ประเพณีปีใหม่ม้งบ้านห้วยฮ่อมพัฒนา

แนะนำประเพณีปีใหม่ม้ง

ประเพณีปีใหม่ม้งบ้านห้วยฮ่อมพัฒนา

ประเภทศิลปะ

-ภาษา และวรรณกรรม ม้งบ้านห้วยฮ่อมพัฒนามีตระกูลใหญ่ๆอยู่ 2 ตระกูล คือ ม้งว่าง และม้งกือ และเริ่มมีตระกูลแซ่ซ้งเพิ่มมา ม้งจะมีภาษาพูดแต่ไม่มีภาษาเขียน แต่ปัจจุบันจะมีมหาวิทยาลัยสวนดุสิตนำมาพัฒนาเป็นภาษาอังกฤษแบบทัพศัพท์ และพยัญชนะภาษาม้ง เช่นเดียวกับภาษาไทย คือมีพยัญชนะทั้งหมด 57 ตัว สระ 14 ตัว และวรรณยุกต์ 7 รูป 8 เสียง แต่อักษรในภาษาไทยเช่นเดียวกันกับภาษาไทย ภาษาม้งก็มีพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ด้วย กล่าวคือ มีพยัญชนะทั้งหมด 57 ตัว สระ 14 ตัว และวรรณยุกต์ 7 รูป 8 เสียง อักษรภาษาไทยนั้นไม่สามารถที่จะใช้แทนเสียงในภาษาม้งได้ตรงตามเสียงในภาษาม้งอย่างครบถ้วนและถูกต้อง จึงเป็นการยากพอควรที่ผู้เขียนจะนำเสนอภาษาม้งผ่านอักษรภาษาไทย สำหรับลักษณะตัวอักษรโรมันที่ใช้เป็นพยัญชนะ สระ และเสียงวรรณยุกต์ พยัญชนะ ในภาษาม้งมีทั้งหมด 57 ตัว สระ

- ศิลปกรรมและโบราณคดี ชนเผ่าม้งจะนิยมปักผ้าที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์เฉาะชนเผ่า และมีการอนุรักษ์ลวดลายแบบต่างๆ และมีการพัฒนาจากงานปักเป็นผลิตภัณฑ์ เช่นกระเป๋าสตางค์ กระเป๋าโทรศัพท์ กระเป๋าสะพา

การออกแบบและปักผ้าชาวเขาเผ่าม้ง

การปักผ้าและออกแบบผลิตภันฑ์จากผ้าปัก

-การละเล่น ดนตรี และนาฏศิลป์ เครื่องดนตรี: มีสองประเภทคือ เป่า และตี ซึ่งเครื่องดนตรีของคนม้งไม่ได้เป็นเครื่องดนตรีที่เล่นประกอบการขับร้องเพลง แต่ในเสียงดนตรีของมันเองสื่อสารแทนคำหรือภาษาที่สามารถฟังเข้าใจได้แล้ว ฉะนั้นเครื่องดนตรีของม้งจึงไม่ได้นำไปเล่นบรรเลงเพื่อประกอบการร้องรำทำเพลงแต่อย่างใด แต่ว่าได้ถูกใช้ในการเป็นเครื่องมือของการสื่อสารในวัฒนธรรมม้ง ซึ่งรูปแบบการสื่อสารดังกล่าวไม่เพียงแต่ใช้ติดต่อสื่อสารกับคนอย่างเดียว แต่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเฉพาะแคน และกลอง แคน แต่เดิมทำมาจากไม้ไผ่จำนวน 6 ลำ แต่ละลำมีความยาวที่แตกต่างกันและมีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน และช่องลำที่ใช้เป่าทำมาจากไม้เป็นฐานของไม้ไผ่ทั้ง 6 ลำนี้ ด้านในของลำไม้ไผ่แต่ละลำมีลิ้นทองเหลือง จุดที่เป่านั้นทำมาจากทองเหลืองหรือโลหะ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัสดุต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มหายากขึ้น คนม้งจึงหันมาใช้ท่อพีวีซีในการทำแคนแทนลำไม้ไผ่ด้วย ซึ่งมีความมั่นคงและคงทนมากกว่าวัสดุที่ได้มาจากธรรมชาติ และที่สำคัญคือ นอกจากการเป่าแคนเพื่อความจรรโลงใจในชีวิตประจำวันและประกอบการแสดงแล้ว แคนยังเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญด้วย โดยเฉพาะในพิธีงานศพ ที่บทเพลงต่าง ๆ ถูกขับร้องให้กับวิญญาณของผู้ที่ล่วงลับไปแล้วผ่านแคนเป็นหลัก เมื่อแคนได้ถูกเชื่อมโยงกับพิธีกรรมแล้ว จึงทำให้แคนไม่ใช่เครื่องดนตรีที่ฝ่ายหญิงจะเรียนและเป่าได้ เพลงของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง เป็นเพลงการพรรณนาเรื่องราวและความรู้สึกต่าง ๆ ที่เป็นความทุกข์ยากของการเป็นเด็กกำพร้า การห่างไกลพ่อแม่ไปแต่งงานอยู่กับฝ่ายชายแล้วได้รับความยากลำบาก และการหวนคิดถึงคนรักครั้นในอดีตแล้ว บทเพลงต่าง ๆ ยังถูกฝ่ายชายใช้ในการเกี้ยวพาราสีกับฝ่ายหญิง และทำการโต้ตอบกันไปมาระหว่างกันด้วย การขับร้องบทเพลงโดยปราศจากเครื่องดนตรีประกอบ จึงเป็นลักษณะหนึ่งของบทเพลงม้งแบบดั้งเดิม

