เว็บข้อมูลความรู้ชุมชน

ศาสนสถานแห่งธรรมบารมี

วัดคลองแจง(วัดเขาแจงเบง)

ศาสนสถานแห่งธรรมบารมี วัดคลองแจง

(วัดเขาแจงเบง)

เป็นวัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐาน เช่นเดียวกับวัดป่าในสาย หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล หลวงปู่มั่น ภูวิทตฺโต และท่านพระอาจารย์สมชาย จิตวีริโย ในที่ประชุมทราบวัตถุประสงค์แล้ว ก็เลยกราบเรียนถึงเงื่อนการ ท่านบอกว่าเงื่อนไข ๔ ประการ ก็เป็นเงื่อนไขที่จะให้วัดเป็นวัดกรรมฐานนั่นเอง ท่านอธิบายขยายความเป็น ๔ ข้อ ว่า

๑. วัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น จะต้องเป็นสถานที่สงบวิเวกจากฝูงซนลุกพล่าน เป็นป่าเขาลำเนาไพร ด้วยเหตุนี้ ผู้ใดถางเข้าไปถึงเขตไหนของเขาแจงเบง ก็ให้หยุดอยู่เพียงนั้น รวมทั้งเมือสร้างเป็นวัดแล้วจะต้องไม่มีการจัดมหรสพต่าง ๆ ในวัด เช่น ภาพยนตร์ ลิเก โขนหมอลำดนตรี คอนเสิร์ต หรือเปิดเสียงดนตรีในวัดที่เป็นข้าศึกแก่บุญกุศล เป็นต้น

๒.วัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จะต้องเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่ให้มีการทรงเจ้าเข้าผี การสักเลข สักยันต์ การไสยศาสตร์ เช่นสรวงบวงสรวงสังเวยต่าง ๆ แม้การตั้งศาลเจ้าศาลพระภูมิ ศาลเพียงตา เป็นต้น ก็ไม่ให้มี

๓. วัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จะต้องเป็นสถานที่ศึกษาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน จะจัดให้มีการค้าขายในเขตวัดไม่ได้

๔.วัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น ครูบาอาจารย์ผู้ทรงศีลทรงธรรมทรงกรรมฐาน ทรงคุณความรู้ต่าง ๆ เป็นผู้บริหารดูแลวัด หากผู้ใดจะมาปฏิบัติการใด ๆ ในวัด จะต้องนำเรื่องดังกล่าวปรึกษาหารือครูบาอาจารย์ดังกล่าวเสียก่อน หากท่านพิจารณาแล้วเป็นเรื่องที่ดีไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยกฎหมายบ้านเมือง กฎมหาเถรสมาคม ระเบียบแบบแผนข้อวัตรปฏิบัติอันดีงามของพระกรรมฐาน ท่านเห็นว่าเป็นประโยชน์ เราก็ปฏิบัติตามขอบเขตที่ท่านอนุญาต แต่ถ้าหากว่าที่พิจารณาแล้วว่าเป็นเรื่องที่ขัดหรือแย้งกับพระธรรมวินัยและสิ่งที่กล่าวมา ท่านไม่อนุญาต เราไม่ฝาฝืนละเมิดประดิษฐานวัดเขาแจงเบง เมื่อมีการกราบเรียนถามเหตุผลของเงื่อนไข ท่านก็อธิบายว่า

ข้อที่ ๑. เหตุผล คือ วัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐานนั้น จะต้องมีสงบ จึงต้องมีพื้นที่ใหญ่พอควร เวลานั้นการถางป่าเข้าไปบนภูเขาอยู่ตลอด ซึ่งถ้าไม่ยับยั้ง ป่าบนเขาแจงเบงก็จะราบเรียบแน่นอน แม้เขาแจงเบงแล้วก็ยังต้องปลูกป่าเพิ่มอีก ดังจะกล่าวในบทต่อ ๆ สะดวกที่จะเขียนได้

ข้อที่ ๒. เหตุผลคือท่านไม่ต้องการให้มีสัทธรรมปฏิรูปได้แก่ การนำหลักหรือพิธีกรรมของศาสนาอื่น หรือลัทธิอื่น มาประกอบในวัดป่าปฏิบัติชรากรรมฐาน ผู้คนก็จะงมงาย แล้วแยกแยะไม่ออก นานวันเข้าเลยเข้าใจว่าเป็นหลักของพระพุทธศาสนา อันจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้พระพุทธศาสนาเสื่อมสลายได้


ข้อที่ ๓. เหตุผล คือ ถ้ามีการค้าขายในวัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐานได้ ก็จะเกิดความวุ่นวายในอนาคต คนมาวัดก็จะไม่ได้มีเจตนามารักษาศีลปฏิบัติธรรม แต่จะมาซื้อของมากกว่า แล้วบางทีสินค้าที่นำมาขายอาจจะมีผิดศีลผิดกฎหมายก็อาจจะมี เมื่อกิจการค้าขายดีก็อาจจะมีร้านค้าหลายร้านขึ้น ก็อาจจะมีการทะเลาเบาะแว้งกันในเรื่องของผลประโยชน์ ซึ่งจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียหาย หรือทำลายความสงบวิเวกของวัด

ข้อ ๔. เหตุผล คือ เป็นการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของคณะสงฆ์ผู้บริหารวัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐานที่บริหารโดยธรรมโดยวินัย รวมทั้งป้องกันการเอาแต่ใจของบุคคลที่จะเข้ามาปฏิบัติการใด ๆ ในวัด โดยไม่ฟังการคัดค้านโดยธรรมโดยวินัย ซึ่งส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่พระศาสนาในอนาคตเมื่อที่ประชุมได้รับ

