การทำตุง

"ตุงไ่ส้หมู" เป้นชื่อที่นิยมใช้กันในจังหวัดเชียงใหม่ ในถิ่นอื่นอาจเรียกแตกต่างกันไป เช่น ลำปางเรียกช่อพญายอ จังหวัดเชียงรายและลำพูนเรียกว่า ตุงไส้ช้างภาคกลางเรียก พวงมโหตร (พวง-มะ-โหด) คำที่หลายคนไม่ทราบความหมาย ไม่เคยได้ยิน ทั้งที่อาจจะเคยผ่านตามาแล้วก็ตาม ลักษณะตุงไส้หมูมีรูปทรงเหมือนเจดีย์ ทำจากกระดาษว่าวหลากสี ใช้ักบนกองเจดีย์ทรายคุ๋กับตุง 12 ราศี เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณี และพระธาตุประจำปีเกิด ในจังหวัดพะเยาและเชียงรายใช้ตุงไส้หมูสีขาวและสีดำประดับรอบปราสาทศพ เชื่อว่าให้ผู้ตายไปสวรรค์ จึงเห็นได้ว่าตุงไส้หมูนั้นเป้นได้ทั้งตุงมงคลและอวมงคล ทั้งนี้แล้วแตว่าในแต่ละพื้นที่จะมีการใช้งานไปอย่างไร แต่จุดประสงค์หลักก็ยังเป้นการบูชาพระพุทธศาสนานั่นเอง จึงเ้ห็นได้ว่าควรใช้งานตุงอย่างเหมาะสมถูกต้อง มิให้เปลี่ยนแปลงหรือเพี้ยนไปจากความมุ่งหมายเดิมที่มีเป้าหมายเพื่อการบูชา หรือพระพุธทศาสนาเป็นเป้าหมายใหญ่ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2542 อธิบายว่า เป็นพวงอุบะ ซึ่งห้อยประดับอยู่ที่คันดาลฉัตร ทำด้วยผ้าตาดทอง ส่วนคันดาลฉัตร คือคันฉัตรที่มีรูปเป็นมุมฉาก ๒ ทบอย่างลูกดาล เพื่อปักให้ฉัตรอยู่ตรงเศียรพระพุทธรูป ในที่นี้ หมายพวงมโหตรแบบบ้านๆ ที่ติดอยู่ตามธงราว ห้อยระย้าตามสถานงานมงคล มีให้เห็นบ้างตามวัดในชนบท ทำด้วยกระดาษสี ตอกลายเป็นรูปนักษัตร ปัจจุบันหาดูได้ยาก