การจัดการความเครียด

ป้องกันตนเองจากโรคซึมเศร้า


พิธีเปิดโดยนายธีระชัย  ดอกข้าว ผู้ใหญ่บ้านป่าก่อ เป็นประธานเปิดการดำเนินกิจกรรม

การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและการพัฒนาคุณภาพของประชาชนกลุ่มเป้าหมาย เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ความสามารถของบุคคลเพื่อให้สามารถจัดการกับตนเองและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีความสุขตามสภาพและความสงบสุข ความปลอดภัยในสังคม การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง เป็นการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนให้มีความรู้ เจตคติและทักษะที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข เพื่อให้บุคคลสามารถเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเตรียมความพร้อมกับการปรับตัวในอนาคต เช่น สุขภาพกายและใจ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ดี เป็นต้น 

ประชาชนชุมชนบ้านป่าก่อเห็นความสำคัญของการจัดการความเครียดเข้าร่วมการอรมจำนวน 22 คน จากกลุ่มเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15 คน

ได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรโดย คุณวิไลรัตน์  กุนาพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทุ่งหัวช้าง ชำนาญการด้านการดูแลผู้ป่วยจิตเวช

 จากการสำรวจข้อมูลชุมชน พบว่าประชาชนบนพื้นที่สูงส่วนใหญ่มีภาวะความเครียดจากสภาพสังคมปัจจุบันเสี่ยงที่จะอยู่ในภาวะโรคซึมเศร้าประกอบกับปัญหาปัจจัยด้านเศรษฐกิจในแต่ละครัวเรือนทำให้เกิดความวิตกกังวลจนนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนที่สามารถป้องกันได้โดยการรู้เท่าทันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพจิตของตนเอง คนในชุมชนจึงจำเป็นต้องร่วมกันสังเกตความผิดปกติทางด้านอารมณ์ มองโลกในแง่บวก สร้างค่านิยมที่ถูกต้องเกี่ยวกับสุขภาพจิตเพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพที่แข็งแรง ปราศจากโรคภัย ไข้เจ็บ และสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

            ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง” บ้านป่าก่อ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา และเพื่อเป็นการเฝ้าระวังปัญหา ควบคุม รักษา หรือส่งเสริมดำรงคงไว้ซึ่งสุขภาพที่ดี และการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน ให้มีการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม จึงได้จัดทำโครงการจัดการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต “กิจกรรมการจัดการความเครียดป้องกันตนเองจากโรคซึมเศร้า” เพื่อให้ประชาชนบนพื้นที่สูง มีความรู้ ความเข้าใจ ได้รับการส่งเสริมกิจความรู้เพื่อป้องกันตนเองจากความเครียดไม่เสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า