อาชีพ

ความหมายของอาชีพ

อาชีพ (Occupation) หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงาน การประกอบการใดๆ ที่ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ เป็นงานที่สุจริต ไม่ผิดศีลธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม โดยอาศัยแรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการต่าง ๆ กันไป

ความสำคัญของอาชีพ

การมีอาชีพเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในวิถีชีวิตและการดำรงชีพของบุคคล เพราะอาชีพสร้างรายได้เพื่อเลี้ยงชีพตนเองและครอบครัว อาชีพจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัวดีขึ้น เศรษฐกิจประเทศโดยรวมจะดีตามไปด้วยการสร้างอาชีพก่อให้เกิดตลาดแรงงาน อาชีพก่อให้เกิดผลผลิตและการบริการที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภค

อาชีพมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ ถือว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจชุมชน ส่งผลถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศชาติ

สาเหตุของการแบ่งงานและอาชีพ

- ความรูความสามารถของแต่ละคนแตกต่างกัน

- ลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่นแตกต่างกัน

- ไดรับมอบหมายใหกระทำหน้าที่แตกต่างกัน

ประโยชน์ของการแบ่งงานอาชีพ

- สามารถสนองความต้องการซึ่งกันและกันได้

- ได้ทำงานในสิ่งที่ตนถนัด

- ก่อให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจในด้านต่างๆ

ลักษณะของงานอาชีพ

ลักษณะของงานอาชีพมีดังนี้

1. อาชีพเกษตรกรรม เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ บุคคลที่เลือกประกอบอาชีพเกษตรกรรมต้องมีความชอบและรักการปลูกต้นไม้ เลี้ยงสัตว์มีความเอาใจใส่ไม่รังเกียจความสกปรกต้องอดทนต่อสภาพดินฟ้อากาศงานที่เกี่ยวข้องคือการปลูกพืชสวนพืชไร่การปศุสัตว์และการประมง ฯลฯ

2. อาชีพธุรกิจ เป็นงานที่เกี่ยวกับธุรกิจและการค้า (ธุรกิจและการจำหน่าย) อาชีพธุรกิจคือการทำงานด้านการค้าขายการำบัญชีการจัดการธุรกิจการเก็บเอกสารการติดต่อสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ

3. อาชีพอุตสาหกรรม เป็นงานที่เกี่ยวกับความถนัดด้านช่าง และเครื่องมือเครื่องจักรอุตสาหกรรม เพื่อผลิตสินค้าชนิดต่างๆ รายได้ที่ได้รับ คือ ค่าแรงงานที่เหมาะสมกับระดับความรู้ความสามารถและประสบการณ์

4. อาชีพคหกรรม เป็นงานที่เกี่ยวกับการจัดการบ้านเรือน การตกแต่งบ้านการประกอบอาหารการเย็บปักถักร้อย เพื่อชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีและประสิทธิภาพในการประกอบอาชีพต่อไป

ความคิดสร้างสรรค์ทั้งด้านศิลปกรรมไทยการตกแต่งการออกแบบในด้านต่าง ๆ เช่นหัตถกรรมประติมากรรมจิตรกรรมเป็นต้นเพื่อประโยชน์ในกา

ประเภทของอาชีพ

ในปัจจุบันอาชีพมีอยู่มากมายให้ประชาชนได้เลือกประกอบอาชีพสุจริต มีรายได้สำหรับตนเองและครอบครัวมีความก้าวหน้าในงานอาชีพเป็นที่ยอมรับของสังคม โดยทั่วไปแบ่งประเภทของอาชีพได้ดังนี้

1. อาชีพข้าราชการ ข้าราชการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ให้บริการประชาชนให้ได้รับความสะดวกสบายในด้านต่าง ๆ เช่น ปลัดอำเภอ นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด ครูอาจารย์ให้ความรู้แก่เยาวชน แพทย์ พยาบาล ตำรวจ ทหาร เป็นต้น การทำงานของข้าราชการมีระยะเวลาที่แน่นอน มีวันหยุดราชการ รายได้ หรือค่าตอบแทนที่ได้รับคือเงินเดือน ซึ่งกำหนดแต่ละระดับชั้นไว้อย่างชัดเจน โอกาสและความก้าวหน้าของงานอาชีพเลื่อนระดับขึ้นได้อยู่ที่ความสามารถของแต่ละบุคคล แต่ละหน่วยงานจะมีระบบการบริหารงานแตกต่างกันไป เพื่อความสะดวกในการบริหารและประสิทธิภาพในการทำงาน โดยมุ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก

2. อาชีพลูกจ้าง ลูกจ้างหรือพนักงานเป็นการประกอบอาชีพที่ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการ แต่เป็นลูกจ้างหรือพนักงานขององค์กรธุรกิจหรือหน่วยงานต่าง ๆ โดยปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือตามที่ได้รับมอบหทมาย ค่าตอบแทนที่ได้รับคือเงินเดือน หรือรายได้ประจำวัน การประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างของคนไทย มีจำนวนมากที่สุด เนื่องจากขาดความรู้ ประสบการณ์ ขาดเงินทุน ไม่กล้าเสี่ยงกับการลงทุน

3. อาชีพส่วนตัว การประกอบอาชีพส่วนตัวหรืออาชีพอิสระ หมายถึง การประกอบธุรกิจเป็นของตนเอง หรือเป็นการลงทุนร่วมกับบุคคล เป็นนายจ้างตนเอง แต่จะต้องมีความมุ่งมั่น มานะและอดทนในการทำงาน และพร้อมที่จะฟันฝ่าอุปสรรค รายได้ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความขยัน ความอดทน และความพยายาม

3.1 อาชีพการผลิต (Production Sector) เป็นอาชีพที่ดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตสำหรับจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค อาชีพการผลิตแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1) ธุรกิจการเกษตร (Agricultural Processing) อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของคนไทยส่วนใหญ่มาช้านาน ผลผลิตที่ได้เป็นผลผลิตขั้นพื้นฐานที่จะนำไป ประกอบอาชีพในรูปแบบอื่นต่อไป ประกอบด้วย การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และการประมง

2) ธุรกิจอุตสาหกรรม เป็นการประกอบอาชีพที่นำวัตถุดิบทางการเกษตรมาแปรรูป โดยผ่านกระบวนการอุตสาหกรรมให้เป็นสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาดในท้องถิ่นหรือความต้องการของตลาดทั่วประเทศหรือต่างประเทศ

3.2 อาชีพการค้า (Trading Sector) เป็นการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบการทำหน้าที่ผลิตสินค้าหรือซื้อสินค้าจากผู้ผลิตแล้วนำไปขายต่อ เป็นอาชีพที่มีลักษณะ ซื้อมาขายไป โดยมีกำไรจากการขายสินค้า แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ ธุรกิจค้าส่ง(Wholesale) และธุรกิจค้าปลีก (Retail)

3.3 อาชีพการให้บริการ (Service Sector) เป็นอาชีพที่ผู้ประกอบการทำหน้าที่ขายบริการหรือให้บริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้รับบริการหรือลูกค้า ซึ่งจะก่อให้เกิดความพึงพอใจจากการใช้บริการ และผู้ให้บริการจะได้รับค่าตอบแทนจากผู้รับบริการ

แนวทางการเลือกอาชีพ

การเลือกอาชีพของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความคาดหวังหรือความคิดของแต่ละบุคคล ดังนั้นแนวทางในการประกอบอาชีพประกอบด้วย

1. รู้จักตนเอง

2. รู้จักอาชีพที่จะเลือกดำเนินการ

3. มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และ

4. ทราบแนวโน้มทางเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ

ประกอบอาชีพหัวเรื่อง: การอิสระคือ กำไรจากเงินลงทุนดังนั้นมีดังนี้

- กล้าเสี่ยง - มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ

- มีความคิดสร้างสรรค์ - มีความรู้

- มีความเชื่อมั่นนตนเอง - มีมนุษย์สัมพันธ์

- มีความอดทน - มีความซื่อสัตย์

- มีวินัยในตนเอง - มีความรู้พื้นฐานในการเริ่มทำธุรกิจ

ปัจจัยในการประกอบอาชีพ

การประกอบอาชีพให้ประสบความสำเร็จต้องอาศัยปัจจัยต่อไปนี้

1. ทุน ควรมีการวางแผนการดำเนินธุรกิจไว้ล่วงหน้า เพื่อจะได้ทราบว่าต้องใช้เงินลงทุนเท่าใด จะหาแหล่งเงินทุนที่ใด เพื่อวางแผนการลงทุนให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองได้

2. ความรู้ ต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม การฝึกอบรมจากสถาบันด้านอาชีพหรือการทำงานเป็นทีมเกิดความชำนาญ ประสบการณ์ในการทำงานได้

3. การจัดการ มีการคัดเลือกตัวบุคคลที่จะมาร่วมคิดร่วมทำงานและร่วมลงทุน เครื่องมือ เครื่องใช้และการจัดระบบการทำงานให้เหมาะสมกับธุรกิจที่จะดำเนินการไม่ประสบความสำเร็จดังนั้นการบรรจุหีบห่อการออกแบบผลิตภัณฑ์