บริบท กศน.ตำบลเกาะหมาก

๑.     ประวัติการจัดตั้ง กศน.ตำบล

กศน.ตำบลเกาะหมาก เป็นศูนย์การเรียนชุมชนที่ให้บริการการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับบุคคลที่สนใจเรียนทาง กศน. โดยจะให้บริการแก่นักศึกษาในตำบลเทพเกาะหมากเป็นหลัก และให้บริการรวมถึงตำบลใกล้เคียงด้วยเพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลเกาะหมากเป็นหน่วยจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในราชการบริหารส่วนกลางสังกัดศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัยอำเภอเกาะกูด สำนักงานการศึกษาระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกระทรวง

ศึกษาธิการ ประกาศจัดตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดตราด เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๖

   สถานที่ตั้ง กศน. ตำบล

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงตำบลอ่าวนิด หมู่ ๑ ตำบลเกาะหมาก อำเภอเกาะกูด

พิกัด ตำแหน่งที่ตั้งกศน.ตำบลเกาะหมาก

ละติจูด 11.8150084

ลองติจูด 102.4800932


ข้อมูลบุคลากร กศน.ตำบล 

ายวุฒิพงษ์ สูงพล

ครู กศน.ตำบลเกาะหมาก

ที่อยู่ 76 หมู่ 4 ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด 45150

E-mail Woottipong1994@gmail.com

โทรศัพท์ 064-939-8493


ข้อมูลสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต 

ไฟฟ้า  - การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค     ประปา - หมู่บ้าน 

ข้อมูลคณะกรรมการ กศน.ตำบลเกาะหมาก 

คณะกรรมการ กศน.ตำบล

                         นายวิรัตน์  ยุทธวิชัย                ประธานกรรมการ

                         นางจงรักษ์  ทรัพย์กร                กรรมการ

                         นายวิศนุ  ธนประสพ                  กรรมการ

                         นายเสริมศักดิ์  สุขสถิตย์        กรรมการ

                         นายณัฐธวุฒิ  เดชะ              กรรมการ

                         นางสาววาสนา  หวลถนอม     กรรมการ

                         นางสาวชลาลัย  พรหมชาติ     กรรมการ

                         นางวันดี  วิเชียร                     กรรมการ

                               นายวุฒิพงษ์  สูงพล         กรรมการและเลขานุการ


สภาพสังคม – ประชากร 

เกาะหมากเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของจังหวัดตราด ชื่อ เกาะหมาก ได้มาจากคำพ้องเสียงของคำว่า “หมากป่า” ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ในอดีตมีอยู่เป็นจำนวนมากบนเกาะ เกาะหมากมีความเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย เนื่องด้วยตั้งอยู่ในทะเลตราดฝั่งอ่าวไทย ครั้งหนึ่งในยุคล่าอาณานิคม ฝรั่งเศสพยายามที่จะเข้ามายึดดินแดนประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๖ ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดเมืองจันทบุรีและเมืองต่างๆ ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) ไทยได้เสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศสเนื่องจากการตกลงทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศส ทำให้ไทยจำต้องยกดินแดนตั้งแต่ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ไปจนถึงเกาะหมาก เกาะกูด และเมืองปัจจันตคีรีเขตร เพื่อแลกเปลี่ยนกับการถอนกองทหารออกจากจันทบุรีและในปี พ.ศ.๒๔๔๙ รัชกาลที่ ๕ ทรงตัดสินพระทัย ยอมยกดินแดน พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเอาจังหวัดตราดและหมู่เกาะต่างๆ คืนมาเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๙ นอกจาก "เกาะหมาก" มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ไทยในยุคการล่าอาณานิคมจากประเทศตะวันตกแล้ว ยังเป็นเกาะหนึ่งในเส้นทางการเสด็จประพาสของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ โดยที่พระองค์ท่านเคยเสด็จถึง ๒ ครั้ง และโปรดให้เรือพระที่นั่งจอดบริเวณอ่าวเพื่อประทับแรม

เกาะหมาก มีพื้น ที่ทั้งหมด ๙,๕๐๐ ไร่ เป็นที่สาธารณะประโยชน์ ๕๐๐ ไร่ ที่เหลือประมาณ ๙,๐๐๐ ไร่ เป็นสวนยางพาราและมะพร้าวเกือบทั้งหมด ซึ่งมีการบุกเบิกมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ผู้ครอบครองที่ดินส่วนใหญ่เป็นญาติพี่น้องกัน ประกอบด้วย ๕ ตระกูลใหญ่ คือ ตะเวทีกุล, วงษ์ศิริ , สุทธิธนกูล , จันทสูตร , และสุขสถิตย์ ทั้ง ๕ ตระกูลนี้ต่างรักใคร่กลมเกลียวกันมาหลายชั่วอายุคนจวบจนปัจจุบัน จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เกาะหมากเป็นเกาะที่มีแต่ความสงบสุข ปลอดภัย และถ้าสังเกตจะเห็นว่าชื่อถนนทุกเส้นบนเกาะหมาก เป็นนามสกุลของบรรพบุรุษในแต่ละตระกูลยึดเป็นอนุสรณ์เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้รำลึกถึงบรรพชน "เกาะหมาก"หลวงพรหมภักดี ต้นตระกูล "ตะเวทีกุล"...ผู้ตั้งรกรากบนเกาะหมากเป็นคนแรก เนื่องจากเป็นเกาะเดียวที่พื้นที่เกาะทั้งหมดเกือบ ๙,๐๐๐ ไร่ มีเจ้าของเป็นทายาทของ "ตระกูลตะเวทีกุล" เพียงตระกูลเดียวจากอดีตถึงปัจจุบัน รวมระยะเวลา ๑๐๐ ปีเศษ ทั้งนี้ นายจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล นายกอบต. เกาะหมากในปัจจุบัน และเป็นเจ้าของเกาะหมากรีสอร์ต ผู้เป็นทายาท รุ่นที่ ๔ เล่าว่า หลวงพรหมภักดี (นายเปลี่ยน ตะเวทีกุล) ผู้มีศักดิ์เป็นคุณชวด เป็นผู้เข้ามาครอบครองเกาะหมากเป็นคนแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๗ โดยซื้อจากเจ้าของเดิมชื่อเจ้าสัวเส็ง ปลัดจีนในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเข้ามาจับจองทำสวนมะพร้าวไว้ในราคา ๓๐๐ ชั่ง (ชั่งละ ๘๐ บาท ) หลวงพรหมภักดีขณะนั้นเป็นปลัดจีนอยู่ที่ จังหวัดประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง ของกัมพูชาในปัจจุบัน) ขณะนั้นเป็นของไทยอยู่ แรกทีเดียวได้ส่งบุตรชาย ๓ คนมาทำสวนมะพร้าวอยู่ก่อน คือ นายอู๋ นายเอิบ และนายอาบ ตะเวทีกุล ต่อมาเมื่อไทยเสียเมืองตราด หมู่เกาะต่างๆ รวมทั้งเมืองประจันตคีรีเขตร์ให้กับฝรั่งเศสเพื่อแลกกับการที่ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากเมืองจันทบุรี หลวงพรหมภักดียังคงทำมาค้าขายอยู่ที่เกาะปอ เมืองประจันตคีรีเขตร์ จนกระทั่งอีก ๖ ปีต่อมา คือ พ.ศ. ๒๔๕๓ จึงได้อพยพครอบครัวมาตั้งรกรากที่เกาะหมาก ทำสวนมะพร้าวขนาด ๓,๐๐๐ - ๔,๐๐๐ ไร่ และสร้างบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณอ่าวสวนใหญ่ซึ่งมีหาดทรายอันสวยงาม มองเห็นเกาะข้างเคียงได้ชัดเจน เรียกกันว่า บ้านสวนใหญ่หลวงพรหมภักดีได้แต่งงานกับนางมู่ลี่ มีบุตร ๗ คน ธิดา ๔ คน รวม ๑๑ คน และต่อมาแต่งงานกับนางทิม มีบุตรชายอีก ๑ คน เมื่อบุตรสาวโตขึ้นแต่งงานไปใช้นามสกุลของฝ่ายชาย ฝ่ายชายสืบตระกูลตะเวทีกุลมาถึงปัจจุบัน ๕ - ๖ ช่วงอายุคนแล้ว สำหรับนายจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล ซึ่งปัจจุบันเป็นนายก อบต.เกาะหมาก เป็นรุ่นที่ ๔ บิดาชื่อนายสันต์ ตะเวทีกุล มารดาคือนางเฉลิม ศรีอรุณ ปู่คือนายอู๋ ตะเวทีกุล บุตรชายคนที่ ๕ ของหลวงพรหมภักดี เมื่อสิ้นหลวงพรหมภักดี ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ สวนมะพร้าวและที่ดินทั้งหมดบนเกาะถูกแบ่งเป็นมรดกให้ลูกๆ หลานๆ ทายาทของหลวงพรหมภักดี ซึ่งในยุครุ่นลูกนี้เองได้มีการนำยางพาราเข้ามาปลูกเป็นจำนวนนับ ๑,๐๐๐ ไร่ และมีการสร้างโรงบ่มยางขึ้นภายในบริเวณบ้านสวนใหญ่ ดังนั้น ในปัจจุบันจึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าพื้นที่ เกาะหมาก ทั้งหมด ๙,๕๐๐ ไร่ เป็นที่สาธารณะประโยชน์ ๕๐๐ ไร่ ที่เหลือ ๙,๐๐๐ ไร่ ล้วนแต่เป็นของพี่ๆ น้องๆ ในสายตระกูลตะเวทีกุลเพียงตระกูลเดียวเท่านั้น มีบ้างเล็กน้อยที่ขายให้กับคนต่างถิ่นที่มาลงทุนสร้างรีสอร์ทแต่เป็นส่วนน้อยนิด นับจากปี พ.ศ ๒๔๔๗ ที่หลวงพรหมภักดีได้เป็นเจ้าของเกาะหมาก มาถึงทายาทในปัจจุบันปี พ.ศ. ๒๕๕๒ รวมระยะเวลา ๑๐๕ ปี เมื่อวันที่ ๑๓-๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ที่ผ่านมานี้ กำนันจักรพรรดิ์ ตะเวทีกุล ร่วมกับญาติๆ ทั้งหมดได้ร่วมกันจัดงานเฉลิมฉลองรำลึกถึงหลวงพรหมภักดี และเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวบนเกาะหมาก โดยจะถือเอางานเฉลิมฉลองนี้เป็นเอกลักษณ์ของชาวเกาะหมาก จัดงานเป็นประจำทุกปี เพราะนับวันการท่องเที่ยวจะเติบโตเป็นเศรษฐกิจที่สำคัญบนเกาะหมาก อาจจะทำรายได้ให้ชาวบ้านบนเกาะหมากมากกว่าการทำอาชีพเกษตรกรรม สวนมะพร้าว สวนยางพารา

(ข้อมูลอ้างอิง  http://www.ilovekohmak.com)


ด้านกายภาพ 

อาณาเขต

               ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอเกาะช้าง (ทางทะเล)

ทิศใต้         ติดกับ อำเภอเกาะกูด (ทางทะเล)

ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอคลองใหญ่ (ทางทะเล)

ทิศตะวันตก  ติดกับ ทะเลอ่าวไทย (ทางทะเล)

ภูมิประเทศ

สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นพื้นที่ราบเชิงเนิน  มีเขาสูงอยู่เพียงแห่งเดียว  พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นดินแดงปนทราย  ตั้งอยู่กลางทะเลอ่าวไทยจังหวัดตราด  อยู่ระหว่างหมู่เกาะช้างและหมู่เกาะกูด

การคมนาคม

      การคมนาคมสามารถไปมาได้โดยใช้เรือเป็นพาหนะซึ่งสามารถลงเรือได้ที่สะพานกรมหลวงชุมพรฯที่อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เกาะหมากมีเรือให้บริการคือ

1.  เรือปาหนัน ขึ้นเกาะที่ท่าเรือเกาะหมากรีสอร์ท

2.  เรือลีลาวดี ขึ้นเกาะที่ท่าเรือมากะธานี

3.  เรือสวนสุขโบ๊ท ขึ้นเกาะที่ท่าเทียบเรืออ่าวนิด

4.  เรือซีเทล  ขึ้นเกาะที่ท่าเทียบเรืออ่าวนิด

การไฟฟ้า

                    -  ได้ขยายเขตไฟฟ้าทุกหลังคาเรือน

                         -  ติดตั้งไฟฟ้าแสงสว่างสาธารณะ ถนนสายสำคัญๆ ทางแยกต่างๆ

               การประปา

                    -  มีระบบประปาหมู่บ้าน  2  หอถัง  หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2



ด้านการปกครองท้องถิ่น 

จำนวนหมู่บ้านภายในท้องถิ่น  ประกอบด้วยหมู่บ้านจำนวน  ๒  หมู่บ้าน

                     หมู่ที่  ๑  บ้านอ่าวนิด

หมู่ที่  ๒  บ้านแหลมสน

            ผู้นำชุมชน (ตามการแต่งตั้ง)

                             นายวิรัตน์  ยุทธวิชัย   กำนันตำบลเกาะหมาก

นายวิรัตน์  ยุทธวิชัย        ผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่  ๑  ตำบลเกาะหมาก

นายเสริมศักดิ์  สุขสถิตย์        ผู้ใหญ่บ้าน  หมู่ที่  ๒  ตำบลเกาะหมาก