อาชีพงานจักสาน
ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ชาวบ้าน ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง นิยมประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนด้วยตนเอง ตั้งแต่ครกกระเดื่องสำหรับตำข้าว กระบอกน้ำสำหรับการเดินทางเข้าไปทำงานในป่า โดยเฉพาะที่ได้รับความสนใจจากคนภายนอก คือ ก่องข้าว สำหรับใส่ข้าวเหนียว หลายๆ บ้านใช้ก่องข้าวอย่างคุ้มค่า แม้จะหาไม้ไผ่ได้ง่ายภายในพื้นที่ แต่ชาวบ้านไม่นิยมที่จะทำขึ้นใหม่บ่อยๆ เพราะเสียเวลาและไม่มีความจำเป็นต้องทำมากเกินไป จึงไม่แปลกที่หลายคนในหมู่บ้านใช้ก่องข้าวกันจนบางใบขาดวิ่นมีผู้ผลิตก่องข้าวกันหลายครัวเรือน ซึ่งคนในหมู่บ้านใกล้เคียง จะเรียกก่องข้าวของชาวเมืองมายว่า
ชาวบ้าน ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง นิยมประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนด้วยตนเอง ตั้งแต่ครกกระเดื่องสำหรับตำข้าว กระบอกน้ำสำหรับการเดินทางเข้าไปทำงานในป่า โดยเฉพาะที่ได้รับความสนใจจากคนภายนอก คือ ก่องข้าว สำหรับใส่ข้าวเหนียว หลายๆ บ้านใช้ก่องข้าวอย่างคุ้มค่า แม้จะหาไม้ไผ่ได้ง่ายภายในพื้นที่ แต่ชาวบ้านไม่นิยมที่จะทำขึ้นใหม่บ่อยๆ เพราะเสียเวลาและไม่มีความจำเป็นต้องทำมากเกินไป จึงไม่แปลกที่หลายคนในหมู่บ้านใช้ก่องข้าวกันจนบางใบขาดวิ่นมีผู้ผลิตก่องข้าวกันหลายครัวเรือน ซึ่งคนในหมู่บ้านใกล้เคียง จะเรียกก่องข้าวของชาวเมืองมายว่า
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
อัตลักษณ์(เอกลักษณ์)/จุดเด่นของผลิตภัณฑ์
ความภาคภูมิใจของกลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านนางาม หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง คือ การได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้าน และสืบทอดฝีมือให้แก่เยาวชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้สืบต่อไป โดยได้รับการยอมรับ เข้าร่วมการวิจัยกับมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
ความภาคภูมิใจของกลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านนางาม หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง คือ การได้อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้าน และสืบทอดฝีมือให้แก่เยาวชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้สืบต่อไป โดยได้รับการยอมรับ เข้าร่วมการวิจัยกับมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง
ความสัมพันธ์กับชุมชน
ความสัมพันธ์กับชุมชน
กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านนางาม หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ได้เป็นกลุ่มที่กระตุ้นให้คนชุมชนได้เกิดจิตสำนึกยอมรับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของชุมชน ร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน
กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านนางาม หมู่ที่ 3 ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ได้เป็นกลุ่มที่กระตุ้นให้คนชุมชนได้เกิดจิตสำนึกยอมรับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านของชุมชน ร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่คนในชุมชน
กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิต
>วัสดุ/อุปกรณ์
>วัสดุ/อุปกรณ์
วัสดุ: ไม้ไผ่ เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะนำมาแปรรูป สำหรับ ทำเครื่องจักสานมากที่สุด มีหลายพันธุ์ ได้แก่ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น
