การทำขนมไทย

หลักการและเหตุผล

ขนมไทยถือเป็นเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประจำชาติไทย มีความละเอียดอ่อนประณีตในการเลือกสรรวัตถุดิบ วิธีการทำที่พิถีพิถัน รสชาติอร่อยหอมหวาน สีสันสวยงาม รูปลักษณ์ชวนรับประทาน และเป็นขนมที่มีความเกี่ยวข้องกับคนไทยมาแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  และที่สำคัญสามารถนำวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานได้หลากหลายรูปแบบ จัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วนมีเสน่ห์แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม แสดงให้เห็นว่าคนไทยเป็นคนใจเย็น รักสงบ มีฝีมือเชิงศิลปะ  แต่ในปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสามารถผลิตขนมออกมาในรูปแบบต่างๆ มากมาย  ความนิยมขนมซองตามห้างร้าน ซุปเปอร์มาเก็ต  ทำให้ความสนใจในขนมไทยเริ่มลดน้อยลง

         ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”บ้านป่าก่อ จึงจัดทำหลักสูตรขนมไทยขึ้น  เพื่อสืบทอดและอนุรักษ์ขนมไทยตามวัฒนธรรมประเพณีของไทยไว้ อีกทั้งยังส่งเสริมอาชีพในชุมชน  เพื่อฝึกทักษะอาชีพตามความต้องการและความสนใจ และมองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพเสริม เพิ่มรายได้

ด้วยภายหลังจากปัญหาและความต้องการของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( COVID-19) ในปัจจุบัน ส่งผลต่อการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตประจำวัน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและเป็นทางเลือกในการเริ่มประกอบอาชีพใหม่ของคนในชุมชน ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านป่าก่อ จึงได้จัดทำโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ (รูปแบบกลุ่มสนใจ) “หลักสูตรการทำขนมไทย” จำนวน 20 ชั่วโมง ขึ้น

วัตถุประสงค์   
          1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ และทักษะ ในการทำขนมไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักสุขอนามัยและโภชนาการ

2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะที่ได้นำไปใช้ในการประกอบอาชีพเพื่อเป็นทางเลือก สร้างอาชีพเสริมได้

เป้าหมาย (Output)

       5.1 เชิงปริมาณ (กลุ่มเป้าหมาย)

       ประชาชนบ้านป่าก่อ จำนวน  12 คน 

5.2 เชิงคุณภาพ

  ประชาชนบ้านป่าก่อ มีความรู้ และทักษะการทำขนมไทยสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการตัดสินใจหรือเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพได้

จากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แผนงาน : พื้นฐานการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิตที่ 4 : ผู้รับบริการการศึกษานอกระบบ งบดำเนินงาน : กิจกรรมจัดการศึกษานอกระบบ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา ไตรมาสที่ 1-2 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ถึงเดือนมีนาคม 2566) รหัสศูนย์ต้นทุน 2000200594 รหัสงบประมาณ 20002350004002000000 รหัสกิจกรรมหลัก 20002660082400000 แหล่งของเงิน 6511200  จำนวน 5,000.-บาท  (-ห้าพันบาทถ้วน-) รายละเอียดดังนี้

  1. ค่าตอบแทนวิทยากร  (1คน x 200 บาท x วันละ 5 ชั่วโมง x 4 วัน)   จำนวน   4,000.-  บาท

2. ค่าวัสดุฝึก                                                           จำนวน   1,000.-  บาท

                                                                รวม         จำนวน   5,000.-  บาท


สรุปผลการดำเนินโครงการ

การโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ (รูปแบบกลุ่มสนใจ) “หลักสูตรการทำขนมไทย” จำนวน 20 ชั่วโมง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนในชุมชนบนพื้นที่สูงบ้านป่าก่อ ได้รับความรู้ความเข้าใจในการฝึกทักษะอาชีพ การพัฒนาอาชีพ มีความพึงพอใจ มองเห็นช่องทางในการประกอบอาชีพ โดยจัดกิจกรรมตามโครงการเมื่อ วันที่ 10-13 ธันวาคม 2565  มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ตามโครงการจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของเป้าหมาย เป็นเพศหญิง จำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ช่วงอายุของผู้เข้าร่วมกิจกรรม อายุ 30-39 ปี จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 66.7  อายุ 40-49 ปี จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 25 อายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 8.3

ผู้ให้ข้อมูล  นายสิทธิพงษ์  อุ่นจิตต์

ภาพถ่าย นายสิทธิพงษ์  อุ่นจิตต์

ผู้เก็บข้อมูล นายสิทธิพงษ์  อุ่นจิตต์ ครู ศศช.บ้านป่าก่อ