อาชีพ

แนะนำอาชีพ

การประกอบอาชีพ

งานปักผ้าของเผ่าม้ง แบ่งออกเป็น 3 หมวด

หมวดที่ 1 กลุ่มงานปักมือด้วยเส้นด้ายแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มลายคือ

1.กลุ่มปักเส้นด้ายลายไก่เหยียบ

2.กลุ่มปักเส้นด้ายลายกากบาด

3.กลุ่มปักเส้นด้ายลายสายน้ำ

หมวดที่ 2 งานปักมือด้วยผ้า แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มลายคือ

1.กลุ่มลายเข้ามุมเหลี่ยม

2.กลุ่มลายเข้ามุมโค้ง

หมวดที่ 3 งานปักมือด้วย วัสดุตกแต่ง

-เป็นการนำวัสดุอื่น ๆ มาตกแต่งลงบนลายที่ปักด้วยผ้า หรือด้ายแล้วให้มีสีสัน สวยงาม มากขึ้น

ขั้นตอนการปักผ้า

ขั้นตอนการเตรียมการก่อนการประกอบอาชีพ

1.1 สถานที่

1.2 การเตรียมอุปกรณ์

2. ขั้นตอนการทำงานปักผ้าของเผ่าม้ง แบ่งออกเป็น 3 หมวดดังนี้

หมวดที่ 1 กลุ่มงานปักมือด้วยเส้นด้าย

กลุ่มงานปักมือ ด้วยด้ายนี้ เป็นการสร้างงานลงบนผ้าโดยใช้ด้ายในการ ปัก สอย เนา เป็นลายที่ให้งานละเอียดอ่อนสวยงามที่สุดในงานปักผ้าของชาวเผ่าม้ง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มลายคือ

1. กลุ่มปักเส้นด้ายลายไก่เหยียบ ที่นิยมเช่น ลายปูภูเขา ลายแมงมุม ลายไข่ปลา ลายสี่ทิศ ลายแปดทิศ ลายฝิ่นแฝด ลายฟันปลาเล็ก ลายฝนตก ลายฝนภูเขา ลายเมล็ดฝิ่น ลายเกสรดอกฝิ่น ลายน้ำเต้า เป็นต้น ลักษณะลาย เป็นเส้นเล็ก เหมือนเส้นเนา ปักขึ้นรูปประกอบเป็นรูปร่างต่าง ๆ

2. กลุ่มปักเส้นด้ายลายกากบาด การขึ้นลายเส้นวิธีนี้เป็นที่นิยมมากที่สุด มีลายต่าง ๆ ที่มักจะใช้วิธีการปักกากบาดเช่น ลายสี่เหลี่ยมตั้งมุม ลายนกใหญ่ ลายแม่น้ำ ลายคน ลายม้งสามเหลี่ยม ลายขุนเขา ลายแผ่นดินแตก ลายดาวตรั้งคู้ ลายหนังสือม้ง ลายต่ำสูงต่ำ ลายฟันปลากากบาด ลายตานกฮูกใหญ่ ลายเมียน้อยเมียหลวง ลายมงกุฎเมียหลวง ลายดวงประทีป ลายดาวพันดวง ลายภูเขาคู่

3.กลุ่มปักเส้นด้ายลายสายน้ำเป็นการปักลายเป็นเส้นยาวจนเต็มช่อง ยาวกว่าการปักในกลุ่ม ไก่เหยียบเช่น ลายเข้าหอ ลายหมากรุกสามสี ลายม้งสามเหลี่ยม ลายสี่เหลี่ยมตั้งมุม ฯลฯกลุ่มงานปักมือด้วยด้ายนี้ มักจะสร้างชิ้นงานให้ผสมผสานการปักด้ายทั้งสามวิธีเข้าด้วยกัน ตามแต่ความถนัดหรือการสร้างสรรค์ประยุกต์ลายเข้าด้วยกันทั้งแบบไก่เหยียบ กากบาด และสายน้ำ และยังมีการผสมด้วยการปักจากหมวด 2 และ 3 ทั้งนี้แล้วแต่การสร้างสรรค์ของแต่ละคน

