ชื่อวิทยากร : นางมยุเรศ ปลอดเปลื้องแหล่งเรียนรู้ด้าน : ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นสถานที่ตั้ง : เลขที่ 20/1 หมู่ 11 ตำบลหมอนทอง อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทราโทรศัพท์ : 037- 364342 , 081- 9460730
ประวัติความเป็นมา
ในปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็น ปัญหาที่สำคัญทำให้เกิดปัญหาความยากจน การส่งเสริมให้ประชาชนสร้างรายได้ ลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยการทำผลิตภัณฑ์ในครัวเรือนใช้ได้เอง และสามารถนำออกจำหน่ายเป็นอาชีพเสริมได้ เป็นการแก้ไขปัญหาความยากจนได้อีกวิธีหนึ่ง ถึงแม้รายได้จะไม่มาก แต่ก็อยู่ได้ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก้าวแรกของการพึ่งพาตนเอง
การฝึกอบรมทำผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นจากเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอบางน้ำเปรี้ยว และผลิตเองในครัวเรือนโดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ในพื้นที่นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เริ่มผลิตใช้เองในครัวเรือนและขายในหมู่บ้าน / ชุมชน และได้มีการรวมกลุ่มฯ ทำอาชีพเสริม การทำผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น ขายในหมู่บ้านและนอกหมู่บ้าน สามารถเป็นวิทยากรฝึกอบรมให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนใกล้เคียง
งค์ความรู้
กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น มีกิจกรรมในการผลิตสินค้าเพื่อการจำหน่าย นอกจากนั้น ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ประชาชนผู้สนใจในการดำเนินงานกิจกรรมของกลุ่ม รวมถึงการเป็นวิทยากรแก่ผู้สนใจทั่วไป ในหมู่บ้านใกล้เคียง
จุดประสงค์/เป้าหมาย
1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่มฯ ทุกคนให้สามารถพึ่งพาตนเอง อยู่ได้อย่างพอเพียง อยู่ร่วมกันอย่างเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเป็นอยู่ดีขึ้นได้ด้วยการเรียนรู้ร่วมกัน2. การพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้าน และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์3 การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และการส่งเสริมกลุ่มอาชีพทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
วิธีการถ่ายทอดความรู้
1.เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้แก่สมาชิกกลุ่มและสตรีในหมู่บ้าน/ชุมชน2.การแนะนำอธิบายโดยเอกสารวิธีการทำขั้นตอนต่างๆ
รางวัลเกียรติยศและความภาคภูมิใจ
เป็นการส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มฯ ในหมู่บ้าน มีอาชีพเสริม สามารถลดรายจ่าย เพิ่มรายได้แก่ครอบครัวในช่วงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และเป็นการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต เพียงเท่านี้ก็สามารถยืนหยัด อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ได้อย่างมีความสุขความคาดหวังและสิ่งที่จะทำในอนาคต เน้นหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างงาน สร้างรายได้ ลดรายจ่าย และเพิ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นของหมู่บ้าน และได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน ให้เป็นที่ยอมรับ และสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค เน้นให้มีการพัฒนาแบบยั่งยืน อีกทั้งสนับสนุนนโยบายสำคัญของรัฐบาล ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการแก้ปัญหาความยากจนของชุมชน โดยมุ่งเน้นความสำคัญของการนำภูมิปัญญาชาวบ้านและทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาพัฒนา และสร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น มีคุณภาพ มีจุดเด่น มีเอกลักษณ์ มีการพัฒนาท้องถิ่น สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งตนเองได้