นางถวัล บึกบัน

นางถวัล บักบัน อายุ 47 ปี บ้านเลขที่ 78 หมู่ที่ 3 บ้านสันกลาง ต.แม่ยางร้อง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ภูมิปัญญาด้านการจักสานไม้ไผ่ โดยสามารถทำผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ได้หลากหลายรูปแบบ เช่น กระติ๊บข้าว กระเป๋าถือ กระเป๋าสตางค์ กระเช้าของที่ระลึกต่าง ๆ สามารถสั่งทำได้ตามตัวอย่าง ที่เบอร์โทรศัพท์ 084-8075237


เป็นวิทยากรให้กับพัฒนาชุมชน ในงานของดีเมืองแพร่ ร่วมกับ

ชมรมบทบาทสตรีอำเภอร้องกวาง เพื่อเป็นวิทยากร

กิจกรรมสาธิตการจักสานและนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย



เข้าร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ในงามสัมมนาหัวข้อ “เกษตรยุคใหม่ ขายให้เป็นเห็นทางรวย”

ณ โรงแรมแพร่นครา


นางถวัล บึกบัน ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่

ประวัติความเป็นมา

จากอดีตต้นไผ่ได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะในด้านงานหัตถกรรมจักสานเพื่อทำมาเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประวัน เพื่อประโยชน์ใช้สอยและงานจักสานยังสะท้อนวัฒนธรรม สะท้อน ความคิดสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาของชาวบ้าน งานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ เป็นอาชีพที่มีอยู่ดังเดิมของคนในชุมชน นิยมจักสานเพื่อมาใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ประเภทต่าง ๆ ในครัวเรือน เช่น กระบุง ตะแกรง กระด้ง ฝาชี เครื่องมือเครื่องใช้ในการเกษตร เช่นตะกร้า เข่งใส่ผลไม้ เครื่องมือที่ใช้จับสัตว์น้ำ เช่นลอบ ไซ เป็นต้น งานหัตถกรรม พื้นบ้านอย่างง่ายที่สามารถทำใช้กันได้เอง หรือสามารถหาซื้อได้ ในราคาไม่แพงเป็นอาชีพเสริมในยามว่างจากการทำเกษตร ประกอบกับผลิตภัณฑ์ที่สวยงามฝีมือประณีตจึงทำให้ผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่เป็นที่ต้องการของตลาด

นางถวัล บึกบัน อายุ 47 ปี เป็นภูมิปัญญาของชุมชนบ้านสันกลาง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ยางร้อง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ที่ได้รับการถ่ายทอดความรู้มาจากพ่อหลั่น โกสินทร์ ผู้เป็นบิดาตั้งแต่เข้าเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 อายุ 10 ขวบ ซึ่งตัวเองให้ความสนใจและฝึกฝนพัฒนาฝีมือจนแต่งงานมีครอบครัว จึงได้ทำเป็นอาชีพเสริมอย่างจริงจังหลังว่างจากการทำเกษตรกรรม ทำให้มีรายได้สามารถเลี้ยงครอบครัว ต่อมานางถวัล บึกบันได้เข้าศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอร้องกวาง ทำให้มีความรู้ มีทักษะในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ทางวิชาการ และการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี สามารถนำพัฒนางานจักสานของตนเอง ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ให้เป็นเลขานุการกลุ่ม ซึ่งนางถวัล บึกบัน เป็นผู้มีความรับผิดชอบงาน มีความพร้อมในการที่จะพัฒนาตนเอง จนได้รับความไว้วางใจให้เป็นวิทยากรจักสานไม้ไผ่ ให้กับ เทศบาลตำบลร้องกวาง กศน.ตำบลบ้านเวียง กศน.ตำบลไผ่โทน กศน.ตำบลแม่ทราย กศน.ตำบลแม่ยางร้อง เป็นต้น การจักสานผลิตภัณฑ์จากมไม้ไผ่ที่ทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษนั้น เกิดขึ้นโดยการใช้ไม้ไผ่นำมาจัก ผ่า ฉีก ให้เป็นเส้นบาง ๆ แล้วนำมาขัด สาน สอด ไขว้ ขึ้นโครงเป็นรูปทรง ทำเป็นภาชนะ เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ จัดเป็นงานศิลปะหัตถกรรมพื้นบ้านที่มีความผูกพันและอยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนในชุมชน ภูมิปัญญาในการจักสานไม้ไผ่ จะมีขั้นตอนและวิธีการที่เหมือนหรือแตกต่างกันไปตามรูปแบบ รูปทรง องค์ความรู้ภูมิปัญญาและทักษะฝีมือของแต่ละคนการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการสานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่ ก็ถือเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัยความรู้หรือภูมิปัญญาในการเตรียม วัตถุดิบ เพื่อทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งนางถวัล บึกบัน ก็สามารถทำได้ดี

