นายสุขุม คงสำราญ
การทำน้ำหมักชีวภาพ/การปลูกข้าวปลอดสารพิษ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน
สาขาวิชา เกษตรกรรม
ชื่อ นายสุขุม นามสกุล คงสำราญ
ที่อยู่บ้านเลขที่ เลขที่ 51 หมู่ 5 ตำบลโสธร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
รหัสไปรษณีย์ 24000
หมายเลขโทรศัพท์ 081-2787678
ด้านการเกษตร
ผู้ดูแลแหล่งเรียนรู้ ชื่อ นายสุขุม คงสำราญ ประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลโสธร ที่อยู่ เลขที่ 51 หมู่ 5 ตำบลโสธร อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา
หมายเลขโทรศัพท์ 081-2787678
ผู้ประสานงาน นางสาวกัญญาภัค เพ็ญภาค ครู กศน.ตำบลโสธร
ประวัติแหล่งเรียนรู้ จุดเริ่มต้นมาจากนายสุขุม คงสำราญ ที่เกิดความคิดและประสบปัญหาในการประกอบอาชีพการเกษตร จึงได้ติดต่อเพื่อขอคำปรึกษากับสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองฉะเชิงเทราและกรมพัฒนาที่ดิน จากการประสานงานทางหน่วยงานราชการทั้ง 2 แห่ง ก็ได้ให้คำแนะนำ ความช่วยเหลือมาอย่างต่อเนื่อง จนได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลโสธรขึ้น และได้มีการดำเนินการคัดเลือกคณะกรรมการประจำศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลโสธรขึ้น ซึ่งการดำเนินงานก็มีการจัดประชุมเกษตรกรตำบลโสธร เพื่ออบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติเพื่อนำไปใช้ในการประกอบอาชีพของตนเองได้อย่างเหมาะสม ซึ่งปัจจุบันศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลโสธรได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลโสธรและนายสุขุม คงสำราญ เป็นวิทยากรและผู้ดูแลประจำศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลโสธร
สภาพปัญหา พื้นที่ตำบลโสธรประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา แต่ทว่าจะมีชาวนาสักกี่คนที่ทำนาแล้วขายผลผลิตในแต่ละฤดูแล้วมีผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ ยิ่งในยุคที่เศรษฐกิจไม่ดี สินค้าชนิดต่างๆ ทยอยขึ้นราคา ไม่ว่าจะเป็นปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง ด้วยเหตุนี้นายสุขุม คงสำราญ หรืออดีตผู้ใหญ่สุขุม เกษตรกรที่ยึดอาชีพทำนามาเกือบตลอดทั้งชีวิต ได้มองเห็นถึงวิกฤตที่จะเกิดขึ้นกับชาวนาไทย การทำนาที่หวังจะหาแต่ผลกำไรไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากการสังเกตของผู้ใหญ่สุขุม มองเห็นคนที่ทำนาในพื้นที่ตำบลโสธร คนปลูกข้าวทำไมไม่กินข้าวที่ตนเองปลูก จากคำตอบที่ได้คือ ไม่มีใครกล้านำข้าวที่ตนเองปลูกไปสีรับประทานกันในครัวเรือนเลย สีข้าวเพื่อนำไปเลี้ยงสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงในบ้านเท่านั้น จากคำถามดังกล่าวคำตอบที่ได้คือข้าวที่ชาวบ้านทำมีการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงจำนวนมาก ชาวนาจึงไม่อยากกินข้าวที่ตนเองปลูก จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น ผู้ใหญ่สุขุมจึงเกิดความคิดเรื่องการทำนาปลอดสารพิษ ประกอบกับในพื้นที่หมู่ 5 บ้านหุบใน ตำบลโสธร เป็นที่ตั้งของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลโสธร ทำให้ผู้ใหญ่สุขุมเปลี่ยนการทำนาของตนเองในแบบเดิมๆ หันมาให้ความสำคัญ โดยการให้ธรรมชาติจัดการตัวของมันเอง เลิกการเผาตอซังฟางข้าวเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน จากเดิมเคยจับเครื่องพ่นยา ต้องหันมาจับสวิงโฉบหาแมลง เพื่อดูว่าแมลงที่เป็นอันตรายต่อข้าวจริงๆ แล้วมีมากพอที่จะใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นหรือไม่ จากการใช้ปุ๋ยเคมีก็หันมาใช้น้ำหมักชีวภาพที่ทำขึ้นใช้เอง ซึ่งได้นำความรู้จากการไปศึกษาดูงานจากเกษตรกรในพื้นที่ต่างๆ และการศึกษาทดลองหาความรู้ด้วยตนเองมาใช้อย่างจริงจัง การทำนาแบบปลอดสารไม่เผาฟางข้าว ทำให้ลดต้นทุนการผลิตและผลผลิตในนาก็ไม่ได้ลดน้อยลงไปด้วยเลย ดังนั้นผู้ใหญ่สุขุมจึงพัฒนาศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลโสธร ให้เป็นแหล่งความรู้และให้คำแนะนำกับเกษตรกรในตำบลและประชาชนทั่วไป รวมถึงยังเป็นสถานที่ในการศึกษาดูงานของเกษตรกรและบุคคลทั่วไปด้วย
การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ สามารถรองรับประชาชนได้ประมาณ 50 คน ไม่สามารถพักค้างแรมได้ รายละเอียดค่าใช้จ่ายสามารถติดต่อสอบถามโดยตรงได้กับผู้ดูแลศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลโสธร พิกัดที่ตั้งของศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลโสธร 13.681867,101.0298402
องค์ความรู้ เป็นฐานการเรียนรู้ ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- การทำน้ำหมักชีวภาพ
- การปลูกข้าวปลอดสารพิษ
- การปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข่า ตะไคร้ เป็นต้น
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรตำบลโสธรมีสื่อ เอกสาร แผ่นพับให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ไว้ให้บริการกับผู้ที่มาเรียนรู้ฟรี
หลักสูตร/กิจกรรม
การทำน้ำหมักชีวภาพจากปลา
วัสดุอุปกรณ์
1.) ปลา(หัวปลา เกล็ดปลา ไส้ปลา เป็นต้น) 2.) น้ำตาลทราย 3.) พด.2
4.) เปลือก/เนื้อสับปะรด 5.) น้ำมะพร้าว 6.) น้ำสะอาด 7.) ถังพลาสติก
วิธีดำเนินการ
1. ละลายน้ำตาลทรายลงในน้ำสะอาด 10 ลิตร (ไม่ควรใช้น้ำประปาจากก๊อก แต่ควรใช้น้ำที่ตักพักไว้) แล้วคนให้เข้ากันเมื่อละลายแล้วเทปลาลงไป
2. การเตรียมพด.2 นำพด.2 มาละลายน้ำสะอาด พักทิ้งไว้ 5 นาที
3. นำสารละลาย พด.2ที่เรียบร้อยแล้ว เทลงถังที่เตรียมปลาไว้แล้ว
4. ใส่เปลือก/เนื้อสับปะรดและน้ำมะพร้าวคนให้เข้ากัน (ช่วยลดกลิ่นปลาหมัก)
5. จากนั้นปิดฝาถัง วางในที่ร่ม หมักไว้อย่างน้อย 1 เดือนก็สามารถนำไปใช้ได้
ผลงานที่ปรากฏ (ความรู้ ความสามารถ ทำอะไรบ้าง)
1. เป็นวิทยากรให้ความรู้ในเรื่องการทำน้ำหมักชีวภาพ
2. เป็นวิทยากรให้ความรู้ในการปลูกข้าวปลอดสารพิษ
3. เป็นวิทยากรให้ความรู้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข่า ตะไคร้ เป็นต้น
ความภูมิใจ (เกียรติบัตร หนังสือชมเชย โล่ หัวหน้า ประธาน)
ได้รับรางวัลรองชนะเลิศลำดับที่ 2 ในการคัดเลือกหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ “อยู่เย็น เป็นสุข ระดับอำเภอ” ประจำปี 2555