ชุมชนบ้านป่าก่อเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีประวัติทางวัฒนธรรมยาวนานกว่า 200ปี ดั้งเดิมที่เพียง 5 หลังคาเรือนอพยพมาจากบ้านแม่เสริม อ.เสริมงาม จ.ลำปาง คำว่า "ป่าก่อ" คือพันธุ์ไม้ที่อยู่มากในพื้นที่ทั่วไปของหมู่บ้าน

ชาวบ้านป่าก่อเป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยงมีภาษาที่ใช้สื่อสารกันในชุมชนคือ ภาษากะเหรี่ยง ปต่หากต้องมีการติดต่อสื่อสารกับคนข้างนอกก็จะใช้ภาษาพื้นเมือง ด้วยเป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับหมู่บ้านคนเมือง คือบ้านทุ่งข้าวหางและบ้านป่าตึงงามทำให้ได้รับอิทธิพลจากความเป็นคนเมืองเข้ามาเปลี่ยนวิถีชีวิต เพราะเด็กๆไปโรงเรียนที่บ้านทุ่งข้าวหาง การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยจะสร้างแบบบ้านคนพื้นเมือง ที่ความแข็งแรงและบ่งบอกถึงฐานะ ลักษณะการแต่งกายจะมีเพียงผู้สูงอายุเท่านั้นที่ยังคงแต่งกายด้วยชุดประจำเผ่าอยู่เป็นประจำ ส่วนคนหนุ่มสาวเด็กเล็กจะแต่งกายเฉพาะในวันที่มีพิธีกรรมประเพณีหรืองานสำคัญเท่านั้น

วัฒนธรรมบางอย่างค่อยๆหายไปจากสังคมชุมชน การเปลี่ยนทางสังคมสภาพแวดล้อมที่ขนาบข้างหมู่บ้านทำให้รับวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาแบบเต็มๆอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ความดิ้นรนต่อสู่เพื่อปากท้องการขยายวิธีการหากินเพื่อให้สอดรับกับสภาพสังคมที่เอารัดเอาเปรียบทำให้วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามค่อยๆเลือนหายไป จากสังคมที่อยู่อย่างพึ่งพาอาศัย ร่วมแรงร่วมใจในทุกกิจกรรมกลายเป็นการว่าจ้างอยู่ได้ด้วยเงินตรา....

video-1581555313.mp4

สุดท้าย การหันกลับมาดูตัวตน กาารคงอยู่ของวัฒนประเพณีกับวิถีสังคมโลกาภิวัฒน์ เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้ต้องย้อนมองกลับวันวานเพื่อผ่านสิ่งที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกเขาให้หลงทาง...แต่กระนั้นมันไม่ใช่วิถีทางที่จะกระทำให้กลับไปเป็นเหมือนเดิม หากแต่การปรับให้สามารถนำพาเอาวิถีเก่าและวิถีใหม่ให้อยู่คู่กันได้เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและเหมาะสมสืบไป