Best Practice

ผลการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice)

การทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุ

นางสาวณัฏฐณิชา ใจตา

กศน.ตำบลแม่ตีบ

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำปาง

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

คำนำ

สืบเนื่องมาจากประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยจากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า หลังจากปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการลดภาวะเจริญพันธ์อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทย เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว กศน.ตำบลแม่ตีบได้สำรวจความต้องการให้การส่งเสริม สนับสนุนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาสังคม ชุมชน เพื่อใช้ประโยชน์ของสมุนไพรในท้องถิ่นเป็นการแบ่งเบาภาระในการดูแล แบ่งเบาภาระในเรื่องของการอุปโภคและบริโภคจึงได้นำทักษะของการทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุเข้ามาปรับใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุอีกทาง

กศน.ตำบลแม่ตีบ ได้เห็นความสำคัญของการทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุนำมาเป็น Best Practice ของ กศน.ตำบลแม่ตีบ เนื่องจากพื้นที่ตำบลแม่ตีบมีผู้สูงอายุจำนวนมาก และมีการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในการทำเป็นยาจำนวนมากแต่หากยังขาดความรู้ที่ถูกต้องในการแปรรูปสมุนไพรเท่าที่ควร ทางผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบลแม่ตีบได้ประสานทาง กศน.ตำบลแม่ตีบในการอบรมให้ความรู้เรื่องการทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุ พร้อมนำความรู้ที่ได้รับมาเผยแพร่ให้แก่คนในชุมชน และยังเป็นภูมิปัญญาสืบทอดให้กับคนรุ่นหลัง ได้หันมาใช้สมุนไพรไทยพื้นบ้านให้มากขึ้น

นางสาวณัฏฐณิชา ใจตา

......./................./............

สารบัญ

เรื่อง หน้า

คำนำ ก

สารบัญ ข

จุดเด่น/เหตุผล/ความสำเร็จ/ผลที่ปรากฏ 1

เป้าหมาย 1

กระบวนการดำเนินงาน 2

ปัจจัยป้อน 2

เงื่อนไข/ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ (Key Success Factors) 2

ปัญหา อุปสรรค หรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน 2

และแนวทางแก้ไขที่ประสบความสำเร็จ

ข้อเสนอแนะวิธีปฏิบัติงานที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น 2

การทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุ

จุดเด่น/เหตุผล/ความสำเร็จ/ผลที่ปรากฏ

สืบเนื่องมาจากประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) โดยจากข้อมูลของ United Nations World Population Ageing พบว่า หลังจากปี 2552 ประชากรที่อยู่ในวัยพึ่งพิงได้แก่ เด็กและผู้สูงอายุ จะมีจำนวนมากกว่าประชากรในวัยแรงงาน และในปี 2560 จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ประชากรเด็กน้อยกว่าผู้สูงอายุ สถานการณ์นี้เป็นผลมาจากการลดภาวะเจริญพันธ์อย่างรวดเร็ว และการลดลงอย่างต่อเนื่องของระดับการตายของประชากร ทำให้จำนวนและสัดส่วนประชากรสูงอายุของไทย เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากเหตุผลดังกล่าวแล้ว กศน.ตำบลแม่ตีบได้สำรวจความต้องการให้การส่งเสริม สนับสนุนเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาสังคม ชุมชน เพื่อใช้ประโยชน์ของสมุนไพรในท้องถิ่นเป็นการแบ่งเบาภาระในการดูแล แบ่งเบาภาระในเรื่องของการอุปโภคและบริโภคจึงได้นำทักษะของการทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุเข้ามาปรับใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุในพื้นที่ เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับผู้สูงอายุอีกทาง

