ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง"
บ้านห้วยฮ่อมนอก

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง"
บ้านห้วยฮ่อมนอก

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา "แม่ฟ้าหลวง" บ้านห้วยฮ่อมนอก
ที่ตั้ง : บ้านห้วยฮ่อมนอก หมู่ที่  4  ตำบลทาแม่ลอบ  อำเภอแม่ทา  จังหวัดลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51170 

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยฮ่อมนอก (ศศช.) หมู่ที่ 4 ตำบลทาแม่ลอบ  อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2532 ระยะทางจากอำเภอถึง ศศช. 55 กิโลเมตร มีขนาดพื้นที่จำนวน 2 งาน 32 ตารางวา พิกัดพื้นที่ X=497986 Y=2014147 ปัจจุบันมี นางสาวนภาพร  ยานิวงค์ เป็นครูประจำศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยฮ่อมนอก 

การจัดการศึกษาสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง เดิมเรียกว่า ศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) หรือจะพูดง่ายๆ ว่า “การศึกษาชาวเขา” การดำเนินการก็คือ การให้บริการด้านการศึกษาสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบนพื้นที่สูงซึ่งประกอบด้วยประชากรหลายเผ่าพันธุ์และหลายเชื้อชาติ วิธีการศึกษาทั้งในระบบนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ก็ไม่แตกต่างจากการจัดการศึกษาสำหรับชุมชนบนพื้นราบ แต่กระบวนการการจัดการศึกษาทั้งด้านหลักการ เป้าหมายและกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้มีความแตกต่างกันบ้างเพราะชุมชนบนพื้นที่สูงมีความแตกต่างกันหลายๆ ด้าน เช่น ความแตกต่างทางด้านภูมิประเทศ ความแตกต่างในวิถีชีวิต ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม ความแตกต่างทางด้านความพร้อมในการสื่อสารและการคมนาคม ดังนั้น เป้าหมายของการจัดการศึกษา สำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง จึงเป็นไปตามหลักการและกระบวนการเรียนรู้ที่ถูกกำหนดขึ้นโดยอาศัยความแตกต่างในด้านต่างๆ ที่กล่าวมาโดยมีรายละเอียดทั้งรูปแบบ หลักการ เป้าหมายและกระบวนการเรียนรู้ ดังนี้

รูปแบบการจัดศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” มีการจัดการศึกษาโดยมุ่งเน้น 

1. แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อปวงชน เป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นให้บริการแก่คนทุกคนในชุมชนตามโอกาส ความจำเป็นและความสนใจ

2. แนวคิดการศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม เป็นการศึกษาที่เน้นเนื้อหาที่จำเป็น และสอดคล้องกับสภาพปัญหา ความจำเป็น ความต้องการและวิถีชีวิตในแต่ละชุมชน

ดังนั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการศึกษาเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายสุดท้ายคือ  สังคมแห่งการเรียนรู้  และ การพึ่งตนเองของชุมชน

หลักการ

1.   การศึกษาเพื่อชีวิตและสังคม

2.   การศึกษาเพื่อปวงชน

3.   การศึกษาตลอดชีวิต

มีเป้าหมายและกระบวนการเรียนรู้ คือ

1.   พัฒนาทักษะพื้นฐาน

2.   เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต

3.   ความเป็นพลเมืองดี

4.   ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์

5.   มีทักษะในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้

6.   ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้

7.   เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

โดยมีการจัดการเรียนรู้ให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่

1.       การส่งเสริมและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร สำหรับผู้ไม่สามารถฟัง-พูดภาษาไทยได้

2.       กิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ

3.       การจัดกิจกรรม หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ)

4.       การจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อการดำรงชีวิต (การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง)

การจัดการเรียนรู้ตามอัธยาศัย (การเรียนรู้ตลอดชีวิต) 

คณะกรรมการศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยฮ่อมนอก (ศศช.)

1.  นายสุรพล      หวันมา                    ประธาน

2.  นายน้อย        เมืองห้อม          รองประธาน

3.  นายสุทธิชัย    ใจซาง                  กรรมการ

4.  นายสิทธิกร    สุขเมืองชัย           กรรมการ

5.  นายศรี              หวันมา            กรรมการ

6.  นายคมกริช     เมืองห้อม          กรรมการ

7.  นายติ๊บ              ยาแก้ว            กรรมการ

8.  นางสาวจันทร์   ใจซาง                    กรรมการ

9.  นางสาวมาลี   สุขใจ                กรรมการ

10. นางสาวนภาพร   ยานิวงค์                   กรรมการและเลขานุการ 

แผนที่การเดินทาง

ข้อมูลเนื้อหา

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยฮ่อมนอก

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา : นางสาวนภาพร ยานิวงค์ ครู ศศช.บ้านห้วยฮ่อมนอก

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ : นางสาวนภาพร ยานิวงค์ ครู ศศช.บ้านห้วยฮ่อมนอก

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 30 พฤศจิกายน 2566

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ lpn.amt_nfedc@nfe.go.th หรือโทร 053-976-291