โรคซึมเศร้า

ชื่อหนังสือที่แนะนำ

       เรื่อง โรคซึมเศร้า


ชื่อผู้แต่ง

       ผู้เขียน นายแพทย์ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์


สำนักพิมพ์

       บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)


ปีที่พิมพ์

       ตีพิมพ์ครั้งแรก เดือนพฤศจิกายน 2560 โดย บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

สรุปย่อ/สาระสำคัญ

             คำว่า “โรค” บ่งว่าเป็นความผิดปกติทางการแพทย์ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเพื่อให้อาการทุเลา ต่างจากภาวะอารมณ์เศร้าตามปกติธรรมดาที่ถ้าเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัวคลี่คลายลง หรือมีคนเข้าใจเห็นใจ อารมณ์เศร้านี้ก็อาจหายได้ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้านอกจากมีอารมณ์ซึมเศร้าร่วมกับอาการต่างๆ แล้ว การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันก็แย่ลงด้วย คนที่เป็นแม่บ้านก็ทำงานบ้านน้อยลงหรือมีงานบ้านคั่งค้าง คนที่ทำงานนอกบ้านก็อาจขาดงานบ่อยๆ จนถูกเพ่งเล็ง เรียกว่าตัวโรคทำให้การประกอบกิจวัตรประจำวันต่างๆ บกพร่องลง หากจะเปรียบกับโรคทางร่างกายก็คงคล้ายๆ กัน เช่น ในโรคหัวใจ ผู้ที่เป็นก็จะมีอาการต่างๆ ร่วมกับการทำอะไรต่างๆ ได้น้อยหรือไม่ดีเท่าเดิม

ข้อคิดที่ได้จากอ่าน
      การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นเป็นคนอ่อนแอ คิดมาก หรือเป็นคนไม่สู้ปัญหา เอาแต่ท้อแท้ ซึมเซา แต่ที่เขาเป็นนั้นเป็นเพราะตัวโรค กล่าวได้ว่าถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม โรคก็จะทุเลาลง เขาก็จะกลับมาเป็นผู้ทีจิตใจแจ่มใส พร้อมจะทำกิจวัตรต่างๆ ดังเดิม 

ข้อความประทับใจ

      ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าจากการปรับตัวไม่ได้กับปัญหาที่มากระทบ เป็นภาวะที่เกิดจากการปรับตัวไม่ได้กับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามากระทบ เช่น ย้ายบ้าน ตกงาน เกษียน เป็นต้น โดยจะพบอาการซึมเศร้าร่วมด้วยได้ แต่มักจะไม่รุนแรง ถ้ามีคนมาพูดคุย ปลอบใจก็จะดีขึ้นบ้าง อาจมีเบื่ออาหารแต่เป็นไม่มาก ยังพอนอนได้ เมื่อเวลาผ่านไป ค่อยๆ ปรับตัวได้กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ภาวะอารมณ์ซึมเศร้าที่มีก็จะทุเลาลง 

ข้อมูลอื่น ๆ

       “การอ่านคือรากฐานที่สำคัญ”

   “ อ่านมาก แขนงประสาทยืดยาวออกแตะกันเป็นร่างแหที่ซับซ้อนมากกว่า เวลาพบปัญหา ร่างแห่ประสาทหล่านี้จะหาหนทางให้เราออกจากปัญหาเอง และด้วยความเร็วที่สูงกว่า”


ผู้ให้ข้อมูล 

                ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว โดย นางสาวชัญญาพัชร์  แสนบุ่งค้อ (บรรณารักษ์)

                ภาพถ่าย/ภาพประกอบ        โดย 1) นางสาวชัญญาพัชร์  แสนบุ่งค้อ (บรรณารักษ์)

                                                               2) na-ru