กศน.ตำบลแม่ตีบ ได้เห็นความสำคัญของการทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุนำมาเป็น Best Practice ของ กศน.ตำบลแม่ตีบ เนื่องจากพื้นที่ตำบลแม่ตีบมีผู้สูงอายุจำนวนมาก และมีการปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ในการทำเป็นยาจำนวนมากแต่หากยังขาดความรู้ที่ถูกต้องในการแปรรูปสมุนไพรเท่าที่ควร ทางผู้นำชุมชนและภาคีเครือข่ายในตำบลแม่ตีบได้ประสานทาง กศน.ตำบลแม่ตีบในการอบรมให้ความรู้เรื่องการทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุ พร้อมนำความรู้ที่ได้รับมาเผยแพร่ให้แก่คนในชุมชน และยังเป็นภูมิปัญญาสืบทอดให้กับคนรุ่นหลัง ได้หันมาใช้สมุนไพรไทยพื้นบ้านให้มากขึ้น

เป้าหมาย

• ประชาชนและผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลแม่ตีบ จำนวน 15 คน

เชิงคุณภาพ

• ประชาชนและผู้สูงอายุ ในพื้นที่ตำบลแม่ตีบมีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะชีวิตสามารถนำความรู้ มาปรับใช้ ในการเรียนและในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมและเตรียมพร้อมในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กระบวนการดำเนินงาน

• จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทราบถึงสภาพปัญหาของชุมชน

• จัดทำโครงการและทำแผนกิจกรรมการทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดในกลุ่มผู้สูงอายุ

• ประสานงานหน่วยงาน/เครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อฝึกอบรม

• ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดและสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม

• ติดตามและประเมินผลร่วมกับหน่วยงาน/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

• สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ปัจจัยป้อน

บุคลากร

• นางสาวณัฏฐณิชา ใจตา ครู กศน.ตำบล

• นางปราณี วรฉัตร วิทยากร

• ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมส่งภาพตำบลบ้านดอกคำใต้ วิทยากรให้ความรู้ด้านสมุนไพร.

• นายบุญช่วย ใจหล้า ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลแม่ตีบ

งบประมาณ

• ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภองาว

สื่อ วัสดุ อุปกรณ์

• หญ้าเอนยืด

• เหงือกปลาหมอ

• การบูร

• พิมเสน

• เมนทอล

• น้ำมันยูคาลิปตัส

• น้ำมันมะพร้าว

• กระทะ/ตะหลิว/แก๊ส/ไม้สำหรับคน/ขวดบรรจุภัณฑ์

เงื่อนไข/ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ (Key Success Factors)

• การรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ จากการศึกษาดูงาน แล้วนำข้อมูลที่หลากหลายมาอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สูงอายุ กศน.ตำบลแม่ตีบ

• วิทยากรมีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ เข้าใจง่าย และปฏิบัติได้จริง

• จากการอบรมและติดตามทางกลุ่มมีการดำเนินการต่อเนื่องมีการจัดตั้งกลุ่มโดยมีนายบุญช่วย ใจหล้าเป็นประธานกลุ่มนำรายได้จากการขายน้ำมันนวดสมุนไพรมาจำหน่ายสร้างรายได้ในแก่กลุ่มและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยมีการประชุมและทำกิจกรรมร่วมกันเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง

• ผู้เข้าอบรมนำความรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงและนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาชุมชนของตนเองสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว

ปัญหา อุปสรรค หรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน และแนวทางแก้ไขที่ประสบความสำเร็จ

• คนในชุมชนบางส่วนยังไม่เห็นความสำคัญของ การทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดเนื่องจากคิดว่า

• สมุนไพรบ้านๆจะสามารถรักษาและบรรเทาปวดเหมือนยาสามัญของแพทย์แผนปัจจุบันได้จริง

ข้อเสนอแนะวิธีปฏิบัติงานที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น

• สร้างความเข้าใจ และปฏิบัติเป็นแบบอย่างในการทำยาสมุนไพรนวดบรรเทาปวดและนำมาเผยแพร่ให้แก่คนในชุมชน รวมถึงเป็นภูมิปัญญาสืบทอดให้กับคนรุ่นหลัง ได้หันมาใช้สมุนไพรไทยพื้นบ้านให้มากขึ้น

ภาพประกอบ