การสานกระติบข้าวลายอักษร

การสานกระติบข้าวลายอักษร

บ้านเลขที่ 144 หมู่ 17 บ้านเมตตา ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

    นายห่วง  สารษ์  

ภูมิปัญญาดีเด่นด้านประดิษฐ์กรรม ประจำปี พ.ศ.2560 จาก สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย

                           จุดเด่น  การสานกระติบข้าวลายอักษร

        1. สานเป็นลวดลายต่าง ๆ หรือเป็นตัวหนังสือทั้งไทยและอังกฤษ จะได้ราคาดี

        2. หาอุปกรณ์ในการทำง่าย

        3. ทำให้เกิดอัตราการว่างงาน และเป็นอาชีพที่สุจริต และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว

        4. วิวัฒนาการเป็นของชำร่วยได้มากมาย เช่น กล่องใส่กระดาษชำระ กระเป๋า แจกันการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้

มาตรฐานการเรียนรู้/รางวัลที่ได้รับ

         ได้รับเกียรติบัตรเป็นภูมิปัญญาดีเด่นด้านประดิษฐ์กรรม ประจำปี พ.ศ.2560 จาก สำนักงาน กศน.จังหวัดเลย


ก่องข้าว และ กระติบข้าว เป็นภาชนะบรรจุข้าวเหนียวของชาวอีสาน ความแตกต่างของภาชนะทั้งสอง อยู่ที่รูปทรง โดยก่องข้าวจะมีลักษณะคล้ายกระบุง มีฝาปิด และมีขาทำด้วยไม้เนื้อแข็งเป็นฐานแยกสี่แฉกดังภาพด้านซ้ายมือ มีความแข็งแรงทนทานมากกว่า การสานด้วยไม้ไผ่มีความแน่นหนา เก็บขอบด้วยหวายโดยรอบ ส่วนกระติบข้าวนั้นพบเห็นได้ทั่วไป เป็นภาชนะสานทรงกลมมีฝาปิด ฐานของกระติบจะทำจากก้านตาล ขดเป็นวงกลม มีมากมายหลายขนาด การสานทำได้ง่ายกว่าก่องข้าว เพราะใช้ตอกไม่ไผ่ที่มีความบางอ่อนตัว (ก่องข้าวใช้ตอกที่ทำจากติวไม้ไผ่ (ส่วนผิว) ซึ่งมีความแข็งจึงสานยากกว่า) ทำให้กระติบข้าวมีความแข็งแรงน้อยกว่าก่องข้าว    


ข้อมูลเนื้อหา โดย นางอุทัยวัลย์  พรมอินทร์

                                        เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวชัญญาพัชร์  แสนบุ่งค้อ

                                        ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย กศน.ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง