วัดคลองโป่ง


วัดคลองโป่ง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบล สามเรือนเรือน อำเภอ ศรีสำโรง จังหวัด สุโขทัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ื 45ไร่ 2งาน

วัดนี้ประชาชนร่วมใจกันจัดสร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ ประมาณพ.ศ.2082 มีนามตามชื่อของหมู่บ้าน นับเป็นวัดชนิดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแล้วตามที่ระบุไว้ในทะเบียนวัด พ.ศ.2104 เป็นระยะเวลาโดยประมาณไว้เป็นหลักฐาน เพื่อว่าวัดนี้เป็นวัดชนิดมีพัทธสีมา

ที่ระลึกในงานบริจาคทรัพย์ช่วยการก่อสร้างกุฎิวัดโพธิ์

อำเภอคลองตาล จังหวัดสวรรคโลก

พระครูธรรมภาณโกศลฯ

เจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์

๒๓ ตุลาคม ๒๔๗๙

พระครูธรรมภาณโกศล หรือที่ชาวศรีสำโรงรู้จักรในหลวงพ่อเอม วัดคลองโปร่ง "เทพเจ้าของชาวศรีสำโรง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดสุโขทัยในยุคสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะพระเครื่องที่เป็นเหรียญปั้มรูปเหมือนใบเสมารุ่นแรกของท่าน มีค่านิยมสูงสุดของจังหวัดสุโขทัย(หลายแสนบาท) นอกจากท่านจะเป็นพระที่เชี่ยวชาญในวิชาอาคมขลังแล้ว ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา นักเทศน์ และหมอผู้วิเศษอีกด้วย สร้างความเจริญในท้องถิ่น พัฒนาบูรณวัดต่างๆที่อยู่ในเขตความปกครองของท่าน

หลวงพ่อเอม ท่านเป็นชาวศรีสำโรงโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๕ ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ฯ เป็นบุตรคนสุดท้องของโยมบิดาชื่อ สน โยมมารดาชื่อ ทิม ต่อมาใช้นามสกุล"สนทิม" มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เรียงลำดับดังนี้

๑.นายปลื้ม สนทิม

๒.นางคำ สนทิม

๓.นายเดช สนทิม

๔.นางจันทร์ สนทิม

๕.หลวงพ่อเอม

หลวงพ่อเอมมรณภาพ ปลายปี พ.ศ.๒๔๘๔ อายุได้ ๖๙ ปีอายุของหลวงพ่อเอมไม่ยืนเช่นเดียวพี่น้องของท่าน ยกเว้นยายจันทร์ที่มีอายุยืนที่สุด (๘๐กว่าปี) ชีวิตในวัยเด็กของหลวงพ่อเล่ากันว่าท่านแก่นพอตัวทีเดียว เช่นเดียวกับเด็กลูกคนสุดท้องของพ่อแม่โดยทั่วไป สมัยที่หลวงพ่อเอมอยู่ในวัยคะนองอายุราว ๑๔-๑๕ ปี เล่ากันว่าพอตกเย็นหลวงพ่อหรือนายเอม ชอบชุกซนปีนป่ายขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ ริมแม่น้ำยมสายเก่าทางฝั่งตะวันออก คอยแอบดูพวกผู้หญิงสาวชาวไร่ที่ไปทำไร่กลับบ้านตอนเย็น พวกสาวๆเหล่านั้นจะพากันเดินลุยแม่น้ำข้ามฟากกลับไปยังฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนในสมัยนั้น

