ประเพณีสู่ขวัญ

แนะนำประเพณีสู่ขวัญ

พิธีสู่ขวัญ

ความเป็นมา

พิธีการล้อมขวัญของครอบครัว สาเหตุจาก การสร้างกำลังใจให้แก่ครอบครัว ด้วยความเชื่อที่เชื่อว่า คนเราทุกคนจะมีขวัญประจำตัวอยู่ทุกคน เมื่อเป็นเช่นนั้นคนเรายังไม่สามารถอยู่เป็นที่ได้ ยังจะต้องแยกไปโน่นไปนี่ ขวัญก็เช่นเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นถ้าขวัญของใคร ได้ไปเที่ยวหรือไปตกอยู่ ณ ที่ใด โดยไม่ได้มาอยู่กับเนื้อกับตัว จะทำให้ผู้นั้นมักมีการเจ็บป่วย ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการล้อมขวัญของครอบครัวขึ้น ปีละ 1 ครั้ง ส่วนใหญ่จะทำกันในต้น ๆ ปี

ขั้นตอน / วัสดุอุปกรณ์

1. หมู 1 ตัว

2. กระดาษปรุ๊ฟ 1 กิโลกรัม

3. ธูป 1 มัด

4. ไก่ 2 ตัว

5. ไข่ไก่ (ตามจำนวนสมาชิก)

6. หมอสีดา 1 คน

พิธีกรรม

เมื่อเตรียมข้าวของพร้อมแล้ว

1. เรียกสมาชิกในครอบครัวมารวมยืนเป็นกลุ่มในบ้าน

2. ทำพิธีไล่สิ่งชั่วร้ายภายในบ้านออก โดยจุดคบเพลิงและใช้รำข้าวละเอียดคั่วจนแห้งโยนใส่คบเพลิงจนลุกไหม้อย่างน่ากลัว หมอสีดาทำเสียงคำรามเหมือนเสือโคร่ง และวิ่งไล่สิ่งชั่วร้ายภายในบ้าน ไป ๆ มา ๆ อยู่พักใหญ่ต้อนไล่ ไปสิ้นสุดที่ประตูบ้าน

3. หมอสีดาจะเอาเชือกผูกคอหมู แล้วเอาเชือกวนล้อมคนในบ้านนั้นไว้ ตีฆ้องเดินล้อมคนในบ้าน โดยวนขวา 3 รอบ วนซ้าย 3 รอบ

4. โยนไม้กลับเสี่ยงทายขวัญ มารวมกันหรือไม่มา

5. ฆ่าหมู (ก่อนที่หมูจะถูกฆ่า) หมอสีดาจะเผากระดาษให้หมูจำนวนหนึ่ง เพื่อเป็นเงินซื้อชีวิตเขาโดยพูดกับหมูว่า ”ข้าพเจ้าไม่ได้เลี้ยงเจ้ามาเพื่อเป็นเพื่อน แต่ข้าพเจ้าเลี้ยงเจ้ามา เพื่อให้เจ้าไปช่วยข้าพเจ้า ต้อนขวัญให้กลับมาอยู่กับเนื้อกับตัวเป็นเวลา 1 ปี เมื่อครบกำหนดแล้ว ข้าพเจ้าก็จะให้เจ้าไปเกิดใหม่เจ้าอย่าได้ถือโทษ โกรธเคืองข้าพเจ้าเลย”

6. ทำพิธีสู่ขวัญ

7. หมอสีดาจะนั่งม้านั่งเข้าทรงท่องเที่ยวไปในเมืองผี เพื่อต้อนรับขวัญและล้อมขวัญของสมาชิกในบ้าน ให้มารวมกันไว้ ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง เป็นอย่างน้อย จึงจะเสร็จพิธี

ผู้ชายช่วยกันฆ่าหมู

ผู้ชายช่วยกันทำอาหาร

ผูหญิงช่วยกันแบ่งมาทำอาหาร

ชาวบ้านเชิญครูเข้าร่วมทำบุญ