นางถวัล บึกบัน ผู้มีส่วนร่วมในการจัดตั้งกลุ่มผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่บ้านสันกลาง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ยางร้อง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ที่เกิดจากการรวมกลุ่มของคนในชุมชน เพราะปัญหาการตัดราคาของพ่อค้าคนกลางและคนในชุมชนเอง ทำให้คนชุมชนเกิดแนวคิดที่จะจัดตั้งกลุ่ม เพื่อกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ โดยใช้ชื่อกลุ่มผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ บ้านสันกลาง หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ยางร้อง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ และได้จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2557 ได้รับอนุมัติเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2557 โดยใช้บ้านของผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 เป็นที่ตั้งของกลุ่ม มีนางลักส์ อินจันทร์ เป็นประธานกลุ่ม มีสมาชิกเริ่มต้น จำนวน 14 คน และในปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด 54 คน เป็นการรวมกลุ่มเพื่อการทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ กำหนดราคาของผลิตภัณฑ์ และเป็นการต่อรองราคากับพ่อค้าคนกลาง

นางถวัล บึกบัน ผู้ที่เล็งเห็นความสำคัญในการที่จะพัฒนาอาชีพของตนเองจากการทำผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่รูปแบบเดิม ๆ ไม่มีการพัฒนารูปแบบให้มีความหลากหลาย ทันสมัย ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ทำออกมาไม่สามารถจำหน่ายได้ สมาชิกมีรายได้ลดลง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่หันไปซื้อสินค้าที่สวยงาม มีความทันสมัย และตรงกับความต้องการของลูกค้า

จากการที่นางถวัล บึกบัน ได้เข้ามาศึกษาต่อกับกศน. ได้คุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับครู กศน.ตำบลที่รับผิดชอบฟัง ครูกศน.ตำบล จึงได้เกิดแนวความคิดที่จะพัฒนาอาชีพจักสาน โดยให้สมาชิกพัฒนาตนเองในการทำผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ มีขั้นตอนที่ลดเวลาและวิธีการทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ สวยงาม สามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และสามารถพัฒนาตนเองไปสู่การขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง และสมาชิกกลุ่ม โดยสมาชิกลุ่มมีความพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง ดังเช่น

การจัก “ตอก” ถือได้ว่าเป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมวัสดุในการทำเครื่องจักสานเป็นงานที่ยังคงทำด้วยฝีมือการจักตอกเป็นหนึ่งในภูมิปัญญาของบรรพบุรุษและเทคนิคที่ต้องเรียนรู้ การกดมีดให้ผ่านเนื้อไม้และผิวไม้ไผ่ให้ได้เส้นตอกที่หนา หรือบางเท่ากันตลอดนั้น ต้องมีฝีมือดีจะจักตอกด้วยความชำนาญและได้เส้นตอกที่มีความหนาหรือบาง ที่สม่ำเสมอตลอดทั้งเส้น

