กศน.ตำบล

ร่องเคาะ


วิถีวัฒนธรรม บ้านสบลืน “รอยพระพุทธบาทโบราณ นานนับรอยเท้าบนหิน พระสิงห์ศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า หาญกล้าพ่อหอคำ อัศจรรย์พระไม้สลัก ลี้ลับถ้ำจำปูดิน สถิตย์อยู่คู่เมืองวัง เลิศล้ำนามบ้านสบลืน ” จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1035 ถนนสายลำปาง - วังเหนือ หลักกิโลเมตรที่ 85 คือปากทางเข้าหมู่บ้านสบลืน หมู่ที่ 7 ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง จากการอพยพของชาวบ้านบ้านกว๋าง อำเภอแจ้ห่ม มาอยู่บริเวณที่แม่น้ำแม่ลืน มาบรรจบกันกับแม่น้ำแม่สง ฤ(ชาวบ้านเรียกว่า มาพบกันหรือมาสบกัน) จึงได้ตั้งชื่อวัดและหมู่บ้านว่า “สบลืน” ในปี พ.ศ.2421 ที่นี่วัดสบลืน ร่องรอยของอริยธรรมของพระพุทธศาสนา หลายร้อยปี พิพิธภัณฑ์หอคำเจ้าฟ้านครลำปาง เป็นพระตำหนักจำลองที่ประทับ และว่าราชการของราชสำนักเจ้าฟ้าล้านนาในอดีต สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2546 เพื่อถวายแด่เจ้าพ่อหอคำดวงทิพย์ กษัตริย์องค์ที่ 3 ที่ครองเมืองลำปางในสมัยปี พ.ศ.2337–2368 และเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่เจ้าฟ้านครลำปางทุกพระองค์ ปัจจุบันได้จัดแสดงโบราณคดีวัตถุ เช่นถ้วยชามสังคโลก ภาพฝาผนังแสดงถึงวิถีชีวิตของชุมชนในอดีต องค์พระประทานไม้พระเจ้าทันใจ และของโบราณอื่น ๆพระราชประวัติเจ้าพ่อหอคำดวงทิพย์ เจ้าพ่อหอคำดวงทิพย์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับเจ้าพ่อหอคำ เจ้าพ่อหอคำดวงทิพย์ เป็นราชโอรสของเจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระยา สุลวะลือไชยสงคราม หรือพ่อหนานทิพย์ช้าง เจ้าฟ้าหลวงชายแก้ว มีพระราชโอรส 10 พระองค์ คือ พระเจ้ากาวิละ ครองเมืองลำปาง 2325 ต่อมาได้ครองเมืองเชียงใหม่เจ้าคำโสม ครองเมืองลำปาง 2325เจ้าหน้อยธรรมหรือพระยาธรรมลังกา ครองเมืองเชียงใหม่ 2358เจ้าพ่อหอคำดวงทิพย์ เป็นเจ้าอุปราชเมืองเชียงใหม่ต่อมา ครองเมืองลำปาง 2337 - 2368เจ้าหญิงศรีอโนชาเป็นเป็นอัครชายาในกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระราชอนุชาในรัชกาลที่ 1เจ้าศรีวัณณา สิ้นพระชนม์ครั้งทรงพระเยาว์เจ้าหมูหล้า เป็นอุปราชเมืองลำปางเจ้าคำฟั่นเป็นเจ้ารัตนวังหลังเมืองลำพูน 2348 ต่อมาเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่เจ้าศรีบุญทัน สิ้นพระชนม์ครั้งทรงพระเยาว์เจ้าบุญมาเป็นอุปราชเมืองลำพูน ต่อมาเป็นพระยา นครลำพูน 2358 บนดอยเหนือวัดขึ้นไปประมาณ 1 กิโลเมตร เหนือระดับน้ำทะเล ปานกลางกว่า 1,200 เมตร ชาวบ้านเรียก ดอยพระพุทธบาท หรือดอยธิ ค้นพบรอยพระบาทขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏอยู่บนหิน ขนาดความกว้าง 60 เซนติเมตร ยาวประมาณ 120 เซนติเมตร เป็นรอยพระบาทข้างช้าย ซึ่งจะมีประเพณีบวงสรวงรอยพระพุทธบาท ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 เหนือ ของทุกปี ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนร่วมใจกันบวงสรวงรอยพระพุทธบาทเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ร่องรอยอารยธรรมรอยแกะสลักหิน ทางทิศเหนือของรอยพระพุทธบาท พบรอยแกะสลักหิน จำนวน 70 ภาพ ตามแนวแยกของหน้าผา อายุประมาณ 4,000–2,000 ปีที่แล้ว และทางทิศใต้ประมาณ 900 เมตรจากรอยพระพุทธบาท ประดิษฐานพระพุทธรังสี เพื่อกราบไหว้สักการะ บริเวณนี้ชาวบ้านเรียกว่า “ม่อนจิบอกไฟ” เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวยามเช้าก่อนพระอาทิตย์ขึ้นที่นี่จะมีทะเลหมอกที่สวยงามตระการตา รอแสงตะวันสาดแสงมา จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งของที่นี่ใต้ถุนบ้านเลขที่ 14 หมู่ 7 ของคุณยายบุญปั๋น มัชชะ ที่นี่แหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านการทอผ้า จากดอกฝ้ายดอกเล็ก ๆ นำมาอีดและปั่นเป็นเส้นใยฝ้าย ย้อมสีธรรมชาติจากจากภูมิปัญญาที่สั่งสมมาตั้งแต่อดีตทักทอมือเป็นผืนผ้าด้วยกี่โบราณที่สืบทอดจากปู่ย่าตายายจากรุ่นสู่รุ่น สืบทอดกันมา เสียงกระแทกฟืมกับผืนผ้า สลับกับเสียงไม้คานที่เหยียบของกี่ทอมือ ทำให้ย้อนคิดถึงบรรยากาศเก่า ๆ ตอนเด็ก ๆ ที่ไปเที่ยวบ้านไหน ก็เห็นคุณยาย คุณย่า นั่งทอผ้าอยู่ใต้ถุนบ้าน จนเดี๋ยวนี้การก่อสร้างบ้านเรือนเปลี่ยนไป พร้อมกับการดำเนินชีวิตแบบดั่งเดิมเลือนหายไปกับอดีต ที่นี่ทำให้รำลึกถึงกลิ่นอายของอดีตอีกครั้ง ภูมิปัญญาของชาวบ้านในชุมชน เป็นสิ่งที่ชาวบ้านได้คิด แล้วนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน การแก้ไขปัญหา รวมถึงการสร้างขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิตจนสั่งสมเป็นองค์ความรู้ทั้งหมดของชาวบ้านในชุมชนดอกฝ้ายสวยงามดอกเล็ก ๆ ผ่านกระบวนการต่างๆจนได้ผ้าทอผืนงาม ภายใต้ชื่อ “ ฮักทอ” ล้วนเกิดจากภูมิปัญญาที่ผ่านการสั่งสมถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ผ่านการสร้างสรรค์ออกแบบลวดลายบนผืนผ้าของคนรุ่นใหม่ โดยมีนางสาวชลนัฐ มัชชะ เป็นประธาน และมีผู้นำชุมชน หน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุนทั้งหน่วยงานพัฒนาชุมชนอำเภอวังเหนือ กศน.อำเภอวังเหนือ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นแรงผลักดันและสนับสนุน ซึ่งทุกกระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผ้าที่ทอออกมาเป็นผืน ไม่ได้อาศัยแค่ฝีมือและความรู้ความชำนาญของผู้ทอเท่านั้น ทุกเส้นสายลายผ้าออกมาจากจากหัวใจศิลปะที่แตกต่างกัน เส้นฝ้ายที่ปั่นให้ความหนาของเส้นไม่เท่ากัน สีที่ย้อมออกมาไม่เหมือนกัน นอกจากนี้แความสามารถในการทอ การสอดกระสวย ความแรงในการตีกระทบ หรือแม้แต่อารมณ์ความรู้สึกของผู้ทอ ทำให้ผ้าทอแต่ละผืนมีความสวยงาม มีเอกลักษณ์เฉพาะ สร้างความภาคภูมิใจให้กับผู้ทอเป็นอย่างยิ่งการบริหารจัดการของชุมชน โดยบูรณาการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า กับภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยวิธีการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์จริงที่เกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบดั่งเดิมของคนในชุมชนให้เป็นรูปธรรม เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ผ่านวิถีการท่องเที่ยวเพื่อให้เกิดการกระจายรายได้ในชุมชน ก่อเกิดความภาคภูมิใจในวิถีชีวิต เกิดการเรียนรู้การอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ ส่งผลให้บ้านสบลืน เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าและวิจัยของนักวิชาการ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจของประชาชนทั่วไป ลองมาสัมผัสที่นี่ดูแล้วจะติดใจ อยากมาอีกบ้านสบลืน หมู่ที่ 7 ตำบลร่องเคาะ อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง 52140 ผู้ให้ข้อมูล : นายวิจิตร มัชชะ ,นางสาวชลนัฐ มัชชะเรียบเรียง : โดย นางสุมารินทร์ วงค์อารีย์ ครู กศน.ตำบลร่องเคาะรูปภาพโดย : นายวิจิตร มัชชะ ,นางสุมารินทร์ วงค์อารีย์