ข้อมูลประวัติชุมชนบ้านป่าก่อ

ข้อมูลพื้นฐาน ศศช.บ้านป่าก่อ

1. ชื่อสถานศึกษา ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านป่าก่อ

2. ที่ตั้ง/การติดต่อ บ้านป่าก่อ หมู่ที่ 10 ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

รหัสไปรษณีย์ 51160

g-mail : Sittipong19012522@gmail.com โทร 098-9675398

3. สังกัด สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลำพูน

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

อำเภอทุ่งหัวช้าง สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ

4. ข้อมูลทั่วไปของ ศศช.บ้านป่าก่อ

4.1 ประวัติความเป็นมาของ ศศช.บ้านป่าก่อ

จัดตั้งศูนย์ในปี 2555 หลังจากนั้นได้รับงบประมาณจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสร้างอาคารเฉลิมพระเกียรตินวมินทราธิราชและบรมราชชนนี แล้วเสร็จและมีพิธีเปิดอาคารเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2556 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเป็นประธานในพิธีเปิด

จากการบอกเล่าสืบต่อกันมา หมู่บ้านแห่งนี้อายุประมาณ 200 กว่าปี ชาวบ้านที่มาอยู่ครั้งแรกจำนวน 5 หลังคาเรือนมาจากบ้านแม่เสริม อ.เสริมงาม จ.ลำปาง หลังจากนั้นก็อพยพมาจากบ้านห้วยงูสิงห์บ้าง มาทำไร่ ทำนา และเลี้ยงสัตว์ การตั้งชื่อหมู่บ้าน แต่เดิมคือ บ้านดงสักงาม ตอนหลังเปลี่ยนมาเป็นบ้านป่าก่อน ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอยู่มากในพื้นที่ทั่วไปของหมู่บ้าน

ชาวบ้านป่าก่อเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงภาษาที่ใช้สื่อสารกันในชุมชน คือ ภาษากะเหรี่ยง แต่ถ้าติดต่อกับคนภายนอกจะใช้ภาษาพื้นเมือง เด็กและเยาวชนจะพูดภาษายองได้อีก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากบ้านป่าตึงงามและบ้านทุ่งข้าวหาง เพราะเด็กๆ จะต้องไปโรงเรียนการสร้างบ้านส่วนใหญ่จะสร้างแบบชาวพื้นเมือง ลักษณะการแต่งาย คนแก่จะแต่งกายตามเผ่าเด็กๆ และคนหนุ่มสาว วัยทำงานจะแต่งกายแบบชาวพื้นเมืองทั่วไป นอกจากงานประเพณีของหมู่บ้านจะแต่งกายตามเผ่า

ศศช.บ้านป่าก่อ ตั้งอยู่หมู่ 10 บ้านป่าก่อ ตำบลตะเคียนปม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการศึกษาแก่ชุมชนที่ยึดชุมชนเป็นหลัก กล่าวคือ เป็นการจัดการศึกษาและจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชนทั้งชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีความรู้พื้นฐานเพื่อการดำรงชีวิต พื้นฐานความรู้และเพื่อแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้อื่นและการศึกษาต่อ มีอาชีพและพัฒนาอาชีพของตนเอง โดยยึดหลักการการพึ่งพาตนเองและดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยสามารถดำรงชีวิตด้วยความสมดุลของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีการเคารพในองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนำมาเป็นส่วนร่วมในการจัดการศึกษาให้กับชุมชน


ศศช.บ้านป่าก่อ

Facebook

จำนวนผู้เข้าชม