖ตัวอย่าง หากมีการใช้จ่ายซื้อโซฟา 10,000 บาท และมีรายการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า 20,000 บาท ซึ่งตกลงผ่อนชำระ 0% จำนวน 4 เดือน เดือนละ 5,000 บาท

การคำนวณรายการเรียกเก็บขั้นต่ำ

ยอดขั้นต่ำของรายการซื้อโซฟา = 1,000 บาท (10,000 x 10%)

ยอดผ่อนชำระรายการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า = 5,000 บาท

ดังนั้น ยอดขั้นต่ำในรอบบิลนั้นจะเรียกเก็บเท่ากับ 6,000 บาท (1,000 + 5,000)

ข้อคิดก่อนตัดสินใจมีบัตรเครดิต

  1. ทำความเข้าใจเงื่อนไขก่อนสมัคร

  2. ใช้บัตรเครดิตเท่าที่จำเป็นและมั่นใจว่าจะสามารถจ่ายคืนได้

  3. ชำระเต็มจำนวน ตรงเวลา หรือจ่ายให้ได้มากที่สุด เพื่อให้จ่ายดอกเบี้ยน้อยที่สุด

  4. อย่าทำบัตรเพราะเห็นแก่ของแถม

5. สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano finance)

เป็นสินเชื่อรายย่อยที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ขอสินเชื่อนำไปใช้ในการ ประกอบอาชีพโดยที่ไม่ต้องมีหลักประกัน ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ธนาคารแห่งประเทศไทย

วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย คิดอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใด ๆ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 33% ต่อปี แบบลดต้น ลดดอก (effective rate)

6. สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (Pico finance)

เป็นสินเชื่ออเนกประสงค์ทั้งแบบมีและไม่มีทรัพย์สินเป็นหลักประกัน โดย ผู้ประกอบธุรกิจอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง สินเชื่อประเภทนี้ผู้กู้ต้องมี ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจตั้งอยู่เท่านั้น แต่ไม่รวมถึง สินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงานที่หน่วยงาน ต้นสังกัดได้มีการทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ วงเงินไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย คิดอัตรา ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียม รวมกันแล้วไม่เกิน 36% ต่อปี แบบลดต้นลด ดอก (effective rate)

  2. สินเชื่อพิโกพลัส วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท (ในกรณีขอสินเชื่อเกินกว่า 50,000 บาท ต้องจัดทำสัญญากู้เงินอย่างน้อย 2 สัญญา โดยวงเงินสินเชื่อต่อสัญญา ไม่เกิน สัญญาละ 50,000 บาท) โดยคิดอัตราดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ดังนี้

  • วงเงินสินเชื่อไม่เกิน 50,000 บาทแรก คิดได้ไม่เกิน 36% ต่อปี แบบ ลดต้นลดดอก (effective rate)

  • วงเงินสินเชื่อส่วนที่เกิน 50,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดได้ ไม่เกิน 28% ต่อปี แบบลดต้นลดดอก (effective rate)

แหล่งศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

เกณฑ์ในการพิจารณาสินเชื่อของสถาบันการเงิน

การพิจารณาว่าจะให้สินเชื่อหรือไม่นั้น ผู้ให้สินเชื่อจะพิจารณาข้อมูลจากหลายด้าน เช่น คุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อ อาชีพ แหล่งรายได้ ประวัติการขอสินเชื่อ ประวัติการชำระหนี้ วงเงินที่ขอ และวัตถุประสงค์ในการขอกู้ ซึ่งผู้ให้สินเชื่อจะนำมาพิจารณาว่าสามารถอนุมัติ สินเชื่อให้ได้หรือไม่ หากถูกปฏิเสธสินเชื่อ ผู้กู้สามารถขอให้สถาบันการเงินชี้แจงเหตุผลของการไม่อนุมัติสินเชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงตนเพื่อให้ได้รับสินเชื่อในอนาคตต่อไป

สาเหตุที่สถาบันการเงินปฏิเสธการให้สินเชื่อ อาจเกิดจาก

  1. มีประวัติค้างชำระ หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติค้างชำระหนี้และยังไม่สะสาง ภาระหนี้ ผู้ให้สินเชื่ออาจเห็นว่ามีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รับการชำระคืน จึงไม่อนุมัติสินเชื่อ ดังนั้น ควรติดต่อเจ้าหนี้ที่ตนเองมีประวัติค้างชำระเพื่อชำระหนี้ที่ค้างให้เสร็จสิ้น และพยายามสร้าง ประวัติการชำระเงินที่ดีอย่าให้มีประวัติการค้างชำระอีก เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับอนุมัติ สินเชื่อในอนาคต

  2. แหล่งรายได้ขาดความน่าเชื่อถือ อาจเกิดจากผู้ขอสินเชื่อประกอบอาชีพ อิสระหรือมีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งผู้ให้สินเชื่ออาจเห็นว่าจะส่งผลต่อการชำระหนี้คืนในอนาคต ดังนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ให้สินเชื่อ ผู้ขอสินเชื่อควรเปิดบัญชีเงินฝากกับสถาบันการเงิน และนำเงินที่ได้จากการประกอบอาชีพเข้าบัญชีอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 6 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อ แสดงให้เห็นว่า ผู้ขอสินเชื่อมีรายได้เพียงพอและมีความสามารถในการชำระหนี้

  3. ขาดความสามารถในการชำระหนี้ สถาบันการเงินอาจเห็นว่าวงเงินสินเชื่อ ที่ขอสูงเกินกว่าความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งในกรณีนี้ ผู้ขอสินเชื่ออาจต้องหารายได้เพิ่มและ นำหลักฐานมาแสดง หรือหาผู้กู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินสินเชื่อที่ต้องการ