มัสยิดดาเราะห์สอาดะห์

มัสยิดดาเราะห์สอาดะห์

ดารอสอาดะห์ แปลว่า หมู่บ้านเจริญสุข ดังนั้น มัสยิดดารอสอาดะห์จึงเป็นสถานที่นมัสการของหมู่บ้านเจริญสุข ดังที่ผู้ก่อตั้งคนแรกตั้งเอาไว้ และอยู่มาจนถึงวันนี้ และในอนาคตต่อไป มัสยิดดารอสอาดะห์ หลังแรกเป็นมัสยิดเรือนไม้ ชั้นเดียว ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 300 ตารางวา ซึ่งที่ดินผืนดังกล่าวได้รับการบริจาค (วากัฟ) จาก ฮัจยีซาอิ้ล (บุตรโต๊ะวังปานา) ตามประวัติมัสยิดดารอสอาดะห์ เรือนไม้สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ.2339 ใช้ประกอบศาสนกิจมาเป็นเวลาประมาณ 100 ปี มาในสมัย ฮัจยีอับบาส แสงวิมาน (อิหม่าม) ฮัจยีอับดุลเลาะห์การีมี (โต๊ะกีดำ คอเต็บ)นายอับดุลเราะห์มาน แสงวิมาน (บิหล่าน)

มัสยิดดารอสอาดะห์หลังที่สองขึ้นทดแทนมัสยิดเรือนไม้ ที่หมดสภาพตามกาลเวลา หรือความจำเป็นตามการใช้งานในสมัยนั้น พร้อมทั้งได้ร่วมบริจาคสมทบในการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ อาคารมัสยิดหลังดังกล่าวเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น โดยมี นายกอเซ็ม แปลน ชาวอินโดนีเซีย เป็นผู้ออกแบบ และมีช่างชาวไต้หวันทำการก่อสร้างในโครงสร้าง ส่วนที่เป็นไม้ได้นำไม้จากมัสยิดหลังแรกมาใช้งานทั้งหมด (เป็นไม้สักส่วนใหญ่) ใช้งบประมาณในการก่อสร้างในขณะนั้นประมาณ 40,000 บาท ซึ่งเป็นอาคารมัสยิดที่มีสถาปัตยกรรมที่ทันสมัยในยุคนั้น ทั้งความสวยงาม ความแข็งแรง ตลอดวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาใช้มีคุณค่าจนถึงปัจจุบัน เช่น หินอ่อนจากอิตาลี ประตูไม้สัก เป็นต้น และสามารถรองรับผู้ที่มาละหมาดได้เป็นจำนวนมาก ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีขึ้นเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

มัสยิดดารอสอาดะห์หลังแรกสร้างประมาณ พ.ศ. 2339 ซึ่งเป็นไม้สักชั้นเดียวใต้ถุนสูง เรือนไทยแบบภาคใต้

มัสยิดฯหลังที่สองนี้ก่อสร้างใน พ.ศ. 2465 และมีอายุการใช้งานโดยประมาณ 78 ปี ตลอดอายุการใช้งานได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมปรับปรุงมาหลายครั้ง เช่น พื้นชั้นดาดฟ้าและชั้นล่างของอาคาร ทำการฉาบปูนฝาผนังใหม่ เป็นต้น รูปทรงของตัวอาคารแบบผสมผสาน เช่น เสาแบบโรมัน , หลังคาทรงจั่วแบบไทย , หน้าต่างประตูแบบอาหรับ , ยอดโดมแบบมาลาย