หมวดที่ 2 งานปักมือด้วยผ้า

กลุ่มงานปักมือ ด้วยผ้านี้ เป็นการสร้างงานโดยการตัด ฉีก ผ้านำมาขึ้นรูปงาน โดยการใช้ด้ายสอยพับเก็บริม ไล่ระดับไปตามรูปร่างของลายที่ได้รับการสอนสืบต่อกันมา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มลายคือ

1.กลุ่มลายเข้ามุมเหลี่ยม เช่น ลายเขาล้อม ลายเขาเปิด ลายหมู่บ้าน ลายเกี้ยวสาว ลายเกี้ยวแม่ม่าย ลายป่าหลง ลายหมู่บ้าน ลายดอกท้อ ลายหลุมเสือตก ลายภูเขาคู่ ลายป่าแดงเป็นต้น โดยส่วนมากลายเหล่านี้ ปักร่วมกับลายชนิดอื่น ๆ แล้วแต่ชิ้นงานไป

๒.กลุ่มลายเข้ามุมโค้ง ใช้เทคนิคการตัดผ้าที่ซับซ้อนเป็นเทคนิคโดยเฉพาะ และเย็บริมเก็บเป็นเส้นโค้ง ให้เกิดลายขึ้น หญิงม้งวัยกลางคนขึ้นไป จึงจะมีฝีมือในการปักงานชนิดนี้ได้สวยงามไม่มีที่ติ เช่นลายก้นหอย ลายจานก้นหอย ลายตานกฮูก ลายทะเลเดือด ลายเส้นชีวิต

หมวดที่ 3 งานปักมือด้วย วัสดุตกแต่ง

เป็นการนำวัสดุอื่น ๆ มาตกแต่งลงบนลายที่ปักด้วยผ้า หรือด้ายแล้ว ให้มีสีสัน สวยงาม มากขึ้น บางกรณีแสดงถึงความร่ำรวย เช่น การปักด้วยเงินเหรียญรูปีของอินเดีย เหรียญเงินบริสุทธิ์ โซ่โลหะเงิน แสดงถึงความรื่นเริงสนุกสนาน เช่นการปักด้วยลูกปัดต่างๆ แสดงถึงความเคารพยำเกรงต่อพิธีกรรม เช่น การปักขนนก เกล็ดปลา การเพิ่มสีด้วยเลือดสัตว์ที่ใช้ในพิธีกรรมเซ่นสังเวยต่าง ๆ วัสดุที่หาได้เช่น เหรียญ ลูกปัด เลื่อม เมล็ดพืช ขนนก วัสดุธรรมชาติเป็นต้น

อนึ่ง ลายปักด้วยวัสดุนี้ไม่มีลายเฉพาะเจาะจง โดยส่วนมากปักวัสดุลงไปบนช่องว่าง จากลายปักด้วยผ้าหรือด้ายที่เว้นไว้ เป็นการตกแต่ง ผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นงานที่นิยมตกแต่ง ปักด้วยวัสดุอื่น เช่น กระเป๋าสะพายคู่เหรียญรูปีอินเดีย กระเป๋าใส่เงิน ย่าม กระเป๋าสะพาย เข็มขัด สายรัดศีรษะ หมวกชาย หมวกหญิง เสื้อชาย

ขอขอบคุณข้อมูล ผ้าปักชาวเขาเผ่าม้งจากโรงเรียนบ้านห้วยฮ่อมพัฒนา



การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง


การปักลายผ้า


การใช้เวลาว่างปักผ้าชาวเขาเผ่าม้ง


ผ้าปักชาวเขา

โดยนางเบลีย แซ่ว่าง ,นางจู แซ่ว่าง,นางเจ๋อ แสนว่าง

ผ้าปักชาวเขา

โดย นางจู แซ่ว่าง

ลายไก่เหยียบ

ลายสี่ทิศ




ลายก้นหอย

การออกแบบและตัดลายก้นหอย