ตะกร้า/กระเป๋าสานพลาสติก

หนึ่งเป้าหมายพิเศษ

“นางบุญเตย ผิวสด ผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน”

ชื่ออาชีพท้องถิ่น : ตะกร้า/กระเป๋าสานพลาสติก

“คนพิการ” คือบุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจอารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ ทางด้านออทิสติก ทางด้านพิการซ้อน ประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ

แต่สำหรับบุคคลนี้ นางบุญเตย ผิวสด

อยู่บ้านเลขที่ 160 หมู่ 7 บ้านโปร่งเจริญ ตำบลวังใต้ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง อาชีพ ทำไร่ ทำนา อายุ 62 ปี มีความพิการทางด้านการมองเห็น ถึงแม้การมองเห็นจะไม่ชัดเจนเหมือนคนปกติทั่วไป แต่ท่านก็ไม่เคยคิดว่าเป็นอุปสรรคในการใฝ่รู้ใฝ่เรียน ท่านชอบและสนใจงานจักสาน รู้จักการนำหวาย ต้นกก ฯลฯ วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ มาผลิตเป็นข้าวของเครื่องใช้ เช่น ตะกร้า เป็นต้น

แต่ในปัจจุบันนี้ วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ เริ่มหาได้ยากขึ้น จึงได้มีการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์ให้เข้ากับสภาวการณ์ปัจจุบัน คือ การนำเส้นพลาสติกมาใช้แทนวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ เพราะพลาสติกจะมีความแข็งแรงคงทน และหาได้ง่าย นอกจากจะสานเป็นตะกร้าแล้ว สามารถนำมาประยุกต์เป็น กระเป๋า ตะกร้าลายสวยๆได้อีกหลายแบบกำหนดความรู้/แสวงหาความรู้ (ภายใน/ภายนอก) การแสวงหาความรู้ซึ่งนอกจากจะนำหวาย ไม้ไผ่ เป็นวิธีการทำโดยใช้วัสดุที่หาได้ จากธรรมชาติแล้วยังต้องแสวงหาวัสดุอื่นอีกด้วย โดยท่านได้เข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุของหมู่บ้านและชมรมคนพิการอำเภอวังเหนือได้เรียนรู้วิธีการทำสานตะกร้าจากเพื่อนในชมรม จึงได้เกิดความรู้ในการสานตะกร้าและสามารถทำได้ด้วยตนเองจนเกิดการชำนาญ โดยทั้งหมดที่กล่าวมานี้เกิดจากความรู้ที่ได้จากภายในซึ่งเป็นเพื่อนบ้านในชมรมผู้สูงอายุการสร้างความรู้ การจักสานเป็นอาชีพที่กลุ่มผู้สูงอายุและคนพิการ ชาวบ้านบ้านโปร่งเจริญ ใช้หารายได้

ในยามที่ว่างจากการทำสวน ทำไร่ มาฝึกฝนสานเส้นพลาสติกเป็นรูปแบบต่าง ๆ โดยท่านได้พยายามฝึกฝนตนเอง และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆเช่น ชมรมคนพิการ อินเตอร์เน็ต ยูทูป และแหล่งความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

ขั้นตอนและวิธีการทำ การเตรียมวัสดุ

1. เตรียมพลาสติกแม่แบบการสานตะกร้าพลาสติกตามความต้องการ เลือกสีเส้นพลาสติกให้เหมาะสมกัน

2.เริ่มสานตะกร้าพลาสติกตามแม่แบบที่ออกแบบไว้ เมื่อจัดเส้นพลาสติกแล้ว ให้นำเส้นพลาสติกทุกด้านมาขัดกับลาย โดยขัดเว้นเส้น

3.ขึ้นลายข้างตะกร้า โดยการสานจะใช้ 3 เส้นในการสาน 1 รอบ ดึงเส้นพลาสติกที่ขัดไว้มาสานกับ 3 เส้นที่ขึ้นลาย สานสลับเส้น เมื่อขัดเส้นที่ขัดไว้กับลายแล้ว ให้สานเส้นถัดไปเหมือนเดิม

4.เมื่อสานเสร็จแล้ว ให้บีบตามขอบของตะกร้า เพื่อทำให้เป็นทรงการเก็บความรู้ ท่านได้ใช้วิธีการจดจำจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆถ่ายทอดจากเพื่อนในชมรมเดียวกันแล้วลงมือทำตามขั้นตอนที่คนในชมรมได้ถ่ายทอดและลงมือปฏิบัติตามคำแนะนำจนเกิดความชำนาญการถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ ถ่ายทอดของท่านความรู้ที่ได้ไปสู่ผู้คนที่อยู่ในชุมชน หมู่บ้าน หรือผู้ที่สนใจอยากจะสานต่อก็สามารถสอบถามได้

จากการที่ท่านได้เรียนรู้การสานตะกร้ามาเป็นเวลานานทำให้ท่านนำความรู้ที่ได้ไปประกอบเป็นอาชีพในชีวิตประจำวันและเผยแพร่แก่ชาวบ้านในหมู่บ้านตนเองและหมู่บ้านใกล้เคียงจนทำให้ครอบครัวมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการสานกระเป๋าจำหน่าย

นอกจากนี้ท่านยังได้รับเกียรติเป็นวิทยากร สอนการสานตะกร้า ใน ชุมชนต่างๆภายในและภายนอกเขตอำเภอวังเหนือ มาโดยตลอด

สำหรับท่านสนใจติดต่อได้ที่นางบุญเตย ผิวสด บ้านเลขที่ 160 หมู่ 7 บ้านโปร่งเจริญ ตำบลวังใต้ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง โทร. 098-7753161

ผู้ให้ข้อมูล : นางบุญเตย ผิวสด

เรียบเรียง : นางสาวสุธาสินี เสียงดี ครูผู้สอนคนพิการ

รูปภาพ : นางบุญเตย ผิวสด /นางสาวสุธาสินี เสียงดี