แหล่งเรียนรู้ในชุมชน

วัดคลองโป่ง

ในอดีตมีเกจิคณาจารย์ที่เลื่องชื่อนับแต่สมัยรัชกาลที่ 5 อย่างหลวงพ่อเอมวัดคลองโป่งหรือพระครูธรรมภาณโกศล

วัดโสภาราม

บุคคลทั่วไปเรียกว่า พระสุโขทัยองค์ใหญ่

วัดคลองโป่ง

หลวงปู่เอม รุ่น 1

หลวงปู่เอม รุ่น 2

หลวงปู่เอม รุ่น 3

หลวงปู่เอม รุ่น 4

วัด คือคำเรียกสถานที่สำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดจะมี กุฏิ ซึ่งใช้เป็นเป็นที่อาศัยของนักบวชในศาสนาพุทธซึ่งก็คือ พระสงฆ์ อีกทั้งยังมีเจดีย์ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ มีไว้เพื่อศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่นศีลห้าที่ประชาชนต้องรู้และน้อมนำมาปฏิบัติ เพื่อทำให้ชีวิตพ้นทุกข์ไปในระดับหนึ่งซึ่งเป็นระดับพื้นฐานของเรา และวัดยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ถ่ายรูป เพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้เข้าถึงพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น

วัดคลองโป่ง เป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธในบริเวณตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง คลองโป่ง ตั้งอยู่ที่บ้านคลองโป่ง หมู่ที่ 2 ตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 45 ไร่ 2 งานในอดีตมีเกจิคณาจารย์ที่เลื่องชื่อนับแต่สมัยรัชกาลที่ 5 อย่างหลวงพ่อเอมวัดคลองโป่งหรือพระครูธรรมภาณโกศล (เอม,พ.ศ.2415-พ.ศ. 2484 เป็นอดีตเจ้าอาวาส และประจำอยู่ที่วัดแห่งนี้

พระครูธรรมภาณโกศลหรือที่ชาวศรีสำโรงรู้จักรในหลวงพ่อเอม วัดคลองโปร่ง "เทพเจ้าของชาวศรีสำโรง ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดของจังหวัดสุโขทัยในยุคสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเฉพาะพระเครื่องที่เป็นเหรียญปั้มรูปเหมือนใบเสมารุ่นแรกของท่านมีค่านิยมสูงสุดของจังหวัดสุโขทัย (หลายแสนบาท) นอกจากท่านจะเป็นพระที่เชี่ยวชาญในวิชาอาคมขลังแล้ว ท่านยังเป็นพระนักพัฒนา นักเทศน์ และหมอผู้วิเศษอีกด้วย สร้างความเจริญในท้องถิ่น พัฒนาบูรณวัดต่างๆที่อยู่ในเขตความปกครองของท่าน การสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติมของวัดโพธิ์ด้วยการออกวัตถุมงคลออกจำหน่าย เนื่องจากท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสุโขทัย ดังนั้นวัตถุมงคลของท่านจึงจำหน่ายหมดในเวลาไม่นานเพราะเป็นที่ต้องการของชาวศรีสำโรง

อาจารย์เสทื้อน ศุภโสภณ เล่าว่าเวลาเขาทดลองพระกัน เขาเอาพระคล้องคอแล้วดวลกันคนละนัด ถ้าไม่แน่จริงมีตาย แต่ถ้าใครมีเหรียญหลวงพ่อรับรองได้ ไม่ได้กินเลือด ร่ำลือมาจนทุกวันนี้แม้นแต่เหรียญรุ่นหลัง ต่อๆมาของหลวงพ่อ ก็ต้องใช้บารมีหลวงพ่อทุกครั้ง

นอกจากนี้ การปฏิบัติหน้าที่ทางสงฆ์ หลวงพ่อเอมท่านก็ได้ปฏิบัตฺหน้าที่ได้อย่างเคร่งครัดเป็นไปตามระเบียบการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสงฆ์ ไม่บกพร่องในหน้าที่อุปัชฌาย์ แม้การเดินทางไปอุปสมบทในที่ทางไกลด้วยความยากลำบาก ท่านก็ไม่เคยบ่นหรือย่อถอย

หลวงพ่อเอม ท่านเป็นชาวศรีสำโรงโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.2415 ในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ฯ เป็นบุตรคนสุดท้องของโยมบิดาชื่อ สน โยมมารดาชื่อ ทิม ต่อมาใช้นามสกุล"สนทิม

ในวัยเยาว์หลวงพ่อเอม ได้ข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดคลองโป่ง ในสมัยที่หลวงปู่เหล็ก เจ้าอาวาสวัดคลองโป่งในขณะนั้น ทั้งได้ศึกษาพระธรรมวินัย จนกระทั่งได้มีโอกาสไปศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีที่วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นเวลา 4-5 ปี

