ครกกระเดื่องตำข้าว (เฌอ – อัง – ชื่อ – บือ)


ครกกระเดื่องตำข้าว (เฌอ – อัง – ชื่อ – บือ)

บ้านห้วยฮ่อมนอก

ที่ตั้ง : หมู่ที่  4  ตำบลทาแม่ลอบ  อำเภอแม่ทา  จังหวัดลำพูน  รหัสไปรษณีย์ 51170 

ประวัติความเป็นมา

ครกกระเดื่องตำข้าว (เฌอ – อัง – ชื่อ – บือ) เป็นเครื่องมือสำคัญในการแปรรูปข้าวเปลือกให้เป็นข้าวสารโดยวิธีการตำข้าววิธีการตำข้าวแบบเดิมของชาวบ้านนั้นเป็นการกะเทาะแยกเอาเปลือกหุ้มออกจากเมล็ดข้าว 

ครกกระเดื่องตำข้าว (เฌอ – อัง – ชื่อ – บือ) หรือครกไม้ จะมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น ครกซ้อมมือ ครกตำข้าว ครกกระเดื่องตำข้าว เป็นต้น ครกกระเดื่องตำข้าว (เฌอ – อัง – ชื่อ – บือ) ชาวบ้านจะใช้สำหรับตำข้าวเปลือก ตำงา ตำถั่ว ตำข้าวเม่า ตำข้าวแป้ง แต่ส่วนใหญ่ในสมัยก่อนมุ่งใช้เพื่อตำข้าวเปลือกเป็นหลักเพราะในสมัยโบราณไม่มีโรงสีข้าวเหมือนในปัจจุบัน ชาวบ้านจึงต้องหาวิธีตำข้าวเปลือกให้เป็นเม็ดข้าวสารไว้สำหรับหุงกิน จึงคิดประดิษฐ์ครกที่ทำจากไม้ขึ้นมา 

การทำครกกระเดื่องตำข้าว ชาวบ้านจะใช้ท่อนไม้ใหญ่ทั้งลำต้น ส่วนใหญ่จะเป็นไม้เนื้อแข็ง เช่นไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้เต็ง ไม้มะค่า ไม้พะยอม ฯลฯ โดยจะตัดท่อนไม้ให้มีความยาวประมาณ 1 เมตรหรือประมาณ 80 - 90 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 50 - 60 เซนติเมตรตัดหัวตัดท้ายให้ผิวเรียบเสมอกันเพราะเมื่อเวลานำครกไปตั้งไว้ครกจะได้ตั้งได้ตรงไม่กระดกเอียงไปมาได้ จากนั้นชาวบ้านจะเจาะส่วนตรงกลางด้านบนของท่อนไม้ โดยไม่ให้เว้าลึกลงไปเหมือนครกหินการเจาะลึกจะใช้ขวานโยนและค่อยตกแต่งไปเรื่อย ๆ ให้ปากครกกว้างส่วนก้นครกจะลึกสอบเข้าเป็นหลุมลึกประมาณ 50 เซนติเมตรบางพื้นที่จะใช้วิธีการเจาะตรงกลางเป็นร่องลึกโดยใช้ขวานฟันเอาแกลบใส่เป็นเชื้อและจุดไฟเผาส่วนกลางของท่อนไม้เผาเป็นโพรงให้มีขนาดลึกตามต้องการ เมื่อได้ขนาดตามที่ต้องการแล้วจะทำการขัดภายในให้เกลี้ยงเกลาตัวครกมีสองขนาดคือครกขนาดใหญ่ และครกขนาดเล็ก เมื่อทำครกเสร็จแล้ว จะต้องทำสากเพื่อใช้ในการตำ ซึ่งการทำสากจะทำได้ 2 วิธี คือ


ข้อมูลเนื้อหา

ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยฮ่อมนอก

เรียบเรียงข้อมูล/เนื้อหา : นางสาวนภาพร ยานิวงค์ ครู ศศช.บ้านห้วยฮ่อมนอก

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ : นางสาวนภาพร ยานิวงค์ ครู ศศช.บ้านห้วยฮ่อมนอก

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด : 30 มกราคม 2567

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ lpn.amt_nfedc@nfe.go.th หรือโทร 053-976-291