กศน. ตำบลกล้วยแพะ ยึดชุมชนเป็นฐานในการทำงานและการเรียนรู้ โดยใช้ต้นทุนของชุมชน เช่น อาคาร สถานที่ แหล่งวิทยาการ ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี มีการประสานเครือข่ายในชุมชนร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนในชุมชน/สังคม เข้ามามีส่วนร่วมเป็นภาคีเครือข่ายในการดำเนินการจัดกิจกรรม กศน. ตำบล ทั้งในฐานะผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ มีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหา บูรณาการกระบวนการเรียนรู้ และจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชน

แหล่งการเรียนรู้เป็น แหล่งข้อมูล ข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้สถานศึกษาจัดแหล่งการเรียนรู้สนับสนุนให้ผู้เรียนเรียนรู้ ในเรื่องความรู้เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ชาติ สังคมโลก การใช้ประโยชน์ จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น สถานศึกษาจึงต้องตระหนักในการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ที่ตอบสนองเจตนารมณ์ โดยใช้แหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นเป็นหลักในการศึกษาการเรียนรู้

งานการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การศึกษาให้กับประชาชนและผู้ด้อยโอกาสที่อยู่นอกระบบโรงเรียนให้ได้รับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน รวมทั้งการจัดการศึกษาสายสามัญในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อยกระดับการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเป้าหมาย ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับกลุ่มเป้าหมายนอกระบบโรงเรียนโดยปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนและการเรียนรู้ การทำงานของครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษา พัฒนาหลักสูตร สื่อการศึกษาและสถานศึกษา ตลอดจนเร่งพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ เพื่อกลุ่มเป้าหมายได้รับการศึกษาที่เป็นพื้นฐานเพียงพอที่จะดำเนินชีวิตตามหลักสูตรกำหนดไม่น้อยกว่า 12 ปี