วัสดุ: ไม้ไผ่ เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ที่จะนำมาแปรรูป สำหรับ ทำเครื่องจักสานมากที่สุด มีหลายพันธุ์ ได้แก่ ไผ่สีสุก ไผ่รวก ไผ่เฮี๊ยะ ไผ่ข้าวหลาม เป็นต้น
หวาย
หวาย
อุปกรณ์:มีด สำหรับผ่าและตัด และมีดตอกเหล็กหมาด เป็นเหล็กปลายแหลม ใช้สำหรับเจาะ ไช งัด แงะ คีมไม้ รูปร่างคล้ายคีมทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่และทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ใช้ปากภาชนะจักสานเพื่อเข้าขอบได้สะดวก
อุปกรณ์:มีด สำหรับผ่าและตัด และมีดตอกเหล็กหมาด เป็นเหล็กปลายแหลม ใช้สำหรับเจาะ ไช งัด แงะ คีมไม้ รูปร่างคล้ายคีมทั่วไปแต่มีขนาดใหญ่และทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ใช้ปากภาชนะจักสานเพื่อเข้าขอบได้สะดวก
ขั้นตอนการผลิต
ขั้นตอนการผลิต
1) การสานก่องข้าว จะเริ่มสานชั้นในด้านล่างไปก่อน การสานชั้นในจะใช้ตอกไม้ไผ่ทั้งหมด 16 คู่ หรือ 32 เส้น ทุกเส้นจะต้องมีขนาดเท่ากันทั้งหมด
1) การสานก่องข้าว จะเริ่มสานชั้นในด้านล่างไปก่อน การสานชั้นในจะใช้ตอกไม้ไผ่ทั้งหมด 16 คู่ หรือ 32 เส้น ทุกเส้นจะต้องมีขนาดเท่ากันทั้งหมด
2) การสานด้านนอกนั้นต้องใช้ตอกไม้ไผ่ 12 คู่ หรือ 24 เส้น จะเริ่มสานจากด้านล่าง จากนั้นก็จะเอาชั้นในที่สานเสร็จแล้วไปต่อจนถึงปากก่องข้าว แล้วตัดตอกส่วนที่เหลือทิ้งให้หมดจนเหลือเป็นเพียงรูปร่างของก่องข้าว
2) การสานด้านนอกนั้นต้องใช้ตอกไม้ไผ่ 12 คู่ หรือ 24 เส้น จะเริ่มสานจากด้านล่าง จากนั้นก็จะเอาชั้นในที่สานเสร็จแล้วไปต่อจนถึงปากก่องข้าว แล้วตัดตอกส่วนที่เหลือทิ้งให้หมดจนเหลือเป็นเพียงรูปร่างของก่องข้าว
3) การสานฝา จะใช้ตอก 10 คู่ หรือ 20 เส้น การสานฝาเป็นการสานธรรมดา คือใช้สานชั้นเดียว ต่อจากนั้นก็จะสานตาดใส่ลงไปชั้นในของฝาแล้วพับครึ่ง ให้ปากฝาเข้าไปข้างใน
3) การสานฝา จะใช้ตอก 10 คู่ หรือ 20 เส้น การสานฝาเป็นการสานธรรมดา คือใช้สานชั้นเดียว ต่อจากนั้นก็จะสานตาดใส่ลงไปชั้นในของฝาแล้วพับครึ่ง ให้ปากฝาเข้าไปข้างใน
4) การทำตีนก่องข้าว ส่วนมากจะใช้เศษไม้สักทำ ก่องข้าว 1 อัน จะใช้ตีน 1 คู่ ความยาวเท่ากับก้นก่องข้าว พอเหลาไม้สักได้ขนาดแล้ว นำมาเจาะรูตามมุมของก่องข้าว
4) การทำตีนก่องข้าว ส่วนมากจะใช้เศษไม้สักทำ ก่องข้าว 1 อัน จะใช้ตีน 1 คู่ ความยาวเท่ากับก้นก่องข้าว พอเหลาไม้สักได้ขนาดแล้ว นำมาเจาะรูตามมุมของก่องข้าว
5) การเย็บ จะใช้หวายเย็บ หวายเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการเย็บ จะเย็บฝา เย็บตัวก่องข้าว เย็บตีนก่องข้าว และทำสายร้อย (สายร้อยทำงานปอสา)
5) การเย็บ จะใช้หวายเย็บ หวายเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการเย็บ จะเย็บฝา เย็บตัวก่องข้าว เย็บตีนก่องข้าว และทำสายร้อย (สายร้อยทำงานปอสา)
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
การจักสานก่องข้าวเป็นงานประดิษฐ์ที่ทำด้วยมือ ต้องอาศัยความละเอียดใน การทำ ต้องอาศัยการฝึกฝน จึงจะทำให้เกิดทักษะในการจะทำให้ก่องข้าวออกมาสวยงาม
การจักสานก่องข้าวเป็นงานประดิษฐ์ที่ทำด้วยมือ ต้องอาศัยความละเอียดใน การทำ ต้องอาศัยการฝึกฝน จึงจะทำให้เกิดทักษะในการจะทำให้ก่องข้าวออกมาสวยงาม
กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
กลุ่มจักสานไม้ไผ่บ้านนางาม
ที่อยู่ 53 3 - ตำบลเมืองมาย อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
ประธานกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ
นางยุพิน ลาภเกิด
โทร 086-1822634