แกงกล้วย

ประวัติความเป็นมาและความสำคัญของแกงกล้วย

แกงกล้วยเป็นแกงพื้นบ้านของชาวเขมร และกูย(ส่วย) เรียกว่า ซันลอว์เจ๊กจ์ แปลว่า แกงกล้วย เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวกูย (ส่วย) และชาวเขมร นอกจากเป็นอาหารเขมรแล้วยังแพร่หลายอยู่ในหมู่ชาวกูยในเมืองไทยในบริเวณอีสานใต้ เช่นที่จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ โดยเฉพาะที่ อำเภอพลับพลาชัย

แกงกล้วยนี้นอกจากจะนิยมทำกินโดยทั่วไปแล้ว ยังเป็นอาหารสำหรับเลี้ยงแขกในงานศพ เนื่องจากต้องทำอาหารเพื่อเลี้ยงคนจำนวนมาก การเอากล้วยมาแกงก็ไม่ต้องซื้อหา เพราะกล้วยเป็นของที่หาง่าย มีปลูกกันโดยทั่วไปทุกครัวเรือนอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังเป็นสัญลักษณ์ถึงการตัดสายสัมพันธ์ระหว่างผู้ตายกับญาติมิตร ที่ยังมีชีวิตอยู่ด้วย กล้วยที่ใช้ทำแกงกล้วยนั้นเป็นกล้วยดิบ เช่น กล้วยส้ม กล้วยตีบ กล้วยตีนเต่า แต่เราก็สามารถใช้กล้วยน้ำว้าดิบมาแกงได้อร่อยเช่นกัน

วิธีแกงกล้วย

วิธีแกงกล้วยก็เหมือนกับการทำแกงเผ็ดทั่วไป แต่ต้องเป็นไก่บ้านหรือใส่หมูสามชั้นก็ได้ ใส่กล้วยดิบที่ปอกเปลือกออก เวลาปอกนั้นต้องปอกให้เกลี้ยงอย่าให้มีเยื่อของเปลือกติดมา มิฉะนั้น เวลาแกงแล้วสีจะดำคล้ำไม่น่ามอง แล้วหั่นเป็นชิ้นๆ เพราะเหตุนี้กระมังชาวเขมรจึงเชื่อกันว่าแกงกล้วยเป็นแกงที่ใช้ตัดสัมพันธ์ระหว่างคนตายกับคนเป็น ปอกเสร็จแล้วก็แช่น้ำเกลือเอาไว้ สีจะได้ไม่หมอง หากกล้วยฝาดให้นำไปต้มน้ำทิ้งก่อน เครื่องแกงของแกงกล้วยประกอบไปด้วย ตะไคร้ ใบมะกรูด ข่า เกลือ กะปิ พริกแห้ง หอม กระเทียม กะทิ ขมิ้น ปลาร้า กระชาย น้ำปลา



ภาพโดย นhttps://www.google.com/search?q=%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=2ahUKEwjvh7PEkvDrAhWBguYKHZiZD38Q_AUoAXoECAwQAw&biw=1366&bih=657น

เรียบเรียงเนื้อเรื่อง https://www.m-culture.go.th/buriram/ewt_news.php?nid=456&filename=index