การแปรรูปสมุนไพรพื้นบ้าน

1. ประเภท (ข้อมูลเฉพาะ) ภูมิปัญญา

¨ ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี

þ การประกอบอาชีพ

¨แนวคิดหลักปฏิบัติและเทคโนโลยี

2. ประวัติข้อมูลส่วนตัวของผู้ประกอบภูมิปัญญา

ชื่อ-สกุล.............นางผ่าน......อุชชิน.............เลขบัตรประจำตัวประชาชน.... 3-5205-00177-29-5………

เกิดวันที่...12….เดือน....ธันวาคม...พ.ศ...2497.......อายุ... 63….ปี

สัญชาติ.....ไทย..... เชื้อชาติ......ไทย ......ศาสนา..... พุทธ.............

ที่อยู่ปัจจุบัน........บ้านเลขที่ 31/2 หมู่ที่ 3 บ้านน้ำหลงตำบลแม่ตีบ อำเภองาว จังหวัดลำปาง………………

วุฒิทางการศึกษา....ประถมศึกษา.....จาก...ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว

อาชีพ.........เกษตรกร- ค้าขาย.......................โทรศัพท์......061-3732979………………………………

3. ประวัติความเป็นมาของภูมิปัญญา

นางผ่าน อุชชิน มีความรู้และภูมิปัญญาหลายด้านและยังเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ชุมชนให้การยอมรับโดยนางผ่าน อุชชิน แสวงหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลาและบ้านนางผ่าน อุชชิน ก็ยังทำอาชีพด้านการเกษตรและยังใช้วิถีชีวิตแบบพอเพียง จึงเกิดความคิดที่ว่าคนสมัยก่อนใช้สมุนไพรในการอุปโภคและบริโภค โดยมีวันหนึ่งนางผ่านได้ไปบ้านของเพื่อนบ้านก็เห็นเพื่อนบ้านกำลังขุดต้นว่านหางจระเข้ทิ้งนางผ่านจึงขอนำกลับมาที่บ้านแล้วก็คิดว่าสรรพคุณของว่านหางจระเข้คนโบราณใช้ยางของว่านหางจระเข้ทาแผลเวลาถูกน้ำร้อนลวกหรือไฟไหม้ ดังนั้นว่านหางจระเข้จะต้องมีสรรพคุณในเรื่องของผิวหนังแน่นอน นางผ่านจึงได้ศึกษาจากหนังสือ และให้ลูกสาวช่วยหาในทางอินเทอร์เน็ตนางผ่านจึงได้นำว่านหางจระเข้มาทำเป็นแชมพูและครีมนวดผม ตอนแรกๆมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นเรื่องกลิ่นของว่านหางจระเข้ที่มีกลิ่นค่อนข้างแรงและระยะเวลาในเก็บรักษาไว้ใช้ได้ไม่นานนางผ่าน จึงศึกษาต่อไปว่าจะต้องทำยังไงให้ไม่มีปัญหาเรื่องของกลิ่นที่ค่อนข้างแรงและยึดเวลาการเก็บรักษา นางผ่านได้คิดต่อว่าคนสมัยโบราณใช้มะกรูดในการสระผม เพื่อลดอาการแสบคันเพราะมะกรูดมีฤทธิ์เป็นกรด จึงนำมะกรูดมาเผาไฟก่อนน้ำไปสระผมทั้งให้กลิ่นหอมและเวลาสระผมก็ไม่เกิดอาการแสบคันแถมยังไม่เกิดรังแค นางผ่านก็ได้นำมะกรูดมาเป็นส่วนผสมเข้าด้วยกันลองผิดลองถูกทดลองใช้ โดยมีสาธารณสุขเข้ามาให้คำแนะนำในการผลิตเพื่อไม่ให้เป็นอันตราย

จนปัจจุบันสามารถผลิตแชมพูและครีมนวดผมรวมถึงสบู่สมุนไพรที่ทำจากมะกรูด ว่านหางจระเข้และน้ำผึ้งเพื่อวางจำหน่ายและเผยแพร่ให้กับคนในหมู่บ้านทำไว้ใช้เองและขายเพื่อสร้างรายได้ นางผ่าน อุชชินเลยได้รับการยอมรับให้เป็นปราชญ์ชาวบ้านและภูมิปัญญาชาวบ้านด้านการแปรรูปสมุนไพร

4. สถานที่ที่ตั้ง (พิกัด) ของผู้เป็นภูมิปัญญา

ลองจิจูด……100.036165……………..ละติจูด………18.597172……………

ผู้บันทึกข้อมูลชื่อ.........นางสาวณัฏฐณิชา.............นามสกุล........ใจตา.......................................

ตำแหน่ง...ครูกศน.ตำบลแม่ตีบ..............................................................