กลุ่มทอผ้าไหมลายเลียงผา

กลุ่มแม่บ้านบ้านโคกจิก หมู่ที่ 2 ต.หนองเยือง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์

กศน.ตำบลหนองเยือง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายกลุ่มแม่บ้าน บ้านหนองเยือง หมู่ที่ 2 ต.หนองเยือง อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ จ.บุรีรัมย์ สนับสนุนการทอผ้าไหมลายเลียงผาและจัดตั้งกลุ่มทอผ้า ประกอบไปด้วยผู้นำชุมชน และสมาชิกในหมู่บ้าน ได้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ด้วยวิธีการทางธรรมชาติ เกิดกระบวนการผลิตเส้นไหมตามขั้นตอน จนออกมาเป็นผ้าไหมทอมือลวดลายเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชุมชน คือ ลายเลียงผา หรือตัวเยือง เป็นที่โดดเด่น สวยงาม สามารถจำหน่ายได้ที่ตลาดชุมชน และส่งออกต่างจังหวัดตามความต้องการของผู้ซื้อได้เป็นอย่างดีเยี่ยม และสามารถหาซื้อได้ที่นี่ที่เดียว อีกทั้งยังเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่มีของดีมากมาย ให้นักท่องเที่ยวได้มาชมและสัมผัส

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

ก่อนที่จะกล่าวถึงการทอผ้าไหมไทย ควรที่จะรู้ที่มาเสียก่อนว่าก่อนที่จะเป็นเส้นไหมนั้นเนื่องจากการผลิตเส้นไหมมีขั้นตอนในการดำเนินงานที่ยาวตั้งแต่การปลูกหม่อนเพื่อเป็นอาหารของตัวไหมจนถึงไหมจนถึงการสาวไหมดังนั้นการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมจึงเป็นสาระสำคัญอันดับแรกที่จะต้องพิจารณา

ต้นหม่อน

ต้นหม่อนที่รู้จักในขณะนี้มีอยู่ 2 ชนิดคือต้นหม่อนที่ปลูกไว้กินผลเป็นช่อเวลาสุกจะมีสีดำรสอมเปรี้ยวอมหวานใช้รับประทานทำแยมได้อีกชนิดหนึ่งเป็นหม่อนที่ปลูกไว้เลี้ยงไหมหม่อนชนิดนี้มีผลเป็นช่อเล็กไม่นิยมรับประทานแต่มีใบโตและดกใช้เป็นอาหารของตัวไหมได้ดีสำหรับพันธุ์หม่อนที่ปลูกไว้เลี้ยงไหมในประเทศมีอยู่หลายพันธุ์เช่น หม่อนน้อย หม่อนตาดำ หม่อนส้ม หม่อนสร้อย หม่อนไผ่ หม่อนจาก หม่อนสา หม่อนหยวก หม่อนใบมน หม่อนใบโพธิ์ หม่อนแก้วชนบท หม่อนคุณไพ หม่อนแก้วอุบล ฯลฯ ซึ่งบางชื่ออาจจะเป็นพันธุ์เดียวกันแต่เรียก ชื่อต่างกันตามท้องถิ่นแต่หม่อนที่นิยมปลูกเพื่อเลี้ยงไหมกันมากตามท้องที่ต่างๆ มีดังนี้

หม่อนน้อย

เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้มีทรงต้นผอมสูงกิ่งมีขนาดใหญ่ลำต้นมีสีนวลๆ ตามีมากลักษณะขอบใบหนาเป็นมันสีเขียวแก่เป็นรูปใบโพธิ์ปลายใบแหลมขอบใบไม่มีเว้าหรือมีก็จะเป็นแบบเว้าตื้นๆ ประมาณ 2 - 3 เว้าเท่านั้นมีขนบนใบน้อยมากเมื่อลูบไม่รู้สึกสากมือเป็นที่นิยมปลูกมากที่สุดแต่เป็นโรครากเน่าง่าย

หม่อนไผ่

เป็นหม่อนให้ดอกตัวเมียกิ่งมีขนาดปานกลางลำกิ่งอ่อนโค้งมีสีน้ำตาลอมเขียว ตาค่อนข้างมากขอบใบเว้าหมดทุกใบ มีปริมาณเนื้อใบน้อยใบบางสากมือให้ผลผลิตต่ำเชื่อว่า เป็นพันธุ์ที่ต้านโรครากเน่าจึงเหมาะสำหรับนำไปเป็นต้นตอในแปลงที่มีโรครากเน่าระบาด

หม่อนตาดำ

เป็นหม่อนที่ให้ดอกตัวผู้มีทรงต้นผอมสูงคล้ายหม่อนน้อยกิ่งมีขนาดเล็กกว่าและลำต้นมีสีเขียวกว่าหม่อนน้อยใบขนาดเล็กบางไม่เป็นมันสีเขียวอ่อนเป็นรูปไข่ปลายใบ แหลมใบเว้า 5 - 8 ใบนับจากโคนกิ่ง

จัดทำโดย : นางสาวเตือนใจ แก้วคุณนะ ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล
ถ่ายภาพโดย : http://gg.gg/m7jew