-การเต้นรำของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง การเต้นรำของชนเผ่าม้งจะมีความเป็นเอกลักษณ์ และจะมีท่าเต้น ที่มีท่ารำและจีบต่าง ๆ แต่ยังคงวัฒนธรรมเดิมไว้มีการดัดแปลงเพื่อเต้นประกอบบทเพลงม้งสมัยใหม่และนำท่ารำมาประยุคให้เข้ากับยุคคสมัย

ท่ารำประกอบเพลง

การรำในงานประเพณีปีใหม่ม้ง

การแต่งกายของชนเผ่าม้ง

ประเภทวัฒนธรรมประเพณี

เทศกาลปีใหม่ม้งเป็นประเพณีเปลี่ยน พ.ศ.ของชนเผ่าม้งเพื่อเริ่มปีใหม่ จะมีการโยนลูกช่วง คือบ่าวสาวจีบกัน การละเล่นโดยการตีลูกข่าง มีการแสดงของแม่บ้าน พ่อบ้าน และเยาวชน กีฬาล้อซิ่ง แข่งยิงหน้าไม้ ประกวดธิดาม้ง การทำพิธีเรียกขวัญให้กับผู้ที่มาร่วมงาน การจัดประณีปีใหม่ และเป็นการเลือกคู่ครองเพราะกิจกรรมรวมผู้คนจากต่างหมู่บ้าน เทศกาลปีใหม่ยังแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ทางสังคม ดังเช่น การกราบไหว้ผู้หลักผู้ใหญ่ในเผ่า นอกจากนี้ ยังแสดงให้เห็นความผูกพันวิถีความเชื่อ เช่น การฆ่าสัตว์เพื่อเซ่นไหว้ การกราบไหว้เทพยดา ผี วิญญาณของบรรพชน การถือฤกษ์งามยามดี ทั้งหญิงและชาย ต่างพากันสวมชุดประจำเผ่ากันทุกคน ด้วยเครื่องแต่งกายที่สวยงาม ซึ่งแต่เดิมนั้นจะนิยมสวมใส่เสื้อสีดำแขนยาว ปลายแขนเสื้อจะมีการปักลวดลายอย่างสวยงาม ขอบแขนเสื้อจะมีการตกแต่งด้วยผ้าที่ต่างสีจากตัวเสื้อ ชุดที่สวมใส่จะเย็บปักเอง เป็นงานฝีมือ แต่ปัจจุบันจะเป็นชุดสำเร็จ ทุกวันนี้แม้งานปีใหม่ม้งคงจัดตามช่วงเวลาส่งท้ายปีตามจันทรคติ หรือจะตกอยู่ราวเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม แต่ความหลากหลายของผู้คน ลักษณะการแต่งกาย การจัดงานและหน่วยงานในระดับท้องถิ่นมีบทบาทอย่างเป็นทางการมากขึ้น ในทางหนึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สนองการท่องเที่ยว แต่ขณะเดียวกันอาจเป็นโอกาสอันดีให้เกิดการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมผ่านงานรื่นเริงและการละเล่น

สุดท้ายสิ่งที่คงอยู่ในงานเทศกาลปีใหม่ ยามที่งานเฉลิมฉลองสิ้นสุด ทุกคนต่างกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติ พร้อมกับโชคลาภและสิ่งดีๆ ที่มาพร้อมกับปีใหม่

-วัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น อาหาร ยา เครื่องนุ่งห่ม บ้านเรือน

