การปลูกพืชในกรถางแก้มลิง

ผลการปฏิบัติงานที่ดี (Best Practice)

การปลูกต้นไม้ในกระถางแก้มลิง

จุดเด่น/เหตุผล/ความสำเร็จ/ผลที่ปรากฏ

การนำเทคนิคการปลูกพืชที่ต้องนำความรู้ หลักวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการเกษตรโดยต้องทำให้น้อยลงได้ได้ผลผลิตมากขึ้น ใช้พื้นที่ให้น้อยลง ใช้น้ำให้น้อยลง ผลผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อเชื่อมโยงSmart ONIE เพื่อสร้าง Smart Farmer เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนได้พัฒนาความรู้ด้านเกษตรและยกระดับเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer ตามความเหมาะสมกับบริบทชุมชนและความต้องการของชุมชน ผ่านวิธีการและกระบวนการที่หลากหลายและนำความรู้ที่ได้รับในการเป็น Smart Farmer ไปประยุกต์ใช้ในการทำการเกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่และเห็นช่องทางหรือการพัฒนาอาชีพด้านการเกษตรและยกระดับเป็น Smart Farmerของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รวมทั้งนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงได้นำทักษะของการการปลูกต้นไม้ในกระถางแก้มลิง เข้ามาปรับใช้

กศน.ตำบลแม่ตีบ ได้เห็นความสำคัญของการปลูกต้นไม้ในกระถางแก้มลิง เป็น Best Practice ของ กศน.ตำบลแม่ตีบ เนื่องจากพื้นที่ตำบลแม่ตีบมีบัญหาในเรื่องของแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภค ซึ่งในชุมชนต้องการให้มีการปลูกพืช ผัก ต้นไม้ ใช้พื้นที่ให้น้อยลง ใช้น้ำให้น้อยลง ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทางผู้นำชุมชนได้ประสานทาง กศน.ตำบลแม่ตีบในการอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกต้นไม้ในกระถางแก้มลิง พร้อมนำความรู้ที่ได้รับมาเผยแพร่ให้แก่คนในชุมชน

3. วิธีการดำเนินงาน

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ

1. ประชาชนและนักศึกษา กศน. ในพื้นที่ตำบลแม่ตีบ จำนวน 30 คน

เชิงคุณภาพ

1. ประชาชนและนักศึกษา กศน. ในพื้นที่ตำบลแม่ตีบ มีความรู้ และทักษะในการปลูกต้นไม้ในกระถางแก้มลิงและสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของครอบครัวได้

กระบวนการดำเนินงาน

1. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อทราบถึงสภาพปัญหาของชุมชน

2. จัดทำโครงการและทำแผนกิจกรรมการปลูกต้นไม้ในกระถางแก้มลิง

3. ประสานงานหน่วยงาน/เครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อฝึกอบรม

4. ดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดและสามารถปรับเปลี่ยนกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม

5. ติดตามและประเมินผลร่วมกับหน่วยงาน/เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

6. สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และเผยแพร่ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง


สื่อ วัสดุ อุปกรณ์

- ถังสีพลาสติก(เก่า)

- กระเบื้อง

- หินกรวด

- ดินสำหรับปลูก

- ท่อpvc ขนาด 4หุน

- กระถางปลูกต้นไม้