แต่นายเอมมีเวลาเจ้าชู้อยู่ได้ไม่นานเท่าใด ก็ต้องบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดคลองโปร่งเมื่ออายุ ๑๖-๑๗ ปี หลังจากบวชเณรแล้วก็ลงมาเรียนหนังสือ(บาลี)ในกรุงเทพฯ เรียนอยู่ได้ ๔-๕ ปี สามเณรเอมก็เดินทางกลับไปอยู่ที่วัดคลองโป่ง ตอนนี้อายุของสามเณรเอมครบบวชพอดี ได้อุปสมบทที่วัดคลองโป่ง โดยมีหลวงพ่อพุก วัดหนองโว้ง อำเภอสวรรคโลกเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้จำพรรษาที่วัดคลองโปร่ง เมื่อหลวงพ่อเอมเอมบวชได้สิบกว่าพรรษา พระอุปัชฌาย์นวมซึ่งพรรษาแก่กว่าท่านเล็กน้อยและเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองโป่งต่อจากหลวงปู่เหล็กได้มรณภาพลง คณะสงฆ์และชาวบ้านก็พร้อมใจกันยกหลวงพ่อเอมขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองโป่ง พร้อมๆกันนั้นก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง(เจ้าคณะอำเภอ)ที่พระครูธรรมภารโกศล ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงแต่งตั้งให้หลวงพ่อเอมเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นหลวงพ่อเอมอายุได้ ๔๒ ปี(พ.ศ.๒๔๕๗) และต่อท่านอายุได็ ๕๐ ปี(พ.ศ.๒๔๖๕) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะเมืองสุโขทัย(ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย)

เมื่อหลวงพ่อเอมได้ัรับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดครองโป่งและเจ้าคณะจังหวัด ท่านได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดคลองโป่ง และวัดวาอารามต่างๆที่อยู่เขตความปกครองของท่าน การสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติมของวัดโพธิ์ด้วยการออกวัตถุมงคลออกจำหน่าย เนื่องจากท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสุโขทัย ดังนั้นวัตถุมงคลของท่านจึงจำหน่ายหมดในเวลาไม่นานเพราะเป็นที่ต้องการของชาวศรีสำโรง

นอกจากนี้ การปฏิบัติหน้าที่ทางสงฆ์ หลวงพ่อเอมท่านก็ได้ปฏิบัตฺหน้าที่ได้อย่างเคร่งครัดเป็นไปตามระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงฆ์ ไม่บกพร่องในหน้าที่อุปัชฌาย์ แม้การเดินทางไปอุปสมบทในที่ทางไกลด้วยความยากลำบาก ท่านก็ไม่เคยบ่นหรือย่อถอยเลย เช่นการไปทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์ในเขตอำเภอกงไกรลาศซึ่งมีระยะทางห่างจากวัดคลองโป่งเกือบสี่สิบกิโลเมตร ซึ่งการเดินทางบกในสมัยนั้นลำบากมาก(ถนนไม่สะดวกเหมือนปัจจุบันนี้)

ด้วยคุณงามความดีของหลวงพ่อเอม ท่านจึงได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยดังได้กล่าวมาแล้ว แต่แล้วก็เกิดอุบัติเหตุเศรษฐกิจทางการเงินของประเทศ กล่าวคือเศรษฐกิจของประเทศเกิดตกต่ำลง เงินในพระคลังเหลือน้อยมากไม่พอใช้จ่าย(เงินเดือนข้าราชการ) ได้มีการยุบเลิกส่วนราชการบางหน่วย ทั้งส่วนกลางและส่วนภูิมิภาค รวมทั้งได้มียุยจังหวัดต่างๆไป ๙ จังหวัดในปีนั้น จังหวัดสุโขทัยถูกยุบไปรวมกับจังหวัดสวรรคโลก ในปี พ.ศ.๒๔๗๔ ด้วยเหตุนี้ตำแหน่งทางคณะสงฆ์"เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย" ซึ่งพระครูธรรมภาณโกศล(เอม)ครองอยู่นั้น จึงถูกยุบไปด้วย การหลุดจากตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยของหลวงพ่อเอมในครั้งนี้ มิใช่เกิดจากความผิดหรือความบกพร่องแต่ประการใดของหลวงพ่อ ตรงกันข้ามหลวงพ่อมีแต่ความดีความชอบ และประกอบกรณียกิจเป็นคุณประโยชน์ต่อพระศาสนาและบ้านเมืองเป็นอย่างมาก เป็นที่เคารพในหมู่มหาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งฝ่ายบรรพชิตและฆราวาส คณะสงฆ์จึงเห็นสมควรแต่งตั้งท่านให้ดำรงตำแหน่ง"เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัยกิตติมศักดิ์" สืบต่อมาจนกระทั่งหลวงพ่อเอมได้มรณภาพลงในปลายปี พ.ศ.๒๔๘๔

ที่มา : http://skeereewichien.blogspot.com/2011/11/blog-post.html