เมื่ออายุครบบวช ได้เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดคลองโป่ง โดยมีหลวงพ่อพุก วัดหนองโว้ง อำเภอสวรรคโลก เป็นพระอุปัชฌาย์ และได้จำพรรษาที่วัดคลองโปร่ง ทั้งยังได้ศึกษาเพิ่มเติมทั้งในส่วนของ พระปริยัติธรรม วิปัสสนากัมมัฏฐานจนเชี่ยวชาญและแตกฉาน เมื่อหลวงพ่อเอมเอมบวชได้สิบกว่าพรรษา พระอุปัชฌาย์นวม ซึ่งพรรษาแก่กว่าท่านเล็กน้อยและเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองโป่งต่อจากหลวงปู่เหล็กได้มรณภาพลง คณะสงฆ์และชาวบ้านก็พร้อมใจกันยกหลวงพ่อเอมขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดคลองโป่ง พร้อมๆกันนั้นก็ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะแขวง (เจ้าคณะอำเภอ) ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๕๗ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา วชิรญาณวโรรส ทรงแต่งตั้งให้หลวงพ่อเอมเป็นพระอุปัชฌาย์ ขณะนั้นหลวงพ่อเอมอายุได้ ๔๒ ปี(พ.ศ.๒๔๕๗) และต่อท่านอายุได้ ๕๐ ปี(พ.ศ.๒๔๖๕) ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะเมืองสุโขทัย(ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย)

หลวงพ่อเอมมรณภาพ ปลายปี พ.ศ.2484 อายุได้ 69 ปีอายุของหลวงพ่อเอมไม่ยืนเช่นเดียวพี่น้องของท่านยกเว้นยายจันทร์ที่มีอายุยืนที่สุด (80กว่าปี) ชีวิตในวัยเด็กของหลวงพ่อเล่ากันว่าท่านแก่นพอตัวทีเดียวเช่นเดียวกับเด็กลูกคนสุดท้องของพ่อแม่โดยทั่วไป สมัยที่หลวงพ่อเอมอยู่ในวัยคะนองอายุราวปีเล่ากันว่าพอตกเย็นหลวงพ่อหรือนายเอม ชอบชุกซนปีนป่ายขึ้นไปอยู่บนต้นไม้ ริมแม่น้ำยมสายเก่าทางฝั่งตะวันออกคอยแอบดูพวกผู้หญิงสาวชาวไร่ที่ไปทำไร่กลับบ้านตอนเย็น พวกสาวๆเหล่านั้นจะพากันเดินลุยแม่น้ำข้ามฟากกลับไปยังฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นย่านที่อยู่อาศัยของคนในสมัยนั้น

วัดแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ถ่ายรูป และจัดกิจกรรมในวันสำคัญต่างๆเพื่อให้ชาวบ้านที่อยู่ในหมู่บ้านนั้นได้มาทำบุญและได้ร่วมการละเล่นต่าง ๆ ร่วมกัน ซึ่งสามารถดึงดูดพุทธศาสนิกชนคนรุ่นใหม่ให้เข้าถึงพระพุทธศาสนาได้ง่ายขึ้น เช่นประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ และยังมีการประกวดร้องเพลงเพื่อให้เด็กที่มีความสามารถได้โชว์ความสามารถของตนเอง ประกวดวงดนตรี ทำให้คนในหมู่บ้านเกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และได้ทำบุญร่วมกัน ถือว่าประเพณีที่วัดคลองโป่งจัดเป็นการรวมตัวของคนในหมู่บ้านก็เป็นได้

วัดคลองโป่งยังคงเป็นศาสนสถานในพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาทสังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพุทธศาสนิกชนในบริเวณตำบลสามเรือน อำเภอศรีสำโรงจากอดีตจนถึงปัจจุบันเราจึงยังคงเห็นพุทธศาสนิกชนถือปฏิบัติสืบทอดกันมาคือ การไหว้สักการบูชารวมถึงการบูรณะซ่อมแซมวัดคลองโป่ง

ข้อมูลเนื้อหาเรื่องราว เขียนโดย : นางสาวสุภาพร พินศรี

อ้างอิง

ประวัติของวัดคลองโป่ง (มปป) https://sites.google.com/site/61watklongpong2556/home/

พระครูธรรมภาณโกศล (เอม) (มปป) สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/

พระครูธรรมภาณโกศล(หลวงพ่อเอม) (มปป) สืบค้นจากhttps://usobycat.weebly.com/

เหรียญหลวงพ่อเอม (มปป) สืบค้นจาก http://www.pralanna.com/shoppage.php?shopid

หลวงพ่อเอม หรือพระครูธรรมภาณโกศล(มปป) สืบค้นจาก https://usobycat.weebly.com/

คำบูชาถวายสักการะหลวงพ่อเอม(มปป) สืบค้นจาก https://usobycat.weebly.com/

ภาพประเพณีลอยกระทง(มปป) สืบค้นจาก https:// www.facebook.com/ชุมชนท่องเที่ยว- otop-นวัตวิถี-บ้านคลองโป่ง-1945003905803698/

ภาพประเพณีสงกรานต์(มปป) สืบค้นจาก https://www.facebook.com/photo/?fbid=

ภาพการบูรณะซ่อมแซมวัดคลองโป่ง (มปป) สืบค้นจากhttps://www.facebook.com/watpatthai