ลวดลายถือเป็นองค์ประกอบของงานหัตถกรรมจักสานที่มีความสำคัญ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้ ลายที่ 1 ลายพื้นฐาน หรือที่เรียกว่าลายแม่บท ลายที่ 2 ลายที่พัฒนามาจากลายพื้นฐาน ลายที่ 3 ลายประดิษฐ์ เป็นลายที่สานขึ้นตามความนึกคิดของตัวผู้สานเอง ซึ่งลวดลายต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นในการสร้างงาน หัตถกรรมจักสานผู้ทำจะมีความรู้หรือภูมิปัญญาในการสานลายที่เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอย แต่นางถวัล บึกบันสามารถพัฒนาตนเองด้วยการศึกษาค้นคว้าจาก Intenet นำเทคนิควิธีการ

สานลวดลาย และเกิดรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ แตกต่างไปจากเดิม ประกอบการได้รับการส่งเสริม สนับสนุนจากครูกศน.ตำบลในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอร้องกวาง จึงได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาอาชีพ การจัดการศึกษาต่อเนื่อง หนึ่งอำเภอ หนึ่งอาชีพ วิชาการทำผลิตภัณฑ์จักสานไม้ไผ่ ให้กับประชาชนในพื้นที่หมู่ที่ 3 ตำบลแม่ยางร้อง ทำให้สามารถพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลาย เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ และแนวคิดในการขายผลิตภัณฑ์ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อเป็นการขยายการตลาด ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เพิ่มขึ้น

จากการเข้าร่วมเรียนรู้ที่จะพัฒนาอาชีพของตนเอง นางถวัล บึกบัน สามารถพัฒนาตนเองไปสู่การเป็นวิทยากร เช่น พัฒนาชุมชนอำเภอร้องกวางได้เชิญไปเป็นวิทยากรจักสาน ในงานของดีเมืองแพร่ ชมรมบทบาทสตรีอำเภอร้องกวาง ได้เชิญเป็นวิทยากรในการสาธิตการจักสานและนำผลิตภัณฑ์ไปจำหน่าย กศน.ตำบลบ้านเวียง ได้เชิญเป็นวิทยากรวิชาชีพการทำกระติ๊บข้าว กศน.ตำบลแม่ทราย ได้เชิญเป็นวิทยากรวิชาชีพการทำกระติ๊บข้าว นอกจากการเป็นวิทยากรแล้ว นางถวัล บึกบันยังได้เข้าร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงามสัมมนาหัวข้อ “เกษตรยุคใหม่ ขายให้เป็นเห็นทางรวย” ณ โรงแรมแพร่นครา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับกลุ่มเกษตร

นางถวัล บึกบัน ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พร้อมจะพัฒนาตนเองในด้านอาชีพการจักสานผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ดังจะเห็นได้จากการพัฒนารูปแบบ ความคิดสร้างสรรค์ในการรังสรรค์ผลงาน ความละเอียดในชิ้นงาน จึงได้รับการยอมรับจากชุมชนให้เป็นผู้ที่มีความด้านการจักสานและเป็นภูมิปัญญาของบ้านสันกลาง ถึงแม้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 นางถวัล บึกบัน ก็สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ โดยเฉพาะคนในครอบครัวทีช่วยสนับสนุนในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ สร้างเพจจักรสาน by ดาหวัน เฟส ไลน์ ครอบครัวมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

สถานที่ตั้ง

บ้านนางถวัล บึกบัน เลขที่ 78 หมู่ที่ 3 ต.แม่ยางร้อง อ.ร้องกวาง

จ.แพร่ โทร 084-8075237

ละติจูด : 18.3255183537151 ลองจิจูด : 100.20649563521147

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราวโดย : นางศิริพร ริพล/นางถวัล บึกบัน

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย : นางศิริพร ริพล

ผลิตภัณฑ์ท่ีมีพัฒนาจากหนึ่งอำเภอ
หนึ่งอาชีพ

การจักตอกท่ีพัฒนาจากรูปแบบเดิม

พัฒนารูปแบบใหม่ ๆ

การเพ่ิมสีสันใหัมีความสวยงาม


การใช้ความรู้จากการทำผ้าด้นมือ

มาใช้ในงานจักสาน เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่


นางถวัล บึกบัน ผู้ท่ีมีความรู้และเชี่ยวชาญในเร่ืองการจักสาน มีการพัฒนารูปแบบของผลิตภัณฑ์ท่ีมีความหลากหลาย สวยงาม