อาหารกลุ่มชาติพันธุ์ม้งชนเผ่าม้งมักจะทำอาหารที่เรียบง่าย โดยใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ และส่วนใหญ่จะเลี้ยงหรือปลูกเอง นิยมปรุงอาหารโดยการต้ม เน้นผักต้มกับหมู หรือต้มกับไก่ และถ้ามีเนื้อเยอะก็จะไม่ใส่ผัก เนื้อสัตว์ที่นำทำอาหาร มาจากสัตว์ที่เลี้ยงไว้ทำพิธีกรรม บางบ้านที่ไม่ได้เลี้ยงเองก็จะไปหาชื้อ หมู่บ้านข้างล่างหรือที่ฟาร์มเลี้ยงหมูและฟาร์มไก่ อาหารที่ใช้เลี้ยงแขกส่วนใหญ่ ต้มหมูพริกไทยดำ ไก่ต้มสมุนไพร และมีเหล้าขาว(เหล้าข้าวโพด)ไว้สำหรับเลี้ยงแขกที่มาร่วมงาน

ไก่ต้มสมุนไพร นิยมนำไก่บ้าน (ไก่พันธุ์พื้นเมือง) หรือไก่กระดูกดำมาประกอบอาหาร การรับประทานอาหารจะให้ฝ่ายชายและแขกรับประทานก่อน ฝ่ายหญิงจะรับประทานต่อจากฝ่ายชาย แต่ปัจจุบันมีสถานที่เพียงพอ ก็จะจัดโต๊ะแยกชายหญิง สมุนไพรที่นำมาใส่ต้มไก่ จะช่วยรักษาอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ อาการปวดต่างๆ


การโยนลูกช่วงของหนุ่มสาว

การประกวดธิดาชนเผ่าม้ง

กีฬาพื้นบ้านการตีลูกข่าง

ข้าวปุกหรือจั๋ว เวลาตำจำนำไข่แดงต้มทาตรงปลายสากและครกเพื่อไม่ให้ข้าวติด ทำมาจากข้าวเหนียวขาวหรือข้าวเหนียวดำ ถ้าอยากกินสีดำก้อตำเฉพาะข้าวก่ำ หรืออยากกินข้าวขาวก็จะตำเฉพาะข้าวขาว จะนำข้าวเหนียวขาวและข้าวเหนี่ยวดำแช่รวมกัน ผสมกันเพื่อให้เกิดความนิ่มและสีสวย แล้วนำไปนึ่งจนสุกแล้วนำมาตำในรางไม้ จะช่วยกันตำจนละเอียด และทำเป็นก้อนแบนๆโดยนำใบตองกล้วยสดมารองแล้วรีดให้แบน แล้วนำไปปิ้งไฟ หรือทอด แล้วจิ้มน้ำผึ้ง,น้ำตาลทราย หรือนมข้นหวาน เป็นขนมที่นิยมทำ และรับประทานในช่วงเทศกาลปีใหม่ม้ง และจะทำก่อนที่จะขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 ซึ่งถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวม้ง และส่วนหนึ่งจะวางไว้บนหิ้งที่ใช้ประกอบพิธีกรรมวันขึ้นปีใหม่ เพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ว่าพืชไร่ ผลผลิตในปีต่อไปจะมีจำนวนมากและราคาดี


การตำข้าวปุก ประเพณีปีใหม่ม้ง

การประกอบพิธีกรรมในบ้าน

บ้านเรือน ชนเผ่าม้ง นิยมสร้างบ้านอยู่บนภูเขาสูง สร้างบ้านคร่อมพื้น โดยใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ฝาบ้านเป็นไม้แผ่น มุงด้วยคา มีห้องนอน กับห้องครัวในบ้าน บ้านจะมีขนาดใหญ่ เพราะอยู่อาศัยในลักษณะครอบครัวขยาย ม้ง ถือผู้อาวุโสเป็นหัวหน้าครอบครัว

- วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ เช่นความเชื่อ ค่านิยม ประเพณี หรือเทศกาล ตรุษ สารท การขึ้นบ้านใหม่ ที่เป็นของท้องถิ่น