การอธิบายขยายความด้วยเหตุด้วยเหตุผลของท่านครูบาแล้ว ก็ยอมรับหลักการนี้โดยพร้อมเพรียงกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แล้วต่อมาก็ปรากฏว่าไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดฝ่าฝืนธรรมนูญ ๔ ประกรนี้เลย จวบจนถึงปัจจุบัน แม้ท่านครูบาจะละสังขารไปแล้ว ก็ยังคงเดิมอยู่เชื่อแน่ว่าหากอนุชนรุ่นต่อ ๆ ไป ทั้งครูบาอาจารย์พระสงฆ์สามเณรและโยม ศิษยานุศิษย์ยังรักษาธรรมนูญนี้ไว้ได้ ความเจริญรุ่งเรื่องแลแห่งข้อวัตรปฏิบัติของวัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐานนี้ ก็จะดำรงอยู่ตลอดไป

ก่อตั้งวัดเขาแจงเบงเมื่อธรรมนูญ ๔ ประการ ของการสร้างวัดป่าปฏิบัติธรรมกรรมฐานบนเขาแจงเบงผ่านการยอมรับของทุกฝ่าย ท่านครูบ้าก็กำหนดที่จะนำคณะสงฆ์สามเณรขึ้นมาบำเพ็ญธรรมและก่อตั้งวัดเขาแจงเบง โดยกำหนดวันที่บนเขาแจงเบงมีครบ ๓ รัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์หมายความว่า มีพระพุทธรูปซึ่งเป็นรูปแทนของพระพุทธเจ้า มีพระธรรมคือพระไตรปิฎกฉบับหลวง ๔๕ เล่ม และมีพระสงฆ์สามเณรจำนวน ๑๑ รูป ขึ้นไปบำเพ็ญธรรมและก่อตั้งวัดเขาแจงเบง

พอถึงวันจันทร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๒๔ ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชา ท่านก็เห็นควรเป็นวันนี้เพราะเป็นมงคลกาล แต่ว่าขาดพระพุทธรูป จะทำเช่นไรดีหนอ จะไปหาเช่าก็ไม่มีปัจจัยที่จะเช่า เพราะต้องเป็นองค์ใหญ่พอสมควร อย่างน้อยก็ต้องขนาดหน้าตักกว้าง ๒๐ นิ้วฟุตดูจะหมดหนทางเสียแล้ว

แต่พอถึงตอนกลางวันมีคณะมาจากกรุงเทพฯตั้งใจมากราบท่านครูบาโดยตรงได้ทราบว่าท่านครูบาต้องการพระพุทธรูปมาเป็นพระประธานในการทำพิธีถวายสักการะในวันวิสาขบูชาและประดิษฐานวัดเขาแจงเมื่อท่านครูบาคำพันธุ์ คัมภีรณาโณ กับพระพุทธรูปองค์แรกของวัดเขาแจงเบง ปฐมฤกษ์ในการก่อตั้งวัดเขาแจงเบง ก็ขอเป็นเจ้าภาพสร้าง แล้วก็เดินทางไปหาเช่ากันที่เมืองจันทบุรี ได้ขนาด ๒๐ นิ้วฟุต ท่านครูบาก็ได้อัญเชิญมาประกอบพิธีได้ทันกำหนดเวียนเทียน แต่ดึกหน่อย เพราะมีอุปสรรค์หลายประการ ถ้ามีโอกาสจะได้เขียนเล่าในวันหน้าคืนนั้น มีผู้มาร่วมเวียนเทียนวันวิสาขบูชา และวันปฐมฤกษ์วัดเขาแจงเบง กันหลายร้อยคน ทั้งคนในหมู่บ้านทรัพย์สมบูรณ์ บ้านคลองแจง และในละแวกชายแดน รวมทั้งในตัวเมืองจันทบุรี กรุงเทพมหานครและอื่น ๆ บรรยากาศจากแสงเทียน แสงตะเกียง กลิ่นธูปควันเทียนที่คราครำไปด้วยผู้คนที่สงบกายวาจาใจ แม้จะมีจำนวนมากแต่สงบ ก็เป็นสิ่งที่ชวนให้เกิดความเบิกบานใจเป็นที่สุด นับว่าท่านครูบาสอนผู้คนได้ผลดีภายในเวลาไม่กี่เดือน สมกับที่ท่านพระอาจารย์ให้สมัญญานามท่านว่า "ธรรม" จริง ๆ


ตำแหน่งที่ตั้ง : ตั้งอยู่ 91 หมู่ที่ 6 ทางหลวงหมายเลข 3424 จันทบุรี

การเดินทาง : ใช้เส้นทางถนนสาย 317 เลี้ยวซ้าย สามแยก สะตอน ขับผ่านอบต.ตำบลสะตอน ถึงสามแยกหน้าโรงเรียนบ้านทรัพย์เจริญ เลี้ยวซ้าย ขับตรงไปประมาณ 7 กิโลเมตร จะมีป้ายบอกทางเข้าวัดคลองแจง เลี้ยวซ้าย ไปอีก ประมาณ 1.5 กิโลเมตร ถึงบริเวณวัดคลองแจง

ผู้เรียบเรียง ครูบาคำพันธุ์ คัมภีรญาโณ (พระภิกษุสุทธิญาณ)