บ้านเรือนจะอยู่ในหุบเขา

บ้านของชนเผ่าม้ง

ความเชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์

ผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวม้งนับถือ คือ ผีบ้าน และผีป่า ผีบ้านประกอบด้วย ผีบรรพบุรุษ กับผีเรือน ผีเรือนจะอยู่จุดต่างๆ ของบ้าน เช่นฝาบ้าน เสาบ้าน ประตูบ้าน เตาไฟ ผีบ้านจะดูแลคุ้มครองคนในบ้าน หากไม่ดูแลตามประเพณีผีบ้านไม่ไม่คุ้มครอง ทำให้สมาชิกในบ้านเกิดอาการเจ็บป่วย ส่วนผีป่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำท้องถิ่นหรือเมือง ขุนเขา ลำห้วย จอมปลวก แอ่งน้ำ ป่าเขา รวมถึงผีฟ้าด้วย ความเชื่อต่อผีเหล่านี้ก็คือหากคนไปล่วงละเมิดก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยและตายได้ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับผีหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้แฝงอยู่ตามสิ่งต่างๆ คนม้งจะเชื่อว่ามนุษย์และวิญญาณ สามารถพูดคุยสื่อสารกันได้ แต่ภายหลังไม่สามารถสื่อสารกันได้ จึงต้องอาศัยสื่อกลางคือ หมอผีเพื่อเชื่อมต่อโลก จึงทำให้เกิดความเชื่อและทำพิธีกรรม และสืบทอดกันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ค่านิยมในการกินอาหาร ม้งนิยมใช้ตะเกียบซึ่งรับมาจากธรรมเนียมจีน ส่วนเหล้าจะนิยมดื่มกันในงานเลี้ยงต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงญาติ หรือแขกที่มาเยี่ยม จะรินแก้วเหล้าแจก ครั้งละ 2 แก้ว โดยเชื่อกันว่าจะทำให้คู่สามีภรรยาอยู่ด้วยกันตลอดไป ก่อนจะดื่มเหล้าแต่ละคนจะพูดว่า "ผมจะดื่มเพื่อทุกคน" และจะต้องคว่ำจอก หรือคว่ำแก้วเมื่อหมดแล้ว ม้งจะนิยมดื่มเหล้าครั้งเดียวหมดแก้ว มีการดื่มซ้ำวนเวียนหลายครั้ง ผู้ที่มิใช่นักดื่มย่อมจะทนไม่ได้ อาจขอให้บุคคลอื่นช่วยดื่มแทนก็ได้ เหล้าจะทำกันเองในหมู่บ้าน ซึ่งทำจากข้าวโพด ข้าว หรือข้าวสาลี ม้งให้เกียรติแก่ผู้ชาย เพราะฉะนั้นผู้หญิงจึงรับประทานอาหาร หลังผู้ชายเสมอ การประกอบอาหารของม้งส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะการต้ม ทอด และม้งยังมีความสามารถในการถนอมอาหาร ซึ่งในการถนอมอาหารสามารถถนอมได้หลายแบบ เช่น การหมัก การดอง

ประเพณี ชนเผ่าม้งในปัจจุบัน จะสร้างบ้านอยู่บนภูเขาสูงแและสร้างบ้านคร่อมพื้น โดยใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ฝาบ้านเป็นไม้แผ่น มุงด้วยคา มีห้องนอน กับห้องครัวในบ้าน บ้านจะมีขนาดใหญ่ เพราะอยู่อาศัยในลักษณะครอบครัวขยาย ม้ง ถือผู้อาวุโสเป็นหัวหน้าครอบครัว แต่ปัจจุบันจะมีการพัฒนาสร้างบ้านปูนเหมือนกับคนเมืองข้างล่าง


การต้อนรับญาติพี่น้องและแขกมาเยี่ยมบ้าน

การเตรียมอาหารสำหรับเลี้ยงแขก

การร่วมประเพณีปีใหม่ม้งของชนเผ่า

ชื่อของศิลปะ วัฒนธรรมและประเพณี ประเพณีปีใหม่ม้งบ้านห้วยฮ่อมพัฒนา

ประวัติความเป็นมาของศิลปะ วัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวกับชุมชน “ชนเผ่าม้ง” บ้านห้วยฮ่อมพัฒนา ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ประวัติความเป็นมา เมื่อปี พ.ศ. 2519 ชาวเขาเผ่าม้ง ซึ่งได้อพยพมาจากหมู่บ้านขุนสถาน อ.นาน้อย จ.น่าน จำนวน 11 หลังคาเรือน ประกอบด้วย 4 สกุล คือ สกุลแสนกือ สกุลแสนว่าง สกุลแสนท้าว และสกุลแสนย่าง เข้ามาตั้งบ้านที่อยู่อาศัยและทำอาชีพการเกษตร เช่น ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด บริเวณใกล้กับลำห้วยผามุง อยู่ที่บ้านห้วยฮ่อม ซึ่งขึ้นกับบ้านปากห้วยอ้อย หมู่ที่ 5 ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ ในขณะนั้น พ.ศ. 2542 - 2543 หมู่บ้านมีความเข้มแข็งขึ้น จำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีศักยภาพที่จะจัดตั้งเป็นหมู่บ้านถาวร ได้ พ.ศ. 2544 กรมการปกครอง ได้ยกฐานะหมู่บ้านห้วยฮ่อม บน - ล่าง เป็นหมู่บ้านถาวรและได้แยก ออกจากบ้านปากห้วยอ้อย หมู่ที่ 5 ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ และได้จัดตั้งชื่อหมู่บ้านขึ้นใหม่ว่า “บ้านห้วยฮ่อมพัฒนา” ขึ้นกับหมู่ที่ 13 ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ และได้ทำการเปิดป้ายหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. 2544 โดยมีนายธนดล สิทธิชยาพรกุล ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าม้ง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของหมู่บ้านห้วยฮ่อมพัฒนา พ.ศ. 2519-2559 นายเก๋ง แสนว่าง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่สอง และ พ.ศ. 2560-ปัจจุบัน เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่สามนายอังกูรณ์ แสนกือ บ้านห้วยฮ่อมพัฒนา หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากอำเภอร้องกวาง 40 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดแพร่ 45 กิโลเมตร ทิศเหนือมีเขตติดต่อกับจังหวัดน่าน ทิศใต้ มีเขตติดต่อกับจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันออก มีเขตติดต่อกับจังหวัดน่าน ทิศตะวันตก มีเขตติดต่อกับบ้านปากห้วยอ้อย หมู่ที่ 5 ต.บ้านเวียง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ หมู่บ้านอยู่ท่ามกลางภูเขาที่สลับซับซ้อน ในปี พ.ศ.2521 หมู่บ้านแบ่งออกเป็น 2 หย่อมบ้าน คือบ้านห้วยฮ่อมบน (บ้านผามุง) และบ้านห้วยฮ่อมล่าง (บ้านน้ำกล้า) การคมนาคมยังห่างไกลความเจริญ ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ (ผี) รองลงมานับถือศาสนาคริสต์ ชนเผ่ามลาบรีอยู่หย่อมบ้านห้วยฮ่อมบน (บ้านผามุง) ห่างไกลความความเจริญ การคมนาคมเข้าหมู่บ้านเป็นไปด้วยความลำบาก ในปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจ สังคม มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความเจริญทางด้านเทคโนโลยี หรือด้านวัตถุนิยมเข้ามา มีบทบาทมากขึ้นทำให้วิถีชีวิตชาวเขาในพื้นที่บ้านห้วยฮ่อมพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป สังเกตได้จากวัฒนธรรมการแต่งกายตามยุคสมัย การดำเนินวิถีชีวิตที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสังคมเหมือนคนพื้นราบ โดยเฉพาะในกลุ่ม วันรุ่น หนุ่ม สาว ไม่ค่อยใส่ใจวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ที่มีมาแต่ตั้งดั้งเดิมหากไม่ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว วัฒนธรรม ประเพณี ที่ดีงามนั้นคงต้องเลือนหายไป ผู้นำ และคณะกรรมการหมู่บ้าน จึงจัดกิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกถึงการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีดีงามของชนเผ่าม้ง ในเทศกาลปีใหม่ เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีวิถีชนเผ่าม้ง เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ ชาวบ้านได้อนุรักษ์หวงแหนวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของชนเผ่า และส่งเสริมการท่องเที่ยวในหมู่บ้าน


พิธีเลี้ยงผีบ้านผีเรือน

วัฒนธรรมชนเผ่าม้ง

การอนุรักษ์วัฒนธรรมการแต่งกาย

การสืบสาน การอนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี

การจัดประเพณีปีใหม่ม้งประชาชนบ้านห้วยฮ่อมพัฒนา จะอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี แบบดั้งเดิมเพื่อให้บุตรหลานได้ศึกษาและเรียนรู้และสืบทอดกันต่อๆมาไม่ให้เลือนหาย และเพื่อเป็นการสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน ตลอดจนเป็นการส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่


การจัดประเพณีปีใหม่ม้ง

ผู้ให้ข้อมูลและเรียบเรียง หรือผู้เขียน

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย นางกัลนิกา นันตภาพ

ภาพถ่าย/ภาพประกอบโดยนางกัลนิกา นันตภาพ นายสังวร มาตะลาน นายณัฐพนทรวงแก้ว และนางสาวเมธินี ศรีธิยศ

อ้างอิง : ผู้ให้ข้อมูล นายเกียรติคุณ แสนว่าง ,นายเลามั้ง แสนกือ